Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 สิงหาคม 2556 รุกหนัก!! ICT เตรียมเจรจา (ยกสัญญาสัมปทานDTACดึงคลื่นกลับเหตุDTACใช้งานไม่หมด) โดยจะนำ1800ทำ4GโดยCATดูแลเอง และ เตรียมแจงนำ2300ทำ4GโดยTOTดูเอง

ประเด็นหลัก



 ไอซีทีเล็งถกปัญหา 1800 MHz กสทช.สัปดาห์หน้า หลัง ครม.เห็นชอบแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน กสท-ทีโอที หลังสัมปทานสิ้นสุด พร้อมเปรยแนวทางหารือ “ขอปรับปรุงคลื่น-ขอความถี่ดีแทคที่ไม่ใช้” ส่วน กสท จะเดินหน้าฟ้องก็เป็นการรักษาสิทธิ “ฐากร” ระบุไม่สนใครฟ้อง เตรียมประกาศร่างเยียวยา 1800 MHz จี้ กสท-ทรูมูฟ-ดีพีซี ส่งแผนดูแลลูกค้าใน 1 ปี
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเดินทางเข้าพบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือในประเด็นสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปในการดูแลลูกค้าในระบบที่มีกว่า 17 ล้านเลขหมายไม่ให้ถูกผลกระทบ
       
       ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงไอซีทีมี 2 ทางเลือกที่จะเข้าไปหารือกับ กสทช.คือ 1. การนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับการให้บริการระบบ 4G (LTE) โดยมี บริษัท กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ดูแลเช่นเดิม และ 2. การขอใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ไม่ได้ใช้งาน อยู่จำนวน 25 MHz ที่ดีแทคมีสัญญาสัมปทานถึงปี 2561


   เช่นเดียวกับทีโอที เจ้าของสัมปทานคลื่น 2300 MHz สามารถพัฒนาให้บริการระบบ 4G ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนั้นที่ประชุม ครม.จึงมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีเจรจากับ กสทช.เพื่อนำคลื่นดังกล่าวมาปรับปรุงใช้สำหรับการให้บริการระบบ 4G (LTE) ต่อไป




________________________________________

“อนุดิษฐ์” นัด กสทช.สัปดาห์หน้า ถกปัญหาความถี่



       ไอซีทีเล็งถกปัญหา 1800 MHz กสทช.สัปดาห์หน้า หลัง ครม.เห็นชอบแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน กสท-ทีโอที หลังสัมปทานสิ้นสุด พร้อมเปรยแนวทางหารือ “ขอปรับปรุงคลื่น-ขอความถี่ดีแทคที่ไม่ใช้” ส่วน กสท จะเดินหน้าฟ้องก็เป็นการรักษาสิทธิ “ฐากร” ระบุไม่สนใครฟ้อง เตรียมประกาศร่างเยียวยา 1800 MHz จี้ กสท-ทรูมูฟ-ดีพีซี ส่งแผนดูแลลูกค้าใน 1 ปี
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเดินทางเข้าพบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือในประเด็นสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปในการดูแลลูกค้าในระบบที่มีกว่า 17 ล้านเลขหมายไม่ให้ถูกผลกระทบ
       
       ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงไอซีทีมี 2 ทางเลือกที่จะเข้าไปหารือกับ กสทช.คือ 1. การนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับการให้บริการระบบ 4G (LTE) โดยมี บริษัท กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ดูแลเช่นเดิม และ 2. การขอใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ไม่ได้ใช้งาน อยู่จำนวน 25 MHz ที่ดีแทคมีสัญญาสัมปทานถึงปี 2561
       
       แต่ในขณะเดียวกันทาง กสทช.ก็ต้องการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีการประมูลเช่นเดียวกันในปลายปีหน้า โดยล่าสุดกำลังจะนำร่างประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายในสัปดาห์หน้าแล้ว
       
       “ไม่ว่าจะเป็นการนำความถี่มาปรับปรุงหรือเปิดประมูลความถี่ก็ตามขึ้นอยู่กับ กสทช.เพราะมีอำนาจตามกฎหมาย แต่ก็ควรคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง ดังนั้น หากการเจรจาระหว่างไอซีทีกับ กสทช.ยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนแล้วผลสรุปก็ต้องออกมาเพื่อประชาชนแน่นอน”
       
       ส่วนกรณีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคมจะเดินหน้าฟ้องร้องภายหลัง กสทช.ออกประกาศเยียวยา 1800 MHz แล้วนั้นถือเป็นเรื่องการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิของการบริหารจัดการของ กสท เพราะบางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งเชื่อว่า กสทช.ก็เข้าใจ เนื่องจากหาก กสท นิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลยอาจถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้ภายหลัง
       
       ทั้งนี้ การที่กระทรวงไอซีทีต้องเข้าหารือกับ กสทช.เนื่องจากเมื่อวันที่ 20 ส.ค.คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนบริหารจัดการทรัพย์สินของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หลังจากสัญญาสัมปทานระบบ 2G ครบกำหนด โดยเฉพาะของบริษัท กสท โทรคมนาคม ระบบคลื่น 1800 MHz จะหมดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย. 56 จำนวน 13 ล้านหมายเลข และจะหมดสัญญาสัมปทานของดีแทคในปี 2561 เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการหมดสัญญาสัมปทาน จึงต้องการเดินหน้านำคลื่นดังกล่าวมาปรับปรุงยกระดับเป็นระบบ 4G (LTE) ให้บริการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงไร้สาย เพราะ กสท มีแผนพัฒนาโครงข่ายพร้อมให้บริการถึง 14,000 สถานี มูลค่า 27,770 ล้านบาท ในช่วงปี 2557-2563 ครอบคลุมให้บริการประชาชนถึงร้อยละ 95
       
       เช่นเดียวกับทีโอที เจ้าของสัมปทานคลื่น 2300 MHz สามารถพัฒนาให้บริการระบบ 4G ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนั้นที่ประชุม ครม.จึงมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีเจรจากับ กสทช.เพื่อนำคลื่นดังกล่าวมาปรับปรุงใช้สำหรับการให้บริการระบบ 4G (LTE) ต่อไป
       
       ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า น.อ.อนุดิษฐ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีได้ติดต่อขอเข้าพบ กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าวแล้ว โดยคาดว่าจะเข้าหารือได้ภายในสัปดาห์หน้า
       
       ขณะเดียวกัน กสทช.ได้เชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม, บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือดีพีซี เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือ สัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 โดยคาดว่าจะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ราวสัปดาห์หน้า ซึ่งหลังจากนั้นผู้ให้บริการทั้ง 3 รายจะต้องจัดทำแผนการให้บริการลูกค้าในช่วงมาตรการเยียวยา ระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการ 1 ปี เพื่อนำเสนอต่อบอร์ด กทค.ภายใน 15 วันนับจากประกาศฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ โดยประเด็นที่ผู้ประกอบการมีการสอบถามมากที่สุดในการหารือคือประเด็นการจัดทำระบบการชำระเงิน (บิลลิ่ง) ว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ และออกบิลลิ่ง ซึ่งสำนักงาน กสทช.เตรียมทำหนังสือเพื่อสอบถามไปยังกรมสรรพากรว่าดำเนินการเช่นไรในกรณีดังกล่าว
       
       “ระหว่างการหารือ กสท ได้สอบถามเรื่องการนำส่งรายได้ภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ที่เดิมจะต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้แก่ กสท จำนวน 30% ของรายได้รวมของผู้ประกอบการเอกชน ซึ่งในปี 2555 กสท มีรายได้จากสัมปทาน ราว 6,000 ล้านบาท แต่หลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว ในวันที่ 15 ก.ย. 56 นี้ กสท จะเป็นเพียงผู้ให้เช่าโครงข่ายเท่านั้น ดังนั้น หาก กสท ไม่เห็นด้วย และจะดำเนินการฟ้องร้อง กสทช.ก็สามารถดำเนินการได้”
       
       อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนการให้บริการลูกค้าในช่วง 1 ปีนั้น กสท สามารถส่งแผนให้ กสทช.โดยตรง หรือจะทำแผนการให้บริการร่วมกับทรูมูฟ และดีพีซีก็ได้ โดยรายละเอียดของแผนการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดประกอบไปด้วย 1. ข้อมูลผู้ใช้บริการ จำนวนคงค้างในระบบ 2. แผนงานประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 3. แผนงานส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (นัมเบอร์พอร์ตบิลิตี) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ และเป็นไปอย่างทั่วถึง และ 4. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ และภาระที่เกิดขึ้นจากการที่ต้องรักษาคุณภาพมาตรฐานในขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการลดลงตลอดเวลา
       
       นอกจากนี้ยังได้รับรายงานว่าผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือได้เริ่มประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนได้รับทราบหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยทรูมูฟได้ส่งข้อความสั้น (SMS) แจ้งลูกค้าตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค. 2556 โดยคาดว่าจะสามารถส่งข้อความแจ้งลูกค้าได้ครบทั้ง 17 ล้านเลขหมายราว 17-18 วัน โดยมีศูนย์ call center ให้บริการสอบถามได้ที่ 0-2647-9999 โดยไม่เสียค่าบริการ ส่วนดีพีซีได้แจ้งว่า ส่งข้อความแจ้งลูกค้ามาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 1175 โดยไม่เสียค่าบริการ

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000104044

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.