Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 เมษายน 2557 ททบ.5.บุญญฤทธิ์ ระบุการลงทุน 2 โครงข่ายไว้ราว 2,000 ล้านบาท ค่าเช่าเสาส่ง-สถานีเสริมของ TOT CAT รวมถึง ThaiPBS ปีละ200 ล้านบาท รายได้ราว 800 ล้านบาทต่อปี


ประเด็นหลัก


ด้าน พล.ต.บุญญฤทธิ์ วิสมล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) เปิดเผยว่า ททบ.เตรียมงบประมาณในการลงทุน 2 โครงข่ายไว้ราว 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1,416 ล้านบาท สำหรับวางโครงข่ายในปีแรกให้ครอบคลุม 67% ของประชากรที่เหลือสำหรับวางโครงข่ายให้ครอบคลุม 80% ในปีที่ 2 และครอบคลุม 95% ในปี 2559 เร็วกว่าเกณฑ์ของ กสทช. 1 ปี เพื่อก้าวเป็นผู้นำโครงข่ายทีวีดิจิทัล

"เงิน 2,000 ล้านบาทสำหรับการลงทุนวางโครงข่ายและค่าดำเนินการ 4 ปีแต่ละปีจะมีค่าดำเนินการ อาทิ ค่าเช่าเสาส่ง-สถานีเสริมของ บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม รวมถึงไทยพีบีเอส ปีละ200 ล้านบาท ส่วนรายได้ค่าเช่าโครงข่ายจะเริ่มรับรู้หลัง กสทช.กำหนดวันออกอากาศอย่างเป็นทางการ โดยค่าเช่าคิดตามสัดส่วนของเสาส่งและพื้นที่การออกอากาศ"

ขณะที่การปรับผังรายการ ททบ.5 ให้เป็นทีวีสาธารณะจะเริ่มทยอยปรับ และเมื่อมีการกำหนดให้หารายได้ได้เท่าที่เพียงพอในการบริหารงาน รวมถึงมีทีวีอีก 24 ช่องมาเฉลี่ยฐานคนดูจะทำให้รายได้ในส่วนช่องรายการจะลดลงประมาณ 30% จากปัจจุบัน 1,800 ล้านบาทต่อปี ส่วนรายได้จากค่าเช่าโครงข่ายน่าจะอยู่ที่ราว 800 ล้านบาทต่อปีหลังโครงข่ายครอบคลุม

______________________________________


ททบ.ฮึดชิงผู้นำโครงข่ายชี้ช่องรายการแข่งดุปีครึ่งรู้ใครรอด


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กดปุ่มทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัล "ททบ." ควัก 2 พันล้านปูพรมโครงข่าย ขึ้นพรึ่บภายในปีแรกคลุมพื้นที่ 67% ของประชากรก่อนขยับเป็น 95% ในปีสองปี ตั้งเป้ายึดแชมป์ผู้นำโครงข่าย หวั่นแข่งดุ-ต้นทุนสูงบีบช่องรายการอยู่ไม่ได้ ทั้งเตรียมขาย "Set-Top-Box" ราคาต่ำกว่าทุนให้กลุ่มลูกค้าภาครัฐ ฟาก "กสทช." เตือนผู้บริโภคซื้อระวังโดนย้อมแมวหลอกขายโทรทัศน์



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1-24 เม.ย.นี้จะเป็นช่วงเวลาของการทดลองออกอากาศของโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยผู้ให้บริการโครงข่าย (มัลติเพล็กเซอร์) จะดึงสัญญาณจากช่องรายการที่มีความพร้อมมาออกอากาศในกรุงเทพฯ นครราชสีมา เชียงใหม่ และสงขลา ก่อนที่จะมีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการให้ผู้ชนะประมูลทีวีดิจิทัลช่องบริการธุรกิจภายในวันที่ 25 เม.ย.นี้

และบริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัทในเครือไทยคมจะดำเนินการเชื่อมต่อสัญญาณไปยังระบบดาวเทียมเพื่อเผยแพร่ตามกฎมัสต์แครี่เพื่อให้ทั้งเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถรับชมรายการระบบทีวีดิจิทัลได้ (ภาพความละเอียดมาตรฐาน SD) ด้วย

"ในช่วงทดลองออกอากาศจะยังมีช่องรายการไม่ครบ 24 ช่อง จะครบภายใน 25 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.ต้องเริ่มออกอากาศ ส่วนพื้นที่ออกอากาศจะทยอยขยายไปจนครบ 11 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ นครราชสีมา เชียงใหม่ สงขลา อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ระยอง สิงห์บุรี สุโขทัย ขอนแก่น อุดรธานี ภายในเดือน มิ.ย.นี้ และให้ครอบคลุม 80% ของประชากรภายในสิ้นปี 2557 เพิ่มเป็น 90% ภายใน มิ.ย. 2558"

นายฐากรกล่าวด้วยว่า ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อทีวีเครื่องใหม่เพื่อรับชมทีวีดิจิทัลให้ระวังการนำทีวีจอแบนรุ่นเก่ามาหลอกขายแปะสติ๊กเกอร์ว่า ดูทีวีดิจิทัลได้แต่มีดอกจันตัวเล็ก ๆ ว่า ต้องดูผ่าน Set-Top-Box ทำให้ต้องเสียเงิน 2 ต่อในการซื้อทั้งทีวีและ Set-Top-Box

ด้าน พล.ต.บุญญฤทธิ์ วิสมล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) เปิดเผยว่า ททบ.เตรียมงบประมาณในการลงทุน 2 โครงข่ายไว้ราว 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1,416 ล้านบาท สำหรับวางโครงข่ายในปีแรกให้ครอบคลุม 67% ของประชากรที่เหลือสำหรับวางโครงข่ายให้ครอบคลุม 80% ในปีที่ 2 และครอบคลุม 95% ในปี 2559 เร็วกว่าเกณฑ์ของ กสทช. 1 ปี เพื่อก้าวเป็นผู้นำโครงข่ายทีวีดิจิทัล

"เงิน 2,000 ล้านบาทสำหรับการลงทุนวางโครงข่ายและค่าดำเนินการ 4 ปีแต่ละปีจะมีค่าดำเนินการ อาทิ ค่าเช่าเสาส่ง-สถานีเสริมของ บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม รวมถึงไทยพีบีเอส ปีละ200 ล้านบาท ส่วนรายได้ค่าเช่าโครงข่ายจะเริ่มรับรู้หลัง กสทช.กำหนดวันออกอากาศอย่างเป็นทางการ โดยค่าเช่าคิดตามสัดส่วนของเสาส่งและพื้นที่การออกอากาศ"

ขณะที่การปรับผังรายการ ททบ.5 ให้เป็นทีวีสาธารณะจะเริ่มทยอยปรับ และเมื่อมีการกำหนดให้หารายได้ได้เท่าที่เพียงพอในการบริหารงาน รวมถึงมีทีวีอีก 24 ช่องมาเฉลี่ยฐานคนดูจะทำให้รายได้ในส่วนช่องรายการจะลดลงประมาณ 30% จากปัจจุบัน 1,800 ล้านบาทต่อปี ส่วนรายได้จากค่าเช่าโครงข่ายน่าจะอยู่ที่ราว 800 ล้านบาทต่อปีหลังโครงข่ายครอบคลุม

"การเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลแม้ทำให้เราต้องสิ้นสุดสัมปทานของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เร็วขึ้น จาก 8 ปี เหลือ 5 ปี และรายได้จาก ททบ.5 จะลดลง แต่ก็มีรายได้โครงข่ายที่เป็นรายได้ระยะยาวเข้ามา แต่ด้วยเงินลงทุนช่องทีวีดิจิทัลที่ต้องใช้เงินเยอะคาดว่าอีกราวปีครึ่งอาจได้เห็นช่องรายการเริ่มล้มหายตายจากในฐานะที่เป็นเจ้าของโครงข่ายก็ต้องคิดแผนรับมือไว้ด้วย"

ส่วนการขายกล่องแปลงสัญญาณ (Set-Top-Box) สำหรับรับชมทีวีดิจิทัลนั้นกำลังพิจารณาความเหมาะสม โดยจะขายราคาต่ำกว่าท้องตลาดให้กลุ่มลูกค้าภาครัฐ อาทิ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ เท่านั้น เพื่อขยายฐานผู้ชมไม่ได้เน้นหากำไร คาดว่าจะได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการหรือไม่ภายในกลางเดือนนี้

นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัลอีกรายกล่าวว่า อสมท พร้อมทดลองออกอากาศแล้วใน 2 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ คาดว่าไม่เกิน 5 เม.ย.จะออกอากาศได้ครบ 4 จังหวัด ตามที่ กสทช.กำหนด และพร้อมขยายโครงข่ายมากกว่าเกณฑ์ 11 จังหวัดของ กสทช.ด้วย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1396932683

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.