Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มิถุนายน 2556 หลังจากที่ ICT ได้งบ กสทช. 950 ล้านบาท ให้ทำ WIFI ฟรี!! เป้า 1.5 แสนจุด ล่าสุดจุดให้บริการ จุดให้บริการแล้ว 1.2 แสนจุด



ประเด็นหลัก



คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุมัติเงินงบประมาณสนับสนุน 950 ล้านบาท ในการสร้างจุดเชื่อมต่อสัญญาณไว ไฟ ฟรี จำนวน
1.5 แสนจุดตามนโยบายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)และรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วถึง


อย่างไรก็ตาม ไอซีที ฟรี ไว ไฟ มีจุดให้บริการแล้ว 1.2 แสนจุด และได้รับการสนับสนุนจากโอปเรเตอร์ อาทิ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 50,000 จุด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จำนวน 60,000 จุด



______________________________________






ทีโอที คิดการบ้านหาเงินบำรุงอุปกรณ์ ไว ไฟ ฟรี - คู่ขนาน


คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุมัติเงินงบประมาณสนับสนุน 950 ล้านบาท ในการสร้างจุดเชื่อมต่อสัญญาณไว ไฟ ฟรี จำนวน
1.5 แสนจุดตามนโยบายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)และรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วถึง

โดยมอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไปดำเนินการติดตั้ง และบำรุงรักษาระยะเวลา 3 ปี เริ่มจากปี 2557–2559

นายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ด ทีโอที เปิดเผยว่า ทีโอทีพร้อมดำเนินการตามงบประมาณที่ได้จาก กสทช. แต่กำลังมองว่างบประมาณเพิ่มเติมอีก 2,800 ล้านบาท เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์ ค่าเน็ตเวิร์ก ค่าซ่อมอุปกรณ์ เฉลี่ยคิดเป็นจุดละ 592 บาท เฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นกำลังมองหาเงิน 3 แนวทาง คือ กระทรวงไอซีที รัฐบาล หรือ กสทช. เพิ่มเติม ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่าติดตั้งไว ไฟ

อย่างไรก็ตาม ไอซีที ฟรี ไว ไฟ มีจุดให้บริการแล้ว 1.2 แสนจุด และได้รับการสนับสนุนจากโอปเรเตอร์ อาทิ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 50,000 จุด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จำนวน 60,000 จุด

ทว่า ทีโอที มีความจำเป็นต้องหาเงินมาบำรุงรักษา เนื่องจากรายได้ของทีโอที จะหายไปเมื่อสัญญาสัมปทานหมด แต่หากไม่ดูแลรักษาอุปกรณ์ก็จะต้องถูกปล่อยรกร้าง

แต่เงินค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ ถือว่ามากกว่า เงินค่าติดตั้งมาก ดังนั้นหากทั้งไอซีที และ กสทช. จับมือกัน จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดหรือเปล่า.

http://www.dailynews.co.th/technology/212807

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.