Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2556 (CAT model) TOTประกาศหาพันธมิตร (แบบCAT-TRUE) ร่วมขยาย3G 2100 มูลค่า 30000ลบ. และ เปิดหาทำหาพันธมิตร 4G 2300 60 เมกะเฮิรตซ์


ประเด็นหลัก

  นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด กล่าวว่า ในตอนนี้มีความเป็นไปได้ว่าการดำเนินการโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 2 ของทีโอที อาจจะใช้วิธีเดียวกับกรณีบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือกลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ทำการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G HSPA บนคลื่นความถี่ 850 MHz ให้แก่บริษัท กสท โทรคมนาคม เช่าเพื่อนำความจุมาขายส่งบริการให้บริษัทเรียลมูฟขายต่อกับลูกค้าเนื่องจากเล็งเห็นว่าโมเดลดังกล่าวมีการชี้ชัดแล้วว่าไม่ผิดกฏหมาย โดยทีโอทีจะดำเนินการในลักษณะการหาพันธมิตรในการช่วยขยายโครงข่าย 3G เฟส 2 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
   
       “หากทีโอทีเลือกใช้โมเดลของบีเอฟเคทีมาดำเนินการ 3G เฟส 2 นั้น ทีโอทีจะเริ่มจากการขยายสถานีฐานเพิ่มอีกราว 9,000 สถานีฐาน ภายใต้งบประมาณที่ขอไปจำนวน 30,000 ล้านบาท”


นายยงยุทธ กล่าวว่า กล่าวว่า ถ้ายึดโมเดลบีเอฟเคทีนั้น มีความเป็นได้ที่ทีโอทีจะให้เอกชนที่สนใจมารับช่วงขยายโครงข่ายทั้งในย่าน 1900-2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ ทีโอทีให้บริการอยู่ ซึ่งมีสิทธิถือครองคลื่นนานถึงปี 2568 ตามใบอนุญาตที่ได้รับจาก คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และอาจจะมีการให้ขยายโครงข่ายเพิ่มเติ่มบนคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ที่ทีโอทีถือครองจำนวน 60 เมกะเฮิรตซ์




ข่าวที่เกี่ยวข้อง

10 กรกฎาคม 2556 (CAT model) TOT3G เตรียมตัดสินใจ หาผู้ร่วมทุน!! 30,000 ล้านบาท (โดยจะกู้ให้น้อยที่สุด) เพิ่มอีกราว 9,000 สถานี // เซ็นแน่นอน MVNO ใหม่กับ i-mobile3G สัดส่วนรายได้ ทีโอที 46% ไอ-โมบาย 54%
http://somagawn.blogspot.com/2013/07/10-2556-cat-model-tot3g-30000-9000-mvno.html




______________________________________




“ทีโอที” เล็งเลียนแบบ โมเดล “บีเอฟเคที” ลุย 3G เฟส2


       “ยงยุทธ” ระบุโมเดล ”บีเอฟเคที” กสท-ทรู อาจเหมาะกับการลุย 3G เฟส 2 มั่นใจดึงเอกชนร่วมได้แน่หากเปิดช่อง คาดรู้ผลภายในก.ค.นี้ ด้าน "อนุดิษฐ์" สนับสนุนเต็มที่ ยันในเมื่อมีหน่วยงานรับประกันความถูกต้องด้านกฎหมายแล้วทีโอทีก็ควรรีบเลียนแบบ กสท
     
       นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด กล่าวว่า ในตอนนี้มีความเป็นไปได้ว่าการดำเนินการโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 2 ของทีโอที อาจจะใช้วิธีเดียวกับกรณีบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือกลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ทำการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G HSPA บนคลื่นความถี่ 850 MHz ให้แก่บริษัท กสท โทรคมนาคม เช่าเพื่อนำความจุมาขายส่งบริการให้บริษัทเรียลมูฟขายต่อกับลูกค้าเนื่องจากเล็งเห็นว่าโมเดลดังกล่าวมีการชี้ชัดแล้วว่าไม่ผิดกฏหมาย โดยทีโอทีจะดำเนินการในลักษณะการหาพันธมิตรในการช่วยขยายโครงข่าย 3G เฟส 2 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
     
       “หากทีโอทีเลือกใช้โมเดลของบีเอฟเคทีมาดำเนินการ 3G เฟส 2 นั้น ทีโอทีจะเริ่มจากการขยายสถานีฐานเพิ่มอีกราว 9,000 สถานีฐาน ภายใต้งบประมาณที่ขอไปจำนวน 30,000 ล้านบาท”
     
       ทั้งนี้ภายในเดือนก.ค.นี้จะได้ข้อสรุปชัดเจนว่าโครงการ 3G เฟส 2 จะดำเนินการในลักษณะใด จะเป็นการกู้เงินมาเพื่อสร้างสถานีฐานเองหรือการหาพันธมิตรในลักษณะเดียวกับบีเอฟเคทีซึ่งเชื่อว่าเมื่อทีโอทีเปิดช่องหาพันธมิตรแล้วน่าจะสามารถดึงเอกชนมาร่วมลงทุนได้เพราะทีโอทีมีจุดแข็งตรงที่โครงข่ายไปถึงลูกค้าครัวเรือนได้ครอบคลุมมากที่สุดในตอนนี้
     
       นอกจากนี้หากทีโอทียึดโมเดลบีเอฟเคทีในการดำเนินการ ก็มีความเป็นได้ที่ทีโอทีจะให้เอกชนที่สนใจมารับช่วงขยายโครงข่ายทั้งในย่าน 1900 MHz - 2.1 GHz ที่ทีโอทีให้บริการอยู่ซึ่งมีสิทธิถือครองคลื่นความถี่นานถึงปี 2568 ตามใบอนุญาตที่ได้รับจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และอาจจะมีการให้ขยายโครงข่ายเพิ่มเติมบนคลื่น 2.3 GHz ที่ทีโอทีถือครองจำนวน 60 MHz ซึ่งทีโอทียังยึดสิทธิ์การให้บริการต่อเนื่องตามใบอนุญาตและตามรัฐธรรมนูญ โดยทีโอทีได้สิทธิ์ในการต่ออายุกับกสทช.แบบปีต่อปี
     
       "เชื่อได้ว่าหากเอกชนหรือพันธมิตรรายใดเข้ามาร่วมทำธุรกิจกับทีโอทีจะมีแต้มต่อเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นแน่นอน เหมือนเช่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ทรูมูฟเปิดให้บริการ 3G ก่อนคนอื่นภายหลังการจับมือกับกสท"
     
       นายยงยุทธ กล่าวว่า ในตอนนี้ทีโอทียังได้จัดทำแผนเทิร์นอะราวด์หรือแผนพลิกฟื้นธุรกิจใน 3-4 แนวทาง ซึ่งมีทั้งกรณีที่ดีที่สุด และเลวร้ายที่สุด ซึ่งในกรณีดีที่สุดหากทีโอทีสามารถเปลี่ยนโครงข่ายสายจากระบบสายทองแดง มาเป็นเคเบิลใยแก้วหรือ FTTx เพื่อให้สามารถให้บริการบรอดแบนด์ ได้ครบ 2 ล้านพอร์ตตามที่เสนอคณะรัฐมนตรีและสามารถประมูลโครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานสาธารณะ (USO) จากกสทช.ได้ 50% ของโครงการทั้งหมด ก็จะทำให้ทีโอทียังคงมีกำไรในปี 2556 จำนวน 2,000 ล้านบาท และในปี 2557 ยังคงมีกำไรสุทธิราว 380 ล้านบาทแม้ไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานทานที่ต้องส่งคืนรัฐตามพ.ร.บ.กสทช.
     
       ส่วนกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากทีโอทีเบิกจ่ายงบประมาณ และขออนุมัติงบไม่ทัน ในการเปลี่ยนสายทองแดงเป็นเคเบิลใยแก้วจำนวน 20,000 ล้านบาท จะทำให้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปทีโอทีจะขาดทุน 7,000 ล้านบาท ปี 2558 ขาดทุน 8,000 ล้านบาท และปี 2559 ขาดทุน 17,000 ล้านบาท ซึ่งเท่าทีโอทีจะประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินอย่างหนัก
     
       ขณะที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีพร้อมสนับสนุนเต็มที่ให้ทีโอทีดำเนินการในโครงการ 3G เฟส 2 โดยการเลียนแบบบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่เลือกเป็นพาร์ตเนอร์กับกลุ่มทรู ทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ที่ได้รับการรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายจากกสทช.แล้ว
     
        “ในเมื่อมีหน่วยงานออกมารับประกันความถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ทีโอทีไม่สามารถดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกันได้ ซึ่งเชื่อว่าวิธีการหาพาร์ตเนอร์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถให้บริการได้ในเวลาอันรวดเร็ว”
     

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000086193

________________________________________

TOTยึดโมเดลBFKT ดึงเอกชนเป็นพันธมิตร3G

ผู้บริหาร “ทีโอที”สบช่องผลตีความสัญญา “ทรู-กสท” ไม่ขัดพรบ.ร่วมทุนฯ ประกาศหาพันธมิตรร่วมธุรกิจ3G เฟส2

นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)หรือTOT กล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาแผนการให้บริการโครงข่ายผ่านบริษัทกลางขึ้นมา โดยยึดรูปแบบของบริษัทบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด หรือBFKT เนื่องจากเห็นว่า เมื่อรูปแบบการให้บริการในลักษณะบีเอฟเคที หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุชัดว่าไม่ผิดกฎหมาย ทาง ทีโอที ก็เห็นว่าการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว มั่นใจว่าจะสามารถหาพันธมิตรในการช่วยขยายโครงข่าย 3G เฟส 2 ได้รวดเร็วมากขึ้น

โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความ สัญญาธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G รูปแบบใหม่ ภายใต้เทคโนโลยีHSPA บนคลื่นความถี่  850 เมกะเฮิตรซ์(MHz) ระหว่าง บริษัท กสท จำกัด(มหาชน) กับ กลุ่มบริษท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐพ.ศ.2535 (พรบ.ร่วมทุนฯ)โดยตามสัญญาดังกล่าว บริษัท บีเอฟเคที (บริษัทในกลุ่มทรูฯ) ได้ทำสัญญาเช่าโครงข่าย และอุปกรณ์วิทยุโทรคมนาคม กับ กสท รองรับการให้บริการ 3G HSPA   บนคลื่นความถี่ 800 MHz

“ในเมื่อมีการฟันธงจากหลายฝ่ายแล้วว่า การทำแบบบีเอฟเคทีไม่ผิด ทีโอทีก็จะดำเนินการตามในลักษณะดังกล่าวด้วย ” นายยงยุทธ กล่าว

ในการนี้ ทีโอทีจะเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่ โดยจะไม่อาศัยการกู้ยืมเงินมาสร้างสถานีฐานเพียงอย่างเดียว ซึ่งเบื้องต้นยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะให้การกู้ยืมเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ หรือการร่วมทุนในการดำเนินการ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกรกฏาคม นี้ว่า จะใช้การดำเนินการรูปแบบการกู้ หรือร่วมทุน

นายยงยุทธ กล่าวว่า กล่าวว่า ถ้ายึดโมเดลบีเอฟเคทีนั้น มีความเป็นได้ที่ทีโอทีจะให้เอกชนที่สนใจมารับช่วงขยายโครงข่ายทั้งในย่าน 1900-2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ ทีโอทีให้บริการอยู่ ซึ่งมีสิทธิถือครองคลื่นนานถึงปี 2568 ตามใบอนุญาตที่ได้รับจาก คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และอาจจะมีการให้ขยายโครงข่ายเพิ่มเติ่มบนคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ที่ทีโอทีถือครองจำนวน 60 เมกะเฮิรตซ์

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ยังกล่าวถึงผนแผนยุทธศาสตร์เพื่อฟื้นฟูขององค์กร ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2560 หรือ เทริน์อะราวด์ว่า ทีโอที ได้คาดการณ์รายได้ในอนาคตไว้ 3-4 แนวทาง ซึ่งมีทั้งกรณีที่ดีที่สุดและเลวร้ายที่สุด ซึ่งในกรณีที่ดีที่สุดทีโอที  ยังคงมีกำไรในปี 2556 จำนวน 2,000 ล้านบาท และในปี 2557 ยังคงมีกำไรสุทธิราว 380 ล้านบาทแม้ไม่มีรายได้จากสัญญาสัปมทานที่ต้องส่งคืนคลื่นรัฐตามพ.ร.บ.กสทช.

ส่วนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากทีโอทีเบิกจ่ายงบประมาณ และขออนุมัติงบไม่ทัน ในการเปลี่ยนสายเอดีเอสแอลเป็นไพเบอร์ออฟติคจำนวน 20,000 ล้านบาท แล้ว จะทำให้ตั้งปี 2557 เป็นต้นไปทีโอทีจะขาดทุน 7,000 ล้านบาท ปี 2558 ขาดทุน 8,000 ล้านบาท และปี 2559 ขาดทุน 17,000 ล้านบาท ซึ่งเท่าทีโอทีจะประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินอย่างหนัก


http://www.naewna.com/business/59874

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.