15 กรกฎาคม 2556 CAT เตรียมศึกษาทำธุรกิจ MVNO ร่วมกับ TRUE H คลื่น 2100 (ได้ทรัพย์อีก) จาก365อีก 400 ล้านบาทต่อปี ทำการตลาด3.3 แสนเลขหมาย
ประเด็นหลัก
อย่างไรก็ตาม หลังจากมติบอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ถอดสัญญาการผูกขาดการดำเนินธุรกิจในสัญญาบีเอฟเคทีกับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 80% ออกไป จึงทำให้ไม่ต้องผูกขาดอีก ดังนั้น กสท จึงมีสิทธิเพิ่มสถานีฐานหรือเพิ่มผู้ให้บริการเอ็มวีเอ็นโอได้ตามที่ กสท ต้องการ แต่การลงทุน กสท จะอิงตามความต้องการใช้งานของลูกค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ กสท ยังมีแผนที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกับ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ที่ปัจจุบันให้บริการ 3 จี บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาแผนงานและความเป็นไปได้ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนสนใจเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการเอ็มวีเอ็นโอกับ กสท แล้ว คือ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวน 3.3 แสนเลขหมาย โดยคาดว่าจะได้เงินในส่วนนี้ประมาณ 300-400 ล้านบาทต่อปี และจะเห็นความชัดเจนภายในเดือนนี้ ซึ่งต้องดูว่าสัญญาจะออกมาในลักษณะไหน นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนรายอื่นที่มีการเจรจากันเพื่อทำเอ็มวีเอ็นโอ อาทิ บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), กลุ่มบริษัท เทสโก้ โลตัส, บริษัทประกันภัย และรวมไปถึงเครือเซ็นทรัลฯ ด้วย
______________________________________
กสท ฟุ้งแข็งแรง ไม่ง้อเงินสัมปทานมือถือ
“กิตติศักดิ์” โว สิ้นปี กสท จะมีรายได้ 4.6 หมื่นล้านบาท ฟันกำไรกว่า 800 ล้านบาท โดยไม่รวมรายได้จากค่าสัมปทานมือถือ ระบุ โครงข่าย 3 จี เอชเอสพีเอ เนื้อหอม เอกชนรุมจีบขอร่วมทำเอ็มวีเอ็นโอด้วยเพียบ แง้ม ปิดดีลกับ 365 คอมมูนิเคชั่น ในเดือนนี้ รับเงินเบื้องต้น 400 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เดินสายจี้ 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้รีบดำเนินการส่งแผนธุรกิจเพราะกังวลว่ารายได้สัมปทานมือถือที่ทั้ง 2 องค์กรเคยนั่งกินนอนกินจะไม่มีอีกแล้ว ตาม พ.ร.บ. กสทช.ที่ต้องคืนรายได้สัมปทานเข้ารัฐบาลตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปีที่ผ่านมา กสท ได้ทำแผนฟื้นฟูธุรกิจ 5 ปี (2556-2560) โดยตั้งเป้าไว้ในปี 2556 กสท จะติดลบ 1,807 ล้านบาท และในปี 2557 ติดลบ 11.5 ล้านบาท แต่ภายหลังจากการรับรู้รายได้ 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.) กสท มีรายได้รวม 15,774
ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 16,090 ล้านบาท ค่าเสื่อม 2,486 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิประมาณ 316 ล้านบาท ทำให้ กสท ต้องปรับเป้ารายได้ใหม่โดยคาดว่าในปี 2557 จะไม่ติดลบแล้ว
สำหรับรายได้ปี 2556 กสท จะมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 45,000- 46,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น รายได้จากบีเอฟเคที 25,000 ล้านบาท ถือเป็นสัดส่วน 62% ของรายได้ และอีก 15,000 ล้านบาท ประมาณ 38% มาจากรายได้ธุรกิจอื่น ๆ อาทิ การให้บริการเคเบิลใยแสงใต้น้ำ บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูง เป็นต้น โดยตอนนี้แผนการดำเนินงานกลับดีขึ้นกว่าแผนฟื้นฟูถึง 2,694 ล้านบาท เพราะ กสท รู้จักบริหารต้นทุน ดังนั้น จะทำให้ กสท มีกำไรถึง 887 ล้านบาททันทีในปีนี้ ทั้งนี้ รายได้ดังกล่าวยังไม่รวมรายได้ที่มาจากสัญญาสัมปทานมือถือกับเอกชน
อย่างไรก็ตาม หลังจากมติบอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ถอดสัญญาการผูกขาดการดำเนินธุรกิจในสัญญาบีเอฟเคทีกับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 80% ออกไป จึงทำให้ไม่ต้องผูกขาดอีก ดังนั้น กสท จึงมีสิทธิเพิ่มสถานีฐานหรือเพิ่มผู้ให้บริการเอ็มวีเอ็นโอได้ตามที่ กสท ต้องการ แต่การลงทุน กสท จะอิงตามความต้องการใช้งานของลูกค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ กสท ยังมีแผนที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกับ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ที่ปัจจุบันให้บริการ 3 จี บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาแผนงานและความเป็นไปได้ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนสนใจเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการเอ็มวีเอ็นโอกับ กสท แล้ว คือ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวน 3.3 แสนเลขหมาย โดยคาดว่าจะได้เงินในส่วนนี้ประมาณ 300-400 ล้านบาทต่อปี และจะเห็นความชัดเจนภายในเดือนนี้ ซึ่งต้องดูว่าสัญญาจะออกมาในลักษณะไหน นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนรายอื่นที่มีการเจรจากันเพื่อทำเอ็มวีเอ็นโอ อาทิ บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), กลุ่มบริษัท เทสโก้ โลตัส, บริษัทประกันภัย และรวมไปถึงเครือเซ็นทรัลฯ ด้วย
หาก กสท ทำได้ตามแผนงานดังกล่าว เห็นทีคงต้องขอบคุณ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ที่แอบปิดดีลซื้อขายกับทรูในโครงการ 3 จี เอชเอสพีเอ อายุสัญญา 14.5 ปี จนเป็นที่มาของสัญญาฉาว และปัจจุบันการดำเนินกิจการในสัญญาดังกล่าวช่วยดันรายได้ให้กับ กสท
http://www.dailynews.co.th/technology/218994
ไม่มีความคิดเห็น: