Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2557 (เกาะติดการประมูล4G) เสรี วงษ์มณฑา ระบุ เงื่อนไขของกทค. ที่กำหนดให้มีใบอนุญาต 2 ใบ และระยะเวลา19 ปี อาจเป็นเหตุให้เกิดการผูกขาด ของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2 ราย


ประเด็นหลัก

นายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการสื่อสารมวลชน กล่าวว่า เงื่อนไขของกทค. ที่กำหนดให้มีใบอนุญาต 2 ใบ และระยะเวลา19 ปี อาจเป็นเหตุให้เกิดการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2 ราย (Duopoly) ซึ่งเป็นการผูกขาดที่น่ากลัวไม่น้อยไปกว่ามีรายใหญ่เพียงรายเดียว (Monopoly)

นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ไม่ควรเลื่อนประมูลคลื่น เพราะการประมูลจะสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐได้มากขึ้น และหากไม่ประมูลจะเป็นการปล่อยคลื่นความถี่ไว้เฉยๆ โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ


______________________________________


กทค.เดินหน้าประมูล2คลื่นความถี่4จี

กทค. ยืนยันเดินหน้าประมูล 2 คลื่นความถี่ 4 จี  หวังกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ด้านกฎหมาย เปิดเผยว่า กทค.ยังเดินหน้าจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิร์ตซ ในเดือน ส.ค. และ พ.ย. ตามแผนที่วางไว้ แม้ขณะนี้จะอยู่ในสถานการณ์การเมืองภายใต้การดูและของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทั้งนี้ เพราะต้องยอมรับว่าประเทศไทยในขณะนี้พึ่งพาการส่งออกต่างชาติค่อนข้างลำบาก เนื่องจากหลายประเทศตัดความช่วยเหลือ ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ดังนั้น การจัดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 คลื่น จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศให้ดีขึ้นได้ และจนถึงขณะนี้ กทค. ยืนยันว่าไม่มีปัจจัยใดมากระทบการประมูลทั้ง 2 คลื่นไม่ให้เกิดขึ้น

นอกจากนี้ กสทช. เกิดขึ้นภายใต้พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงยังสามารถดำเนินการประมูลทุกอย่างตามปกติ

อย่างไรก็ตาม ได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยความเห็นส่วนใหญ่ต้องการให้เลื่อนการประมูลที่จะเกิดขึ้นในเดือน ส.ค. ออกไปก่อน เพราะสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่เอื้อต่อการประมูล

นายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการสื่อสารมวลชน กล่าวว่า เงื่อนไขของกทค. ที่กำหนดให้มีใบอนุญาต 2 ใบ และระยะเวลา19 ปี อาจเป็นเหตุให้เกิดการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2 ราย (Duopoly) ซึ่งเป็นการผูกขาดที่น่ากลัวไม่น้อยไปกว่ามีรายใหญ่เพียงรายเดียว (Monopoly)

นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ไม่ควรเลื่อนประมูลคลื่น เพราะการประมูลจะสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐได้มากขึ้น และหากไม่ประมูลจะเป็นการปล่อยคลื่นความถี่ไว้เฉยๆ โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ





http://m.posttoday.com/articlestory.php?id=297401&attr_id=0005

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.