10 มิถุนายน 2556 (กสทช. เปิดทางย้ายค่ายผ่าน SMS) ทะลุเกิน2ล้าน++ถ้าเป็นภายในโครงข่ายเดียวกันทำได้ทันที // ไปโครงข่ายอื่น กดSMS + ลงทะเบียนผ่านเว็ปหรือคอลเซ็นเตอร์ที่เราจะไป
ประเด็นหลัก
รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติในส่วนของเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยในการบริการคงสิทธิ์เลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) หรือย้ายค่ายเบอร์เดิม ให้เพิ่มเติมในส่วนการลงทะเบียนของ้ใช้บริการผ่านเอสเอ็มเอสนั้น เป็นเพียงการลงทะเบียนเบื้องต้น หลังจากนั้นผู้ใช้บริการจะต้องไปลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในเว็บไซต์ หรือลงทะเบียนกับคอลเซ็นเตอร์ของแต่ละผู้ให้บริการอีกครั้ง และได้ให้ผู้ให้บริการไปปรับปรุงวิธีการโอนย้ายตามมติ กทค.เพื่อเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการมีช่องทางในการเปลี่ยนค่ายได้มากขึ้น โดยเฉพาะการย้ายข้ามผู้ประกอบการ จากเดิมที่การแสดงความจำนงผ่านเอสเอ็มเอสนั้น ทำได้เพียงการย้ายภายในผู้ประกอบการเดียวกัน แต่ภายใต้เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ ห้ามจำกัดเฉพาะค่ายเดียวกันเท่านั้น.
นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขยาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการในวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีลูกค้าโอนย้ายมาเครือข่าย 2100 MHz ประมาณ 2 ล้านคน ส่วนปัญหาการให้บริการที่มักจะพบคือความหนาแน่นในการใช้ ด้านการโทร.เข้า-โทร.ออก นอกจากนี้ลูกค้ายังสอบถามเกี่ยวกับปัญหาใช้ 3G ใหม่ไม่ได้ในบางพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาการให้บริการที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมทั้งปัญหาแบตเตอรี่หมดไว
ทางด้าน นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการ ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ขณะนี้โดยภาพรวมขณะนี้มีลูกค้าโอนย้ายมาใช้บริการแล้วประมาณ 1 ล้านคน หรือมีลูกค้าขอโอนย้ายเฉลี่ย 8 พันคนต่อวัน ซึ่งเป็นลูกค้าใหม่ที่ย้ายมาจากค่ายอื่น 30% ส่วนประเด็นข้อร้องเรียน ขณะนี้มีไม่มาก อย่างไรก็ดี ทางทรูฯ มีความกังวลว่า ลูกค้าทรูฯ ที่มีอยู่ 18 ล้านเลขหมาย และทางทรูฯ จะหมดสัมปทานวันที่ 15 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ก็เป็นเรื่องที่ทรูฯ ต้องเร่งทำความเข้าใจกับลูกค้า และพยายามแข่งประมูลเพื่อได้คลื่น 1800 MHz เพื่อจะได้ดูแลลูกค้าได้ต่อเนื่อง
______________________________________
กทค.ให้ผู้ใช้มือถือย้ายค่ายเบอร์เดิมผ่านเอสเอ็มเอส
บอร์ด กทค.เอื้อผู้ใช้มือถือสามารถย้ายค่ายเบอร์เดิมโดยผ่านเอสเอ็มเอส- เว็บไซต์ ได้แล้ว พร้อมไฟเขียวเร่งจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 ควบ 900 เมะเฮิร์ตซ เพื่อประหยัดงบประมาณการศึกษา
วันนี้ (10 มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ 3จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า บอร์ดคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการให้การบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) หรือ ย้ายค่ายเบอร์เดิม สามารถดำเนินการผ่านการส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส) และ เว็บไซต์ได้ และการดำเนินการย้ายค่ายมือถือจะต้องข้ามเครือข่ายได้ด้วย
“ข้อกำหนดดังกล่าว จะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการมีช่องทางในการเปลี่ยนค่ายมือถือแต่เบอร์เดิมได้มากขึ้น โดยเฉพาะการย้ายข้ามผู้ประกอบการ จากเดิมที่การแสดงความจำนงผ่านเอสเอ็มเอส จะทำได้แค่ย้ายภายในผู้ประกอบการเดียวกันเท่านั้น ซึ่งภายใต้เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องห้ามจำกัดเฉพาะค่ายเดียวกัน” นายก่อกิจ กล่าว
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้เร่งการเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่จะหมดสัญญาสัมปทานพร้อมกันในครั้งเดียว ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ และ คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ โดยคลื่น 1800 นั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเปิดประมูลจำนวน 50 เมกะเฮิร์ตซ และจะเรียกคืนคลื่นความถี่จาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 25 เมกะเฮิร์ตซ มารวมกับ 25 เมกะเฮิร์ตซ ที่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด จะสิ้นสุดสัมปทาน กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.นี้
นายก่อกิจ กล่าวว่า สำหรับกระบวนการและรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การประเมินมูลค่าคลื่น ขั้นตอนการประมูล และรูปแบบการประมูล ทางกทค. ได้ว่าจ้างให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เป็นผู้ศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเซ็นสัญญาว่าจ้างในเดือน ก.ค.2556 นี้ จะต้องได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือน จากกรอบเดิมที่เสนอไว้ 6 เดือน
รายงานข่าวระบุว่า คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ นั้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่ใกล้สิ้นสุดสัมปทานกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ได้เสนอต่อ กทค. ให้จัดประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะจะช่วยประหยัดงบประมาณการจัดประมูล และเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านผู้ให้บริการทำได้เลยหลังสัมปทานสิ้นสุด
http://www.dailynews.co.th/technology/210861
_______________________________________
1เดือนแห่ใช้3Gทะลัก เปิดย้ายค่ายผ่านSMS
เปิดตัว 3G ครบ 1 เดือน เผยลูกค้าโอนย้าย AIS เฉียด 2 ล้าน TRUE MOVE และ DTAC กว่า 1 ล้าน กสทช.ไฟเขียวย้ายค่ายเบอร์เดิมผ่านเอสเอ็มเอส-เว็บไซต์
นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขยาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการในวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีลูกค้าโอนย้ายมาเครือข่าย 2100 MHz ประมาณ 2 ล้านคน ส่วนปัญหาการให้บริการที่มักจะพบคือความหนาแน่นในการใช้ ด้านการโทร.เข้า-โทร.ออก นอกจากนี้ลูกค้ายังสอบถามเกี่ยวกับปัญหาใช้ 3G ใหม่ไม่ได้ในบางพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาการให้บริการที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมทั้งปัญหาแบตเตอรี่หมดไว
ทางด้าน นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการ ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ขณะนี้โดยภาพรวมขณะนี้มีลูกค้าโอนย้ายมาใช้บริการแล้วประมาณ 1 ล้านคน หรือมีลูกค้าขอโอนย้ายเฉลี่ย 8 พันคนต่อวัน ซึ่งเป็นลูกค้าใหม่ที่ย้ายมาจากค่ายอื่น 30% ส่วนประเด็นข้อร้องเรียน ขณะนี้มีไม่มาก อย่างไรก็ดี ทางทรูฯ มีความกังวลว่า ลูกค้าทรูฯ ที่มีอยู่ 18 ล้านเลขหมาย และทางทรูฯ จะหมดสัมปทานวันที่ 15 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ก็เป็นเรื่องที่ทรูฯ ต้องเร่งทำความเข้าใจกับลูกค้า และพยายามแข่งประมูลเพื่อได้คลื่น 1800 MHz เพื่อจะได้ดูแลลูกค้าได้ต่อเนื่อง
ส่วนทางด้าน นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC เปิดเผยว่า ดีแทคจะเปิดตัวบริการ 3G แบบไม่เป็นทางการ ในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ และจะเปิดให้บริการเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม แต่ขณะนี้พบว่ามีลูกค้าลงทะเบียนเพื่อแสดงความจำนงในการโอนย้ายเครือข่ายแล้ว 1 ล้าน 7 แสนเลขหมาย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นลูกค้าเดิม ทั้งนี้ ทั้ง 3 ค่ายยอมรับว่า ปัญหาที่สร้างความหนักใจให้ผู้ประกอบการมากที่สุด คือ นโยบายด้านราคาของ กสทช.ที่ต้องดำเนินการ รวมถึงประเด็นการคืนเงินสดให้ผู้บริโภคเต็มจำนวนหากมีเงินเหลือในระบบเติมเงิน เพราะคำสั่งนี้อาจจะทำให้บริษัทขาดทุน 30% ต่อ 1 เลขหมาย
ด้าน นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ สำนักงาน กสทช. จะสรุปภาพรวมการตรวจสอบเอกชนว่าปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช.หรือไม่ โดยเฉพาะการตรวจสอบเรื่องโปรโมชั่นที่มีอยู่ในตลาดว่าลดราคาลง 15% หรือไม่ นอกจากนี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. มีมติเห็นชอบให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทบิลิตี้) หรือบริการย้ายค่ายเบอร์เดิม สามารถดำเนินการผ่านช่องทางการส่งเอสเอ็มเอส และเว็บไซต์ได้ รวมทั้งต้องสามารถดำเนินการข้ามค่ายได้ด้วย.
http://www.thaipost.net/news/110613/74848
ไม่มีความคิดเห็น: