20 พฤษภาคม 2557 Apple จูบปาก Google จบทุกคดี แบ่งปันสิทธิบัตรเทคโนโลยีของตัวเองแก่กันและกัน (ยกเว้น การฟ้องร้องระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง (Samsung) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รายใหญ่ของโลก )
ประเด็นหลัก
แถลงการณ์ระบุชัดเจนว่าการยอมความนี้ไม่ได้หมายความว่าทั้งคู่จะยอมจับมือแบ่งปันสิทธิบัตรเทคโนโลยีของตัวเองแก่กันและกัน และที่สำคัญคือแม้การยุติศึกครั้งนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับไอโฟน (iPhone) และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) แต่การยอมความนี้จะไม่รวมการฟ้องร้องระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง (Samsung) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รายใหญ่ของโลก การระบุเช่นนี้สะท้อนว่าทั้งคู่จะยังแข่งขันกันพัฒนาสิทธิบัตรเทคโนโลยีของตัวเอง ทั้งในบริการแผนที่ (mobile maps), บริการเพลงออนไลน์ (online music) และอื่นๆต่อไป
เรื่องนี้ อัล ฮิลวา (Al Hilwa) นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยตลาดไอดีซี เชื่อว่านี่คือก้าวแรกที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ เพราะแม้การยอมความที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องเฉพาะเทคโนโลยีพื้นฐาน แต่สิ่งใดก็ตามที่ทำให้ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ 2 ระบบสามารถทำงานร่วมกันได้ ย่อมทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานข้ามระบบได้ง่ายขึ้น
ในมุมสิทธิบัตรที่ไม่ใช่เทคโนโลยีพื้นฐาน นักวิเคราะห์เชื่อว่าแอปเปิลจะไม่ยอมอ่อนข้อแก่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รายใหญ่ของโลกอย่างซัมซุง โดยโลกยังได้เห็นความพยายามของแอปเปิลในการไล่ฟ้องซัมซุงชนิดไม่ลดละ บนเป้าหมายสูงสุดคือการขอให้ศาลสั่งห้ามซัมซุง ไม่ให้มีสิทธิจำหน่ายสินค้าที่พบว่าละเมิดสิทธิบัตรแอปเปิลในตลาดสหรัฐฯ
______________________________________
Apple จูบปาก Google จบทุกคดี แล้วอย่างไรต่อ?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้คือการร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงรูปแบบระบบสิทธิบัตรเทคโนโลยีของทั้ง 2 บริษัท
แอปเปิล (Apple) และกูเกิล (Google) ประกาศตกลงยกเลิกกระบวนการฟ้องร้องทุกคดีระหว่างทั้ง 2 บริษัทเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้คือการร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงรูปแบบระบบสิทธิบัตรเทคโนโลยีของทั้ง 2 บริษัท ถือเป็นมิติใหม่ในวงการสมาร์ทโฟนโลกที่น่าจับตา แม้ในแถลงการณ์จะย้ำชัดเจนว่า การยอมความครั้งนี้ไม่ได้แปลว่าทั้งคู่จะแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรเทคโนโลยีอย่างเสรีก็ตาม
16 พฤษภาคม 2014 คือวันที่โลกบันทึกว่าเจ้าพ่อโลกไอทีอย่างแอปเปิลและกูเกิลตกลงยุติการฟ้องร้องด้านสิทธิบัตรเทคโนโลยีทุกคดีที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ตุลาคมปี 2010 การฟ้องร้องในครั้งนั้นเปิดฉากโดยหน่วยธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโมโตโรลา (Motorola Mobility) ที่ตัดสินใจยื่นฟ้องในวันที่กูเกิลยังไม่ประกาศซื้อกิจการ ซึ่งเมื่อกูเกิลตัดสินใจซื้อกิจการ Motorola Mobility ในปี 2012 ด้วยเงิน 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สิทธิบัตรเทคโนโลยีทั้งหมดของ Motorola Mobility จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกูเกิล ทำให้กูเกิลกลายเป็นคู่กรณีต่อรองกับแอปเปิลในปัจจุบัน เนื่องจากกระบวนการขาย Motorola Mobility ให้กับเจ้าพ่อแดนมังกรอย่างเลอโนโว (Lenovo) ด้วยมูลค่า 2.91 พันล้านเหรียญยังไม่เสร็จสมบูรณ์
ถามว่าการยอมความระหว่าง 2 บริษัทเกิดขึ้นเพราะเหตุผลใด หนึ่งในคำตอบคือการฟ้องร้องที่ยืดเยื้อตลอด 4 ปีนั้นไม่มีใครเป็นผู้ชนะ เนื่องจาก Motorola Mobility ขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีโทรศัพท์ของตัวเอง แต่แอปเปิลฟ้องกลับโดยยกเหตุผลว่ารายการสิทธิบัตรในสำนวนฟ้องนั้นไม่สมเหตุสมผล เพราะเทคโนโลยีเหล่านั้นล้วนเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสมาร์ทโฟน ทำให้ไม่ควรถือเป็นสิทธิบัตรเทคโนโลยีของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจออกแถลงการณ์ร่วมกันว่าจะถอนฟ้องทุกคดี (คดีขยายวงออกไปครอบคลุมศาลอเมริกันมากกว่า 12 แห่ง ตลอดเวลา 4 ปี)
จุดที่น่าสนใจคือ ทั้งแอปเปิลและกูเกิลระบุชัดเจนในแถลงการณ์ว่าจะร่วมกันทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบสิทธิบัตรเทคโนโลยีในบางเนื้อหา การเปลี่ยนแปลงนี้คือการประชุมร่วมกันว่าสิทธิบัตรเทคโนโลยีใดที่จะถูกจัดหมวดเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทั้ง 2 สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีการฟ้องร้องใดๆตามมา
Apple จูบปาก Google จบทุกคดี แล้วอย่างไรต่อ?
แถลงการณ์ระบุชัดเจนว่าการยอมความนี้ไม่ได้หมายความว่าทั้งคู่จะยอมจับมือแบ่งปันสิทธิบัตรเทคโนโลยีของตัวเองแก่กันและกัน และที่สำคัญคือแม้การยุติศึกครั้งนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับไอโฟน (iPhone) และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) แต่การยอมความนี้จะไม่รวมการฟ้องร้องระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง (Samsung) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รายใหญ่ของโลก การระบุเช่นนี้สะท้อนว่าทั้งคู่จะยังแข่งขันกันพัฒนาสิทธิบัตรเทคโนโลยีของตัวเอง ทั้งในบริการแผนที่ (mobile maps), บริการเพลงออนไลน์ (online music) และอื่นๆต่อไป
เรื่องนี้ อัล ฮิลวา (Al Hilwa) นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยตลาดไอดีซี เชื่อว่านี่คือก้าวแรกที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ เพราะแม้การยอมความที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องเฉพาะเทคโนโลยีพื้นฐาน แต่สิ่งใดก็ตามที่ทำให้ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ 2 ระบบสามารถทำงานร่วมกันได้ ย่อมทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานข้ามระบบได้ง่ายขึ้น
ในมุมสิทธิบัตรที่ไม่ใช่เทคโนโลยีพื้นฐาน นักวิเคราะห์เชื่อว่าแอปเปิลจะไม่ยอมอ่อนข้อแก่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รายใหญ่ของโลกอย่างซัมซุง โดยโลกยังได้เห็นความพยายามของแอปเปิลในการไล่ฟ้องซัมซุงชนิดไม่ลดละ บนเป้าหมายสูงสุดคือการขอให้ศาลสั่งห้ามซัมซุง ไม่ให้มีสิทธิจำหน่ายสินค้าที่พบว่าละเมิดสิทธิบัตรแอปเปิลในตลาดสหรัฐฯ
Apple จูบปาก Google จบทุกคดี แล้วอย่างไรต่อ?
การพิจารณาคดีศาลอุทธรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม พบว่าแอปเปิลสามารถชนะคดีโดยศาลสั่งให้ซัมซุงชำระค่าเสียหายให้แอปเปิลมูลค่ามากกว่า 120 ล้านเหรียญ ขณะที่ศาลตัดสินให้แอปเปิลจ่ายค่าปรับซัมซุงในคดีที่เจ้าพ่อกิมจิฟ้องกลับเพียง 158,000 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
งานนี้ผู้บริโภคในสหรัฐฯได้แต่รอฟังข่าวอยู่ห่างๆ เพราะศึกสิทธิบัตรเทคโนโลยียังต้องรอผลตัดสินอีกหลายปี จุดนี้ทำให้ผู้ใช้ในตลาดโลกยังไม่ต้องกังวลว่า ตัวเลือกเพื่อซื้อหาสมาร์ทโฟนในตลาดจะมีน้อยลง อย่างน้อยก็ในเร็วๆนี้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000055283
ไม่มีความคิดเห็น: