Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 กรกฎาคม 2556 CAT แฉกสทช.!! ไม่ยอมรับแผนปรับปรุงคลื่นความถี่1800(ดึงคลื่นDTACที่ยังไม่ได้ใช้มาเป็นของCAT) โดนวิธีนี้ไม่ต้องออกร่างเยี่ยวยาคลื่น 1800


ประเด็นหลัก


 ขณะเดียวกัน นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า กสท เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อมองย้อนไป 3 ปีก่อนที่จะมีการใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 นั้น กสท มีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 MHz อย่างต่อเนื่อง โดย กสท ได้ยื่นหนังสือถึง กสทช.ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่เพื่อเป็นทางเลือกนอกจากคืนคลื่นความถี่
     
       แต่ กสทช.ไม่เลือกวิธีนี้ ซึ่งการให้บริการนั้น กสท ไม่ใช่เป็นผู้เดียวที่จะให้บริการแต่จะต้องมีการเจรจากับคู่สัญญาที่เป็นเอกชน ซึ่งสัญญาสัมปทานจริงแล้วบ่งบอกชัดเจนว่า กสท ควรจะต้องเป็นผู้ให้บริการตามสัญญาแบบ BTO (สร้างเสร็จโอนทรัพย์สินให้รัฐแล้วได้สิทธิให้บริการ) ที่ทรัพย์สินจะต้องตกเป็นของรัฐ
     
       อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่เชิงการตลาดลูกค้าที่จะต้องโอนมาให้ กสท ตามสัญญามีมูลค่าเป็นรายได้มหาศาล โดยเฉพาะฐานลูกค้าที่มีมากกว่า 10 ล้านรายขึ้นไป ลูกค้าคือประชาชนที่จะต้องได้รับบริการและสนับสนุนให้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน บริการคงสิทธิเลขหมาย เป็นบริการที่รองรับธุรกรรมแบบปกติ แต่การโอนย้ายลูกค้าจำนวนมากในระยะเวลาสั้น มีความแตกต่างกันในเรื่องการลงทุน หากต้องลงทุนจำนวนมากก็อาจไม่คุ้มค่า
     
       “กสท ยังมองว่าเรามีโอกาสที่จะดำเนินธุรกิจต่อ เนื่องจาก กสท ยังมีบริการมือถือแบรนด์ 3G My บนคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz ของดีแทคที่ยังไม่ได้ใช้งาน แต่หากเป็นทางเลือกสุดท้าย กสท คงต้องแข่งการประมูลความถี่กับผู้ประกอบการรายอื่นด้วย”
















______________________________________





ทีดีอาร์ไอ “แทงข้างหลังทะลุหัวใจ” ร่างเยียวยา กทค.เอื้อเอกชนทำรัฐสูญแสนล้าน


       อนาถใจ กทค.ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ยกเว้นหาปี๊บมาคลุม “เดือนเด่น” ทีดีอาร์ไอ แฉเบื้องหลังบอร์ด กทค.ไม่เคยสนใจข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ 1800 MHz ที่นำเสนอในประเด็นผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ 1800 MHz การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย และในประเด็นการเสนอแนวทางการเยียวยาผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ ส.ค. 2555 หรือก่อนสัมปทานหมด 1 ปีเต็ม แต่ กทค.เลือกที่จะตั้งคณะทำงานชุดใหม่แทน จนสุดท้ายเอื้อเอกชนใช้คลื่น 1800 MHz ต่ออีก 1 ปี ระบุทำประเทศชาติเสียผลประโยชน์ 1.6 แสนล้านบาท ด้าน ซูเปอร์บอร์ดเล็งตรวจสอบ 2 ประเด็นหลักเรื่องข้อกฎหมายว่ามีอำนาจในการออกร่างประกาศเยียวยาหรือไม่ และมีการดำเนินการตามระเบียบที่มีอยู่อย่างเต็มที่แล้วหรือยัง
     
       นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประเด็นที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะขยายระยะเวลาให้เอกชนมีสิทธิถือครองคลื่น 1800 MHz ออกไปอีก 1 ปี โดยการออกเป็นร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) จะไม่เกิดขึ้นแน่นอนหาก กสทช.รับฟังข้อเสนอตั้งแต่ที่คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุโทรคมนาคมระบบเซลลูลาร์ Digital PCN 1800 เสนอไปในช่วงเดือน ส.ค. 2555 แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กลับไม่ให้ความสนใจแต่อย่างใด โดยในครั้งนั้นคณะอนุกรรมการได้มีการนำเสนอในประเด็นผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ 1800 MHz, การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย และในประเด็นการเสนอแนวทางการเยียวยาผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้น
     
       “ตอนแรกผมเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ 1800 MHz และได้มีการทำข้อเสนอต่อบอร์ด กทค. แต่สุดท้ายบอร์ด กทค.ก็ไม่สนใจ และท้ายสุดก็ตั้งคณะทำงานชุดใหม่ขึ้นมาแทน คือคณะทำงานการมีส่วนร่วมสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่มีนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธาน”
     
       นอกจากนี้ การขยายระยะเวลาให้เอกชนมีสิทธิใช้คลื่น 1800 MHz ออกไปอีก 1 ปี ยังจะสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติและประชาชนถึง 1.6 แสนล้านบาทจากการที่ไม่ได้นำคลื่น 1800 MHz มาเปิดประมูลได้ในปีนี้ โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามผลการวิจัยของสถาบันอนาคตประเทศไทยที่เคยประเมินความเสียหายจากความล่าช้าในการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G ย่านความถี่ 2.1 GHz
     
       “กสทช.ไม่สามารถชดเชยโอกาสของประชาชน ซึ่งควรจะได้ใช้ 4G และมูลค่าทางเทคโนโลยีที่ไม่เกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz ในปีนี้ได้ทัน ทั้งที่ กสทช. รู้ล่วงหน้าว่าคลื่นดังกล่าวจะสิ้นสุดสัมปทานในเดือน ก.ย.อยู่แล้ว”
     
       นางเดือนเด่นกล่าวว่า การที่ กสทช.พยายามผลักดันให้ร่างเยียวยา 1800 MHz มีผลบังคับใช้เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องสูงมาก เพราะนักวิชาการด้านกฎหมายได้แสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ร่างประกาศฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญเพราะ กสทช.ไม่มีอำนาจที่จะให้เอกชนเข้ามามีสิทธิในคลื่นที่หมดสัมปทานแล้ว
     
       ด้านนายประเสริฐ อภิปุญญา กรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของ กสทช. (ซูเปอร์บอร์ด) กล่าวว่า ในตอนนี้ยังเร็วไปหากจะบอกว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่ซูเปอร์บอร์ดจะเข้าไปติดตาม และตรวจสอบใน 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นเรื่องข้อกฎหมายว่ามีอำนาจในการออกร่างประกาศเยียวยาฉบับดังกล่าวหรือไม่ และในประเด็นการดำเนินการตามระเบียบที่มีอยู่อย่างเต็มที่แล้วหรือยังโดยเฉพาะกรณีเรื่องการโอนย้ายลูกค้าผ่านระบบคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี) ซึ่ง กสทช.มีอำนาจในการดำเนินการสั่งให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการโอนย้ายได้
     
       “แผนการบริหารจัดการเรื่องการโอนย้ายลูกค้าผ่านระบบคงสิทธิเลขหมายที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยโอนย้ายลูกค้าที่หมดสัมปทานให้ทันเวลาที่กำหนดได้ โดยสามารถเพิ่มปริมาณได้สูงสุดมากกว่า 1 ล้านเลขหมายต่อวัน แต่ที่ผ่านมา กสทช.ยังไม่ได้ทำอย่างเต็มที่ ทำให้การโอนย้ายเกิดปัญหา”
     
       ขณะเดียวกัน นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า กสท เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อมองย้อนไป 3 ปีก่อนที่จะมีการใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 นั้น กสท มีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 MHz อย่างต่อเนื่อง โดย กสท ได้ยื่นหนังสือถึง กสทช.ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่เพื่อเป็นทางเลือกนอกจากคืนคลื่นความถี่
     
       แต่ กสทช.ไม่เลือกวิธีนี้ ซึ่งการให้บริการนั้น กสท ไม่ใช่เป็นผู้เดียวที่จะให้บริการแต่จะต้องมีการเจรจากับคู่สัญญาที่เป็นเอกชน ซึ่งสัญญาสัมปทานจริงแล้วบ่งบอกชัดเจนว่า กสท ควรจะต้องเป็นผู้ให้บริการตามสัญญาแบบ BTO (สร้างเสร็จโอนทรัพย์สินให้รัฐแล้วได้สิทธิให้บริการ) ที่ทรัพย์สินจะต้องตกเป็นของรัฐ
     
       อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่เชิงการตลาดลูกค้าที่จะต้องโอนมาให้ กสท ตามสัญญามีมูลค่าเป็นรายได้มหาศาล โดยเฉพาะฐานลูกค้าที่มีมากกว่า 10 ล้านรายขึ้นไป ลูกค้าคือประชาชนที่จะต้องได้รับบริการและสนับสนุนให้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน บริการคงสิทธิเลขหมาย เป็นบริการที่รองรับธุรกรรมแบบปกติ แต่การโอนย้ายลูกค้าจำนวนมากในระยะเวลาสั้น มีความแตกต่างกันในเรื่องการลงทุน หากต้องลงทุนจำนวนมากก็อาจไม่คุ้มค่า
     
       “กสท ยังมองว่าเรามีโอกาสที่จะดำเนินธุรกิจต่อ เนื่องจาก กสท ยังมีบริการมือถือแบรนด์ 3G My บนคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz ของดีแทคที่ยังไม่ได้ใช้งาน แต่หากเป็นทางเลือกสุดท้าย กสท คงต้องแข่งการประมูลความถี่กับผู้ประกอบการรายอื่นด้วย”


http://astvmanager.com/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000093753

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.