Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2557 เอเจนซีส์ - สื่อเยอรมนี ไฮซ์ (heise.de) รายงาน คสช.สั่งการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ของไทยดำเนินการบล็อกเว็บไซต์ออนไลน์อย่างน้อย 200 ไซต์ อ้างเหตุผล “เป็นภัยความมั่นคงของชาติ”


ประเด็นหลัก

       เอเจนซีส์ - สื่อเยอรมนี ไฮซ์ (heise.de) รายงานเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) ว่า คสช.สั่งการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ของไทยดำเนินการบล็อกเว็บไซต์ออนไลน์อย่างน้อย 200 ไซต์หลังจากเกิดการรัฐประหารในวันพฤหัสบดี (22) อ้างเหตุผล “เป็นภัยความมั่นคงของชาติ”
   
       ในไทย คสช.ที่มีอำนาจสูงสุดทางการปกครองนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมเป็นต้นมาพยายามที่จะควบคุมการสื่อสารทางออนไลน์ให้อยู่ใต้ความควบคุม และส่งผลให้กระทรวงสื่อสารและสารสนเทศไทยทำการบล็อกเว็บไซต์ไปแล้ว 200 ไซต์ด้วยกัน ดร.สุรชาติ ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย ได้ให้สัมภาษณ์ในวันอังคาร (27) ว่า ได้ตัดสินจากเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรืออาจเป็นการยั่วยุให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยคณะกรรมการมอนิเตอร์ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ถูกคัดเลือกมาจากข้าราชการในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมไปถึงบอร์ดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกองทัพบก และตำรวจ เป็นต้น มีหน้าที่คัดกรองอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย
   


______________________________________


สื่อเยอรมนีรายงาน “คสช.” บล็อกสื่อออนไลน์อย่างน้อย 200 เว็บไซต์ ชี้ “เป็นภัยความมั่นคง”



       เอเจนซีส์ - สื่อเยอรมนี ไฮซ์ (heise.de) รายงานเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) ว่า คสช.สั่งการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ของไทยดำเนินการบล็อกเว็บไซต์ออนไลน์อย่างน้อย 200 ไซต์หลังจากเกิดการรัฐประหารในวันพฤหัสบดี (22) อ้างเหตุผล “เป็นภัยความมั่นคงของชาติ”
     
       ในไทย คสช.ที่มีอำนาจสูงสุดทางการปกครองนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมเป็นต้นมาพยายามที่จะควบคุมการสื่อสารทางออนไลน์ให้อยู่ใต้ความควบคุม และส่งผลให้กระทรวงสื่อสารและสารสนเทศไทยทำการบล็อกเว็บไซต์ไปแล้ว 200 ไซต์ด้วยกัน ดร.สุรชาติ ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย ได้ให้สัมภาษณ์ในวันอังคาร (27) ว่า ได้ตัดสินจากเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรืออาจเป็นการยั่วยุให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยคณะกรรมการมอนิเตอร์ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ถูกคัดเลือกมาจากข้าราชการในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมไปถึงบอร์ดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกองทัพบก และตำรวจ เป็นต้น มีหน้าที่คัดกรองอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย
     
       ทั้งนี้ เกตเวย์ต่างประเทศจะอยู่ในความดูแลของบริษัทองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) และบริษัทองค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) ที่ทั้งสององค์การมีรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลในระยะยาว “เพื่อกวาดล้างเนื้อหาออนไลน์ที่ยั่วยุ” รายงานจากกรมประชาสัมพันธ์ กระบอกเสียงของภาครัฐ
     
       นอกจากนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยยังร้องขอให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกบริษัทให้ความร่วมมือกับ คสช.โดยทำการปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และยังเรียกร้องให้พลเมืองดีแจ้งกับทางกระทรวงถึงเบาะแสได้ทั้งช่องทางโทรศัพท์ และอีเมล

https://www.facebook.com/dialog/oauth?display%3D=popup&client_id=e0bebeb3a55265b11821edce13e316fe&redirect_uri=https%3A%2F%2Fhootsuite.com%2Flogin%3Fmethod%3Dfacebook&scope=email%2Cpublish_stream%2Cread_stream&state=facebookgraph

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.