Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2557 กสทช.นที ระบุ "คูปองเงินสดส่วนลด" กล่อง set top box ส่งถึงแต่ละบ้านจะระบุ หมายเลขประจำบ้านไว้ และผู้ที่จะนำคูปองไปแลกซื้อได้ต้องเป็นคนที่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน นั้น ๆ


ประเด็นหลัก


คูปองส่ง "ไปรษณีย์"Ž ถึงทุกบ้าน

"คูปองเงินสดส่วนลด" ส่งถึงแต่ละบ้านจะระบุ หมายเลขประจำบ้านไว้ และผู้ที่จะนำคูปองไปแลกซื้อได้ต้องเป็นคนที่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน นั้น ๆ ไม่ใช่ว่าใครก็ได้จะถือไปใช้เป็นส่วนลดในการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้

"พ.อ.นที" ย้ำว่า ต้องเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามหมายเลขที่ระบุในคูปอง (คูปองมีอายุ 6 เดือนนับจากวันที่ได้รับ) หมายความว่า ถ้าไม่นำไปแลกซื้อภายใน 6 เดือน เท่ากับสละสิทธิ์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนไปสู่ระบบทีวีดิจิทัลโดยเร็ว

นำ "คูปองเงินสดส่วนลด" พร้อมบัตรประชาชนมาแสดงเพื่อแลกซื้อในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะมีป้ายแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน โดยร้านค้าเหล่านี้ต้องมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและต้องมีคุณสมบัติเบื้อง ต้นคือ เป็นนิติบุคคล มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบของ กสทช.และธนาคารได้แบบเรียลไทม์ เพราะเมื่อประชาชนนำคูปองไปแลกซื้อ พนักงานประจำร้านค้าต้องดำเนินการกรอกข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ตั้งแต่หมายเลขคูปอง, ข้อมูลของผู้นำคูปองมาใช้งาน และข้อมูลอุปกรณ์ที่ต้องการแลกซื้อ หากข้อมูลทั้งหมดถูกต้องตรงกับฐานข้อมูลกลางจะใช้สิทธิ์ได้ เมื่อบันทึกการใช้สิทธิ์แล้วจะตัดหมายเลขประจำบ้านออกจากระบบทันที เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ซ้ำ

เข้มทุกขั้นตอนป้องกันสวมสิทธิ์

"กระบวน การของ กสทช.ป้องกันทั้งการสวมสิทธิ์ที่ทำได้ยาก เนื่องจากมีการตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ใช้คูปองกับฐานข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎร เช่นกันกับการปลอมแปลงคูปองก็ทำได้ยากมาก เพราะมีการกำหนดรหัสประจำบ้านใส่ลงในคูปอง การพิมพ์ยังเป็นระดับเดียวกับการพิมพ์ธนบัตรจึงปลอมได้ยากมาก"

อย่าง ไรก็ตาม บรรดากล่องหรืออุปกรณ์ที่วางขายในตลาดปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิทัล หรือเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีระบบดิจิทัลในตัวไม่สามารถนำคูปองส่วนลดไปใช้ แลกซื้อได้ เพราะทั้งร้านค้าและผู้ผลิตต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการก่อน ซึ่งต้องรอ กสทช.เปิดให้ลงทะเบียน

โดยร้านค้า นอกจากเป็นจุดแลกซื้อแล้วยังต้องเป็นจุดบริการหลังการขายด้วยและในการใช้ สิทธิ์แลกซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องบันทึกข้อมูลของเลขคูปอง เลขรหัสอุปกรณ์ พร้อมส่งข้อมูลไปที่ธนาคารกรุงไทย โดยระบบจะตัดยอดการแลกเปลี่ยนคูปองทุกวัน และโอนเงินให้ร้านค้าภายใน 7 วัน

"การ แจกคูปองเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างอังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่นก็แจกคูปอง ประเทศที่ซื้อกล่องแจกติดหล่มทุกประเทศ ไม่ว่าจะอินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ แค่กำหนดสเป็กก็ใช้เวลา 2-3 ปี การแจกคูปองเปรียบได้กับการแจกเงินสด ไม่แทรกแซงกลไกตลาด ให้อำนาจในการเลือกซื้อเป็นของประชาชน และยังหลีกเลี่ยงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การรับประกันและการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการทุจริตได้"

______________________________________



Step by Step คูปอง "ทีวีดิจิทัล" ส่วนลดเงินสด "บ้านละพัน" ไปรษณีย์ส่งถึงที่

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หลังโหมโรงทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัลมาตั้งแต่ เม.ย.ที่ผ่านมา ปลุกกระแสความตื่นตัวของผู้บริโภคกับทีวี ช่องใหม่ ทำให้ความสนใจใคร่รู้ของประชาชนเกี่ยวกับการแจกคูปองส่วนลดของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แจกเมื่อไร อย่างไร มูลค่าเท่าไร นำไปแลกซื้ออะไรได้บ้าง และอีกสารพัดคำถามในใจผู้บริโภค

"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) อธิบายขั้นตอนพร้อมย้ำว่า "คูปองส่วนลด" เปรียบได้กับ "เงินสด" จึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เริ่มจากกระบวนการแจกที่ส่งทาง "ไปรษณีย์ลงทะเบียน" ไปยังแต่ละครัวเรือนตามพื้นที่ความครอบคลุมของโครงข่ายทีวีดิจิทัล (ปีแรก 11 ล้านครัวเรือน)

คูปองส่ง "ไปรษณีย์"Ž ถึงทุกบ้าน

"คูปองเงินสดส่วนลด" ส่งถึงแต่ละบ้านจะระบุ หมายเลขประจำบ้านไว้ และผู้ที่จะนำคูปองไปแลกซื้อได้ต้องเป็นคนที่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านนั้น ๆ ไม่ใช่ว่าใครก็ได้จะถือไปใช้เป็นส่วนลดในการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้

"พ.อ.นที" ย้ำว่า ต้องเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามหมายเลขที่ระบุในคูปอง (คูปองมีอายุ 6 เดือนนับจากวันที่ได้รับ) หมายความว่า ถ้าไม่นำไปแลกซื้อภายใน 6 เดือน เท่ากับสละสิทธิ์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนไปสู่ระบบทีวีดิจิทัลโดยเร็ว

นำ "คูปองเงินสดส่วนลด" พร้อมบัตรประชาชนมาแสดงเพื่อแลกซื้อในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะมีป้ายแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน โดยร้านค้าเหล่านี้ต้องมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ เป็นนิติบุคคล มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบของ กสทช.และธนาคารได้แบบเรียลไทม์ เพราะเมื่อประชาชนนำคูปองไปแลกซื้อ พนักงานประจำร้านค้าต้องดำเนินการกรอกข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ตั้งแต่หมายเลขคูปอง, ข้อมูลของผู้นำคูปองมาใช้งาน และข้อมูลอุปกรณ์ที่ต้องการแลกซื้อ หากข้อมูลทั้งหมดถูกต้องตรงกับฐานข้อมูลกลางจะใช้สิทธิ์ได้ เมื่อบันทึกการใช้สิทธิ์แล้วจะตัดหมายเลขประจำบ้านออกจากระบบทันที เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ซ้ำ

เข้มทุกขั้นตอนป้องกันสวมสิทธิ์

"กระบวนการของ กสทช.ป้องกันทั้งการสวมสิทธิ์ที่ทำได้ยาก เนื่องจากมีการตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ใช้คูปองกับฐานข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎร เช่นกันกับการปลอมแปลงคูปองก็ทำได้ยากมาก เพราะมีการกำหนดรหัสประจำบ้านใส่ลงในคูปอง การพิมพ์ยังเป็นระดับเดียวกับการพิมพ์ธนบัตรจึงปลอมได้ยากมาก"

อย่างไรก็ตาม บรรดากล่องหรืออุปกรณ์ที่วางขายในตลาดปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิทัล หรือเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีระบบดิจิทัลในตัวไม่สามารถนำคูปองส่วนลดไปใช้แลกซื้อได้ เพราะทั้งร้านค้าและผู้ผลิตต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการก่อน ซึ่งต้องรอ กสทช.เปิดให้ลงทะเบียน

โดยร้านค้า นอกจากเป็นจุดแลกซื้อแล้วยังต้องเป็นจุดบริการหลังการขายด้วยและในการใช้สิทธิ์แลกซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องบันทึกข้อมูลของเลขคูปอง เลขรหัสอุปกรณ์ พร้อมส่งข้อมูลไปที่ธนาคารกรุงไทย โดยระบบจะตัดยอดการแลกเปลี่ยนคูปองทุกวัน และโอนเงินให้ร้านค้าภายใน 7 วัน

"การแจกคูปองเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างอังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่นก็แจกคูปอง ประเทศที่ซื้อกล่องแจกติดหล่มทุกประเทศ ไม่ว่าจะอินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ แค่กำหนดสเป็กก็ใช้เวลา 2-3 ปี การแจกคูปองเปรียบได้กับการแจกเงินสด ไม่แทรกแซงกลไกตลาด ให้อำนาจในการเลือกซื้อเป็นของประชาชน และยังหลีกเลี่ยงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การรับประกันและการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการทุจริตได้"

แลกซื้ออุปกรณ์ได้ 4 แบบ

"กสทช." เปิดทางเลือกให้ประชาชนเลือกซื้ออุปกรณ์ได้ 4 แบบ คือ 1.โทรทัศน์ระบบดิจิทัล DVB-T2 ในตัว 2.กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลและเสาภายในอาคาร (Active Antenna) 3.กล่องทีวีดาวเทียมที่รับชมช่องความคมชัดสูง (HD) ได้ หรือกล่อง DVB-S2 (ไม่รวมจานดาวเทียม) และ 4.กล่องเคเบิลทีวี HD (DVB-C MPEG4) กล่องทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีที่ใช้คูปองได้ ช่องรายการทีวีดิจิทัลต้องอยู่ที่ช่องเลข 1-36 ช่องรายการที่เหลือต้องเป็นรายการที่ไม่ได้หารายได้จากการโฆษณา (รายการแบบบอกรับสมาชิก : Pay TV) และต้องเป็นกล่องแบบขายขาด แม้ลูกค้าไม่ได้จ่ายค่าบริการรายเดือนแล้วก็ต้องดูทีวีดิจิทัลช่อง 1-36 ได้

"พ.อ.นที" อธิบายถึงเหตุผลที่ให้นำคูปองส่วนลดไปแลกซื้อกล่องทีวีดาวเทียและเคเบิลทีวีได้ เนื่องจากประชาชนมากกว่า 60% ในปัจจุบันดูทีวีผ่านระบบดาวเทียมและเคเบิลอยู่แล้ว อีกทั้ง กสทช.ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือนิสัยในการดูทีวีของผู้บริโภค แต่ต้องการให้ทุกกลุ่มได้ประโยชน์จากคูปองส่วนลดได้ตามที่ตนเองต้องการ

กรณีที่เลือกดูผ่านทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีก็จะได้รับบริการที่ดีขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่ดูระบบ HD ได้ และได้รับการบริการที่ทั่วถึงเนื่องจากโครงข่ายภาคพื้นดินไม่สามารถจะขยายให้ครอบคลุมทั้ง 100% เพราะเป็นการลงทุนที่เกินความจำเป็น ในหลาย ๆ ประเทศยังใช้ระบบดาวเทียมเพื่อให้บริการทีวีอย่างทั่วถึง ซึ่งการแจกคูปองก็จะสามารถทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้ทั่วถึงเช่นกัน

ที่สำคัญการแจกคูปองส่วนลดไม่เป็นการทำลายกลไกตลาดหรือธุรกิจเดิม การให้บริการบอกรับสมาชิกก็มุ่งขายคอนเทนต์ได้ ส่วนผู้ให้บริการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีก็ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านด้วยการรับชมคุณภาพระดับ HD

รับประกันคุณภาพ 3 ปี

ขณะที่การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ "กสทช." ใช้วิธีกำหนดให้ผู้ผลิต และผู้นำเข้าต้องรับประกันคุณภาพสินค้าเป็นเวลา 3 ปี กรณีกล่องรับสัญญาณหรือเซตท็อปบ็อกซ์เสียต้องเปลี่ยนกล่องใหม่ทันที กรณีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล iDTV รับประกัน 3 ปี เช่นกัน โดยซ่อมให้ฟรีหากเกิดจากความบกพร่องของอุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิทัล

ฉะนั้นผู้ผลิตและผู้นำเข้านอกจากต้องมาขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับ "กสทช." แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องวางแบงก์การันตีเป็นเงิน 5% ของมูลค่าอุปกรณ์ที่นำมาเข้าร่วมโครงการในแต่ละลอต เพื่อป้องกันการขายสินค้าแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับประกัน โดย "กสทช." จะคืนแบงก์การันตีให้เมื่อครบกำหนดระยะรับประกันสินค้า

"ไม่ว่าร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายจะปิดไปแล้ว แต่อุปกรณ์ยี่ห้อไหนรุ่นไหนอยู่ในระยะเวลารับประกันจะต้องได้รับการดูแลจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ซึ่ง กสทช.ยึดแบงก์การันตีไว้เป็นหลักประกัน"

ทำไมต้อง 1,000 บาท

สำหรับมูลค่าคูปอง "พ.อ.นที" กล่าวว่า "เมื่อคูปองเปรียบได้กับเงินสด ก็ต้องคิดว่า มีเงินเท่าไรที่จะแจกให้ประชาชนได้ ข้อมูลราคาขั้นต่ำต้องเป็นข้อมูลราคาปลีกไม่ใช่ราคาส่ง เพราะไม่ได้ต้องการแทรกแซงตลาด ไม่ใช่คิดว่า ร้านค้าส่งได้เท่าไรต้องตัดราคาเหลือเท่าไร แต่ดูจากราคาปลีก ปัจจุบันเซตท็อป บ็อกซ์ T2 ราคาระหว่าง 1,500-2,000 บาท ถ้าเป็นไฮเดฟจะอยู่ที่ 1,700-2,500 บาท ถ้าลดลง 30% จากการแข่งขัน บวกกับรับประกัน 3 ปี ก็น่าจะอยู่ที่ 1,200 บาท"

มูลค่าคูปองที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านได้จึงอยู่ที่ 1,000-1,200 บาท แต่เพื่อให้มีการแจกจ่ายคูปองให้ประชาชนอย่างทั่วถึง หาก 1,200 บาท ปีแรกจะแจกได้ 10 ล้านครัวเรือน แต่ถ้า 1,000 บาท จะแจกได้ 12 ล้านครัวเรือน

"เสียงส่วนใหญ่ของ กสท.จึงเห็นด้วยกับ 1,000 บาท จากปัจจัยจำนวนครัวเรือนที่จะได้รับการสนับสนุน ซึ่งแมตช์กับการขยายโครงข่ายในปีแรกพอดี สำหรับกำหนดการแจกคูปองเดิมต้องการให้ทัน ก.ค.นี้ แต่ กสท.ไม่ใช่คนสุดท้าย เราเป็นจุดเริ่มต้น ต้องรอให้กรรมการกองทุนฯพิจารณาอีกรอบ 27 พ.ค.นี้ และเข้าบอร์ด กสทช.เราเองต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อสร้างกระบวนการตรวจสอบทุกขั้นตอนอีก 2-3 เดือน"

โอกาสที่จะทัน ก.ค.จึงยากมาก แต่จะเป็นในเดือน ส.ค. หรือเมื่อไรแน่ยังต้องรอลุ้นกันต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400213635

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.