15 สิงหาคม 2556 MOBสรส.นำทีม MCOT,CAT,TOT ชี้ กสทช.ตั้งใจทำลายรัฐวิสาหกิจ บุกสำนักงาน กสทช.และรัฐสภาพร้อมเร่งล่ารายชื่อใน30วัน!! ชี้ทำอะไรเอื่อเอกชนเช่นโอนลูกค้าCATให้เอกชน,ลดสัดส่วนช่องข่าว(
ประเด็นหลัก
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 43 แห่ง รวมถึงสหภาพของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เข้ายื่นออกแถลงการณ์การออกกติกาประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่ต้องเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปสู่การให้ใบอนุญาต ส่งผลกระทบกับ 2 รัฐวิสาหกิจ คือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ทั้งนีิ้ หลังจาก กสทช.เข้ามากำกับดูแล ก็หวังว่าจะทำให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการแข่งขัน แต่พบว่า กสทช. ไม่ได้ปกป้องรักษาผลประโยชน์ชาติ และไม่ได้สร้างกลไกตลาดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และทำให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งต้องแบกภาระ
โดยเฉพาะประเด็นการออกประกาศการใช้โครงข่ายรวมกัน ซึ่งจากเดิมโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดเป็นของทีโอที และ กสท ตามสัญญาสัมปทาน แต่ กสทช.ออกประกาศให้คู่สัญญาสัมปทานมีสิทธิในโครงข่ายโทรคมนาคมเช่นเดียวกับเจ้าของสัญญาสัมปทาน ขณะที่การโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานก็ยังอยู่ระหว่างข้อพิพาทกันอยู่ และการออกประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน เพราะตามสัญญาสัมปทานลูกค้าต้องเป็นของ กสท ภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว แต่ดูเหมือนว่า กสทช.จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการต่อไป เป็นต้น
สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สหภาพแรงงาน อสมท. ทีโอที และ กสท.โทรคมนาคม ซึ่งเป็นพนักงานขององค์กรที่ประกอบกิจการวางรากฐาน ให้บริการด้านสื่อสารวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสาร นัดรวมตัวกันเนื่องจากเห็นว่า กระบวนการประมูลคลื่นความถี่ทั้งด้านโทรทัศน์ วิทยุ และโทรคมนาคม ที่บริหารจัดการโดย กสทช.ไม่เกิดความเป็นธรรม กับ 3 องค์กรที่มีการแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ และต้องผูกพันกับภารกิจของรัฐ ทำให้ขาดความเท่าเทียมในการร่วมประมูลกับภาคเอกชน ที่มีอิสระทางการเงิน และการบริหารเต็มรูปแบบ พร้อมกับมีการออกแถลงการณ์ในลักษณะสมุดปกขาวด้วย ตอบโต้วิธีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช.ทำให้รัฐนั้นเสียประโยชน์ และทำให้บริษัททั้ง 3 แห่ง เสียโอกาสในการประมูล 4 ประการ คือ การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ในเครือข่ายมือถือ 3 ราย ต่อรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 50 จะกระทำไม่ได้
ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนคณะกรรมการ กสทช.ทั้งคณะเพื่อให้ยุติการทำงาน เหตุเพราะ 1. การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายมือถือ 3G เองได้ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะโครงข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดจะกระทำมิได้
2. การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทานและบริษัทลูก กระทำการถ่ายโอนลูกค้าจากเดิมที่เคยใช้บริการโทรศัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทานไปสู่การให้บริการบริษัทลูก กระทบรายได้นำส่งรัฐภายใต้สัญญาสัมปทาน ส่งผลให้รัฐเสียหาย 3. การที่คณะกรรมการ กสทช.ออกใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแก่ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3G ได้ และการออกประกาศการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อหวังให้บริษัทลูกชนะการประมูล การเพิ่มสิทธิให้บริษัทแม่ผู้รับสัมปทานเกินขอบเขตของกฎหมายและยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินของรัฐ ทำให้ผู้ให้สัมปทานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย และ 4. การออกประกาศคณะกรรมการ กสทช.ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ระบุขั้นตอนวิธีการประมูลคลื่นในกิจการวิทยุโทรทัศน์ ให้เลือกผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับ ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาที่เท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก ก่อให้เกิดคำถามว่าการจับสลากเป็นวิธีการประมูลที่ดีที่สุดหรือไม่
นอกจากนี้ การปรับลดเนื้อหาข่าวสารที่มีสาระต่อสาธารณะจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มาเป็นร้อยละ 50 ทำให้ช่องรายการข่าวกับช่องรายการวาไรตี้แทบไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งที่ได้มีการท้วงติงจากภาคส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม นายนิคมกล่าวว่า สามารถใช้สิทธินี้ได้แต่ต้องมีรายชื่อและข้อกล่าวหาที่ชัดเจน โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ในการตรวจสอบรายชื่อ หากขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อถูกต้องก็จะส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและถอดถอนต่อไป
______________________________________
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บุก กสทช. จี้ยุติการทำหน้าที่
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 องค์กร ทีโอที กสท และช่อง 9 ยื่นหนังสือ กสทช. เรียกร้องให้ยุติการทำหน้าที่ หลังพบออกกฎระเบียบประมูลทีวีดิจิตอล และจัดสรรคลื่นโทรคมนาคม ไม่เป็นธรรม...
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 43 แห่ง รวมถึงสหภาพของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เข้ายื่นออกแถลงการณ์การออกกติกาประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่ต้องเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปสู่การให้ใบอนุญาต ส่งผลกระทบกับ 2 รัฐวิสาหกิจ คือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ทั้งนีิ้ หลังจาก กสทช.เข้ามากำกับดูแล ก็หวังว่าจะทำให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการแข่งขัน แต่พบว่า กสทช. ไม่ได้ปกป้องรักษาผลประโยชน์ชาติ และไม่ได้สร้างกลไกตลาดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และทำให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งต้องแบกภาระ
อีกทั้งพบว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทาน และบริษัทลูกของบริษัทค่ายมือถือ ฮั้วราคาในการให้บริการ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในตลาด และ กสทช.ได้ออกประกาศฯ ให้เกิดการโอนย้ายลูกค้าจากบริษัทแม่ไปบริษัทลูกได้ รวมทั้งปัญหากรณีการเช่าใช้โครงข่ายร่วมกัน ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 หน่วยงาน
ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอล ในเดือน ต.ค.นี้ มีการกำหนดให้เลือกผู้ชนะสูงสุด แต่หากมีผู้ชนะราคาเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลากนั้น อาจทำให้ประเทศไทยไม่ได้สถานีโทรทัศน์ที่มีความพร้อมในการให้บริการมากที่สุด รวมทั้งกำหนดกติกาให้เอกชนที่มีความผูกพันเชิงการถือครองหุ้น สามารถฮั้วราคากันได้ ในทางตรงข้าม อสมท ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ จะเกิดความเสียเปรียบในการเข้าประมูลแข่งขัน รวมทั้งการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาข่าวสาระ การประมูลกลุ่มช่องข่าว 7 ช่อง จาก 75% หรือ 50% ทำให้ไม่มีความแตกต่างกับประเภทช่องรายการทั่วไป 7 ช่อง ทั้งที่การกำหนดสัดส่วนนี้มีกลุ่มนักวิชาการ องค์กรวิชาชีพสื่อ คัดค้าน แต่ กสทช.ไม่แก้ไข และทำให้เห็นว่า กสทช.จงใจใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มติสมาพันธ์ฯ จึงเห็นตรงกันว่าขอให้ กสทช.ยุติบทบาทในการทำหน้าที่ หากไม่ยุติจะยกระดับการชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ รายงานข่าวยังแจ้งด้วยว่า วันนี้ช่วงบ่าย สมาพันธ์ฯ จะเคลื่อนขบวนไปยื่นหนังสือต่อสมาชิกวุฒิสภา อาคารรัฐสภา เพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของกรรมการ กสทช. ทั้ง 11 คน.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/363618
_____________________________________________
สรส.ยื่นถอด กสทช.ยกชุด ออกใบอนุญาต 3G ขัด รธน.เอื้อเอกชน ติงลดรายการข่าว
สรส.ยื่น ปธ.วุฒิฯ ถอด กสทช.ทั้งคณะ เหตุขัด รธน.ออกใบอนุญาต 3G เอง ละเว้นหน้าที่เหตุ บ.ใต้สัมปทานโอนลูกค้าให้ บ.ลูก กระทบรายได้รัฐฯ และออกประกาศ หวัง บ.ลูกชนะประมูลเพิ่มสิทธิ บ.แม่ แถมกำหนดให้จับสลากหากประมูลเท่ากัน ทั้งยังมีการลดรายการข่าวเหลือร้อยละ 50 พอๆ กับรายการวาไรตี้ “นิคม” ขอ 30 วันสอบรายชื่อ ไร้ปัญหาพร้อมยื่น ป.ป.ช.
วันนี้ (15 ส.ค.) ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนคณะกรรมการ กสทช.ทั้งคณะเพื่อให้ยุติการทำงาน เหตุเพราะ 1. การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายมือถือ 3G เองได้ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะโครงข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดจะกระทำมิได้
2. การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทานและบริษัทลูก กระทำการถ่ายโอนลูกค้าจากเดิมที่เคยใช้บริการโทรศัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทานไปสู่การให้บริการบริษัทลูก กระทบรายได้นำส่งรัฐภายใต้สัญญาสัมปทาน ส่งผลให้รัฐเสียหาย 3. การที่คณะกรรมการ กสทช.ออกใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแก่ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3G ได้ และการออกประกาศการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อหวังให้บริษัทลูกชนะการประมูล การเพิ่มสิทธิให้บริษัทแม่ผู้รับสัมปทานเกินขอบเขตของกฎหมายและยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินของรัฐ ทำให้ผู้ให้สัมปทานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย และ 4. การออกประกาศคณะกรรมการ กสทช.ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ระบุขั้นตอนวิธีการประมูลคลื่นในกิจการวิทยุโทรทัศน์ ให้เลือกผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับ ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาที่เท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก ก่อให้เกิดคำถามว่าการจับสลากเป็นวิธีการประมูลที่ดีที่สุดหรือไม่
นอกจากนี้ การปรับลดเนื้อหาข่าวสารที่มีสาระต่อสาธารณะจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มาเป็นร้อยละ 50 ทำให้ช่องรายการข่าวกับช่องรายการวาไรตี้แทบไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งที่ได้มีการท้วงติงจากภาคส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม นายนิคมกล่าวว่า สามารถใช้สิทธินี้ได้แต่ต้องมีรายชื่อและข้อกล่าวหาที่ชัดเจน โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ในการตรวจสอบรายชื่อ หากขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อถูกต้องก็จะส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและถอดถอนต่อไป
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101636&Keyword=%a1%ca%b7
______________________________________________________
“สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ” กดดัน กสทช.ยุติบทบาท
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งในนามสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) บุก กสทช.จี้ยุติบทบาท พร้อมยื่นหนังสือถึง ส.ว.ตรวจสอบการทำหน้าที่ หลังปล่อยให้รัฐวิสาหกิจเสียหายจากการออกประกาศโทรคมนาคมเอื้อเอกชน รวมทั้งเรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล ขู่หากเฉยเตรียมยกระดับชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ ด้าน “ก่อกิจ” ยืนยัน กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมายมาตลอด
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (15 ส.ค.) ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งในนามสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และตัวแทนจากสหภาพฯ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ ได้รวมตัวกันแต่งชุดดำ และเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซอยพหลโยธิน 8 เพื่อประท้วงการทำหน้าที่ของ กสทช. พร้อมทั้งในช่วงบ่ายวันเดียวกันได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงวุฒิสภาเพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ กสทช.ทั้ง 11 คนด้วย
เนื่องมาจากการทำหน้าที่ของ กสทช.ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมาได้มีการออกกฎกติกา และระเบียบต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมต่อรัฐวิสาหกิจ และส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐวิสาหกิจโดยตรง รวมถึงไม่ได้ปกป้องรักษาผลประโยชน์ชาติ และไม่ได้สร้างกลไกตลาดให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการออกประกาศของ กสทช.หลายฉบับที่ผ่านมาทีโอที และ กสท ได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมมาโดยตลอด ถึงแม้หลายคดีจะตัดสินแล้ว แต่ยังมีอีกหลายคดีที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
โดยเฉพาะประเด็นการออกประกาศการใช้โครงข่ายรวมกัน ซึ่งจากเดิมโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดเป็นของทีโอที และ กสท ตามสัญญาสัมปทาน แต่ กสทช.ออกประกาศให้คู่สัญญาสัมปทานมีสิทธิในโครงข่ายโทรคมนาคมเช่นเดียวกับเจ้าของสัญญาสัมปทาน ขณะที่การโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานก็ยังอยู่ระหว่างข้อพิพาทกันอยู่ และการออกประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน เพราะตามสัญญาสัมปทานลูกค้าต้องเป็นของ กสท ภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว แต่ดูเหมือนว่า กสทช.จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการต่อไป เป็นต้น
ขณะเดียวกันยังมีประเด็นการเปิดประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจาก กสทช.มีการกำหนดให้เลือกผู้ชนะสูงสุด แต่หากมีผู้ชนะโดยเสนอราคาเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลากนั้น ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจทำให้ประเทศไทยไม่ได้สถานีโทรทัศน์ที่มีความพร้อมในการให้บริการมากที่สุด ที่สำคัญ อสมท ก็จะเสียเปรียบในการเข้าประมูลแข่งขัน เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจที่จะดำเนินการใดๆ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม.ก่อน ดังนั้น หากประมูลในราคาที่สูงกว่าวงเงินที่ ครม.อนุมัติให้ อสมท ก็จะไม่สามารถแข่งขันในการประมูลได้
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ กสทช.ปรับลดสัดส่วนเนื้อหาสาระช่องข่าวลงจาก 75% เหลือ 50% นั้น มีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากจะส่งผลต่อการประมูลอย่างแน่นอน และได้มีการท้วงติงมายัง กสทช.แล้วก่อนหน้านี้แต่ไม่มีการแก้ไขใดๆ ทำให้เห็นว่า กสทช.จงใจใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทางสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจจึงมีมติร่วมกันว่าขอให้ กสทช.ยุติบทบาทการทำหน้าที่ และหากไม่ยุติก็จะยกระดับชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ
ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวภายหลังการหารือกับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งว่า กสทช.ยังคงยืนยันว่าที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ และพยายามทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต รวมถึงทีวีระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล จึงมีหลายฝ่ายมองว่ามีกลุ่มได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ แต่ กสทช.ยืนยันว่าการออกกฎระเบียบต่างๆ คำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ, ประโยชน์ประเทศชาติอย่างแน่นอน และที่สำคัญดำเนินการตามที่กรอบกฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ
ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งในนามสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.)
“ข้อเรียกร้องของ สรส.บางประเด็นอยู่นอกกรอบที่จะตอบได้ จึงอาจต้องยื่นเรื่องไปที่วุฒิสภาเพื่อพิจารณา โดยเฉพาะประเด็นด้านข้อกฎหมาย กสทช.ต้องรักษาสมดุลให้อยู่ได้ทั้ง 3 ฝ่าย คือ รัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค อาจไม่ถูกใจทุกคน เพราะความเป็นจริงไม่น่าจะทำได้ แต่รับรองว่าจะถูกใจคนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่วนหัวข้อที่ สรส.ยื่นมาให้ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องการจัดประมูล และบริการ 3G เรื่องคลื่นสัมปทาน 1800 MHz และการประมูลทีวีดิจิตอลนั้นคงต้องขอเวลาประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อเสนอต่อบอร์ดโทรคมนาคม และบอร์ดกระจายเสียงต่อไป”
ขณะที่นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพฯ บริษัท กสท โทรคมนาคม และนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี พนักงานทีโอที กล่าวว่า สหภาพฯ ทั้ง 2 แห่งตัดสินใจแล้วว่าจะเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครองก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้เกี่ยวกับประเด็นการใช้โครงข่ายร่วม และการกำกับดูแลที่ไม่เป็นธรรม และขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 (11) โดยตอนนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาประเด็นฟ้องร้องให้เกิดความรอบคอบมากที่สุด
นอกจากนี้ นายสุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพฯ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 กล่าวว่า การออกมาเรียกร้องในครั้งนี้ไม่ได้มาในนามของช่อง 9 เท่านั้น แต่มาในนามของสื่อสารมวลชนที่ต้องการเห็นการปฏิรูปเกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสื่อ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปสื่อก็คือลดการผูกขาดจากกลุ่มทุน และรัฐ แต่การทำงานของ กสทช.กลับเริ่มต้นด้วยการเอาคลื่นความถี่ไปประมูลทีวีดิจิตอล และอ้างว่าจะนำเงินที่ประมูลได้มาซื้อกล่องดิจิตอลแจกให้ประชาชนทั้ง 22 ล้านครัวเรือน รวมถึงการปรับลดสัดส่วนช่องข่าวที่ไม่ต่างอะไรจากช่องรายการทั่วไป
“เรายืนยันว่าไม่ได้ขัดขวางเรื่องการปฏิรูปสื่อ แต่ต้องทำให้ครบถ้วน รอบด้าน แต่การมีช่องทีวีเกิดขึ้นอีก 48 ช่อง ในขณะที่ กสทช.ยังไม่สามารถแก้ปัญหาช่องรายการต่างๆ ที่มีการโฆษณาผิดกฎหมายในขณะนี้ได้เลย และไทยถือเป็นประเทศเดียวที่มีการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกทำกัน”
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101604&Keyword=%a1%ca%b7
___________________________________________
3 สหภาพฯ นัดรวมตัวร้อง กสทช.ไขก๊อก-ประมูล 3G ไม่เป็นธรรม
สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สหภาพแรงงาน อสมท. ทีโอที และ กสท.โทรคมนาคม ซึ่งเป็นพนักงานขององค์กรที่ประกอบกิจการวางรากฐาน ให้บริการด้านสื่อสารวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสาร นัดรวมตัวกันเนื่องจากเห็นว่า กระบวนการประมูลคลื่นความถี่ทั้งด้านโทรทัศน์ วิทยุ และโทรคมนาคม ที่บริหารจัดการโดย กสทช.ไม่เกิดความเป็นธรรม กับ 3 องค์กรที่มีการแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ และต้องผูกพันกับภารกิจของรัฐ ทำให้ขาดความเท่าเทียมในการร่วมประมูลกับภาคเอกชน ที่มีอิสระทางการเงิน และการบริหารเต็มรูปแบบ พร้อมกับมีการออกแถลงการณ์ในลักษณะสมุดปกขาวด้วย ตอบโต้วิธีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช.ทำให้รัฐนั้นเสียประโยชน์ และทำให้บริษัททั้ง 3 แห่ง เสียโอกาสในการประมูล 4 ประการ คือ การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ในเครือข่ายมือถือ 3 ราย ต่อรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 50 จะกระทำไม่ได้
การประมูลคลื่นในกิจการวิทยุ โทรทัศน์ ที่ กสทช.กำหนดเลือกผู้เสนอราคาประมูลสูงสุด หรือว่ากรณีเสนอเท่ากัน ให้ใช้วิธีการจับสลาก และมีคำถามว่า วิธีการประมูลที่ดีที่สุดหรือไม่ และจะมีอะไรมารับรองว่า ประโยชน์สูงสุดอยู่ที่ประชาชน ดังนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมจึงยื่นข้อเรียกร้องให้ทางคณะกรรมการ กสทช.ยุติการหน้าที่ เพื่อที่ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศชาติ และในช่วงบ่ายตัวแทนจาก 3 สหภาพ มีแผนที่จะเดินทางไปยื่นเอกสารสมุดปกขาว ตีแผ่การทำงานของ กสทช.ที่ไม่เหมาะสม และควรที่จะถอดถอนทั้งคณะให้กับประธานวุฒิสภาด้วย
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101401&Keyword=%a1%ca%b7
______________________________________________________
แต่งดำค้าน กสทช. ประมูลทีวีดิจิทัล-3จี
พนักงานรัฐวิสาหกิจ "อสทม.-ทีโอที-กสทช.โทรคมนาคม" 300 คน แต่งดำชุมนุมค้าน กสทช.ประมูลทีวีดิจิทัล-3G ระบุทำรัฐเสียประโยชน์
พนักงานรัฐวิสาหกิจ "อสทม.-ทีโอที-กสทช.โทรคมนาคม" 300 คน แต่งดำชุมนุมค้าน กสทช.ประมูลทีวีดิจิทัล-3G ระบุทำรัฐเสียประโยชน์
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกับสหภาพแรงงาน อสมท., ทีโอที และ กสท.โทรคมนาคม ราว 300 คนแต่งชุดดำรวมตัวชุมนุมที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในช่วงเช้าวันนี้ (15 ส.ค) เพื่อคัดค้านการกำกับดูแลและขอให้ยุติบทบาทการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและกิจการโทรทัศน์ เพราะอาจจะส่งผลเสียหายต่อประเทศ
ผู้ชุมนุมระบุว่า กระบวนการประมูลคลื่นความถี่ทั้งด้านโทรทัศน์ วิทยุ และโทรคมนาคม ที่บริหารจัดการโดย กสทช.ไม่เกิดความเป็นธรรม กับ 3 องค์กรที่มีการแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ และต้องผูกพันกับภารกิจของรัฐ ทำให้ขาดความเท่าเทียมในการร่วมประมูลกับภาคเอกชน
ทั้งนี้ การที่กำหนดให้ อสมท ต้องประมูลช่องทีวีดิจิทัลแข่งกับเอกชนทั้งที่เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจของรัฐและนำส่งรายได้แผ่นดิน ถือว่าไม่เป็นธรรมต่อองค์กรและจะกระทบต่อการจัดหารายได้และการจัดส่งรายได้เข้าแผ่นดิน รวมทั้งการลดเวลาให้เปลี่ยนจากการออกอากาศจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิทัล ภายใน 5 ปี จากเดิมที่กำหนด 10 ปี ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัลที่ไม่เป็นธรรม
นอกจากนี้ กสทช.ยังมีการจัดสรรคลื่นความถี่โทรศัพท์ระบบ 3G ที่เอื้อประโยชน์ให้ภาคเอกชน และกรณีที่คลื่นโทรศัพท์ 1800 เมกกะเฮิรตซ์ของ กสท โทรคมนาคม ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายนนี้และต้องคืนคลื่นให้ กสทช.ทำให้รายได้ที่จะส่งให้แผ่นดินลดลงด้วย และในช่วงบ่าย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จะเดินทางไปรัฐสภา เพื่อขอความเป็นธรรมด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130815/523427/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%
87%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-
%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.-
%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8
%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5-
3%E0%B8%88%E0%B8%B5.html
_________________________________
สรส.บุกกสทช.ร้องประมูลทีวี-คลื่น1800เมกะเฮิร์ตซจัดสรรใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 เวลา 12:47 น.
สมาชิก สรส. กว่า 200 คน ตบเท้าบุกกสทช. คัดค้านประมูลทีวีดิจิทัล คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซไปประมูลใหม่ สร้างเสียหายต่อรายได้ของแผ่นดิน ด้านกสทช.ผนึกกำลัง ยืนยันทำตามกฎหมายพ.ร.บ.จัดสรรความถี่ฯ
วันนี้(15ส.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท) ประกอบด้วย บริษัท อสมท จำกัด ( มหาชน) ,บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)จำนวนกว่า 200 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านขอให้กสทช. ยุติบทบาทการทำหน้าที่กำกับดูแลการประมูลทีวีดิจิทัลเดือนต.ค. 56 ซึ่งอสมท.ต้องแข่งขันกับภาคเอกชน และการนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซจะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.56 โดยการออกประกาศให้มีการโอนย้ายเลขหมายไปยังค่ายมือถืออื่น และนำไปจัดสรรการประมูลใหม่ เป็นการสร้างความเสียหายต่อรายได้ของรัฐวิสาหกิจและรายได้นำส่งแผ่นดิน รวมทั้งคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรชองชาติตกไปอยู่ที่เอกชน
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) เปิดเผยภายหลังเข้าหารือร่วมกสทช.ว่า ให้กรอบระยะเวลาพิจารณาข้อคัดค้านดังกล่าวไม่เกิน 7 วัน โดยเบื้องต้นเป็นกระบวนการหารือเพื่อหาข้อยุติถึงผลกระทบขององค์กรรัฐวิสาหกิจ แต่หลังจากนี้จะยื่นขอให้ประธานวุฒิสภาถอดถอนกสทช. ฟ้องศาลปกครองเรื่องการใช้โครงข่ายร่วม การกำกับดูแลที่ไม่เป็นธรรมเป็นต้น นอกจากนี้ในวันที่ 23 ส.ค. 56 จะเปิดเวทีสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนต่อไป
ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช. นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการกสทช.ดูแลภารกิจยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร และนายสมบัติ ลีลาพตะ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน กฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ รักษาการรองเลขาธิการกสทช. ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ ร่วมกันเปิดเผยว่า จะรีบนำข้อร้องเรียนและคำคัดค้านของสรส. เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) และที่ประชุมกสทช. ตามลำดับ โดยยืนยันว่า กสทช.ได้ปฎิบัติตามกฎหมายพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่พ.ศ.2553 ที่กำหนดให้จัดสรรคลื่นความถี่โดยการประมูล และสร้างการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
http://www.dailynews.co.th/technology/226250
_________________________________
สรส.บุกกสทช.ร้องประมูลทีวี-คลื่น1800เมกะเฮิร์ตซจัดสรรใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 เวลา 12:47 น.
สมาชิก สรส. กว่า 200 คน ตบเท้าบุกกสทช. คัดค้านประมูลทีวีดิจิทัล คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซไปประมูลใหม่ สร้างเสียหายต่อรายได้ของแผ่นดิน ด้านกสทช.ผนึกกำลัง ยืนยันทำตามกฎหมายพ.ร.บ.จัดสรรความถี่ฯ
วันนี้(15ส.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท) ประกอบด้วย บริษัท อสมท จำกัด ( มหาชน) ,บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)จำนวนกว่า 200 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านขอให้กสทช. ยุติบทบาทการทำหน้าที่กำกับดูแลการประมูลทีวีดิจิทัลเดือนต.ค. 56 ซึ่งอสมท.ต้องแข่งขันกับภาคเอกชน และการนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซจะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.56 โดยการออกประกาศให้มีการโอนย้ายเลขหมายไปยังค่ายมือถืออื่น และนำไปจัดสรรการประมูลใหม่ เป็นการสร้างความเสียหายต่อรายได้ของรัฐวิสาหกิจและรายได้นำส่งแผ่นดิน รวมทั้งคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรชองชาติตกไปอยู่ที่เอกชน
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) เปิดเผยภายหลังเข้าหารือร่วมกสทช.ว่า ให้กรอบระยะเวลาพิจารณาข้อคัดค้านดังกล่าวไม่เกิน 7 วัน โดยเบื้องต้นเป็นกระบวนการหารือเพื่อหาข้อยุติถึงผลกระทบขององค์กรรัฐวิสาหกิจ แต่หลังจากนี้จะยื่นขอให้ประธานวุฒิสภาถอดถอนกสทช. ฟ้องศาลปกครองเรื่องการใช้โครงข่ายร่วม การกำกับดูแลที่ไม่เป็นธรรมเป็นต้น นอกจากนี้ในวันที่ 23 ส.ค. 56 จะเปิดเวทีสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนต่อไป
ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช. นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการกสทช.ดูแลภารกิจยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร และนายสมบัติ ลีลาพตะ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน กฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ รักษาการรองเลขาธิการกสทช. ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ ร่วมกันเปิดเผยว่า จะรีบนำข้อร้องเรียนและคำคัดค้านของสรส. เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) และที่ประชุมกสทช. ตามลำดับ โดยยืนยันว่า กสทช.ได้ปฎิบัติตามกฎหมายพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่พ.ศ.2553 ที่กำหนดให้จัดสรรคลื่นความถี่โดยการประมูล และสร้างการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
http://www.dailynews.co.th/technology/226250
ไม่มีความคิดเห็น: