30 พฤษภาคม 2557 สำหรับผลประกอบการของ บมจ.ไอทีซิตี้ ไตรมาสแรกปี 2557 ที่ผ่านมา มีรายได้ 1,210 ล้านบาท ลดลง 148.82 ล้านบาท หรือ 10.95%
ประเด็นหลัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไอทีซิตี้เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการค้าปลีกสินค้าไอทีที่มีการปรับตัวอย่างต่อ เนื่องในหลายด้าน ทั้งการปรับรูปแบบการเปิดสาขาโดยหันมาเน้นสินค้าประเภทสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ และลดขนาดพื้นที่สาขาให้เล็กลง โดยเปิด "ไอทีซิตี้ โมบาย" (พื้นที่น้อยกว่า 100 ตร.ม.) เนื่องจากต้องการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันที่ซื้อแท็บเลต และสมาร์ทโฟนทดแทนโน้ตบุ๊ก
สำหรับผลประกอบการของ บมจ.ไอทีซิตี้ ไตรมาสแรกปี 2557 ที่ผ่านมา มีรายได้ 1,210 ล้านบาท ลดลง 148.82 ล้านบาท หรือ 10.95% เทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการลดลงของยอดขายในสาขาที่มีอยู่เดิม แม้จะมีการเปิดสาขาเพิ่ม 6 แห่ง ขณะที่มีผลขาดทุนสุทธิ 8.3 ล้านบาท น้อยลง 11.63 ล้านบาท หรือ 58.34% เทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา
______________________________________
ค้าปลีกไอทีหืดจับ! ปรับตัวรับตลาดหด หยุดขยายสาขาใหม่
ค้าปลีกไอทีปรับตัวรับตลาดเปลี่ยน-เศรษฐกิจซึม "บานาน่าไอที" ลดเป้ารายได้ หลังยอดขาย Q1 โตแค่ 5% ทั้งชะลอแผนเปิดสาขาใหม่ ขณะที่ "ฮาร์ดแวร์ เฮ้าส์" แปลงโฉมร้านปรับโพซิชันนิ่งจากค้าปลีกไอทีขายอุปกรณ์เสริม "ไอทีซิตี้" เร่งเพิ่มรายได้สมาร์ทดีไวซ์
นายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของร้านค้าปลีกสินค้าไอที "บานาน่าไอที" และ "ไอสตูดิโอบายคอมเซเว่น" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ และสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าไอทีของผู้บริโภคลดลง ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทเช่นกัน โดยรายได้ในไตรมาสแรกโตเพียง 5% เมื่อเทียบไตรมาสก่อนนี้
จากเดิมตั้งเป้าเติบโตขึ้น 12% บริษัทจึงตัดสินใจปรับลดเป้าเติบโตจาก 15% เหลือ 10% อยู่ที่ 15,400 ล้านบาท จาก 17,000 ล้านบาท มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มสินค้าโน้ตบุ๊ก, สมาร์ทโฟน และแอปเปิลในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน เพื่อควบคุมความเสี่ยงกรณีสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งชะลอตัว
"บรรยากาศ แบบนี้ผู้บริโภคน่าจะเก็บเงินไว้ทำอย่างอื่นมากกว่า แม้จะทำโปรโมชั่นแค่ไหนก็คงดึงความต้องการซื้อกลับมาไม่ได้ ทำให้ในภาพรวมไตรมาสแรกทุกสินค้าชะลอหมด ตั้งแต่โน้ตบุ๊กที่เป็นรายได้หลัก, โทรศัพท์มือถือที่เป็นรายได้ใหม่ และสินค้าแอปเปิลรุ่นต่าง ๆ"
อย่าง ไรก็ตาม ภายหลังการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งแต่ 22 พ.ค.เป็นต้นมา ยอดขายสมาร์ทโฟนและโน้ตบุ๊กเพิ่มขึ้นจากปกติถึง 30% อาจเพราะผู้บริโภคต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยร้านสาขาในต่างจังหวัดมียอดขายเพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งปีนี้แผนขยายสาขายังคงเดิม คือเปิดเพิ่มอีก 49 แห่ง แบ่งเป็นบานาน่าโมบาย 20 สาขา, บานาน่าไอที 13 สาขา และ
ไอสตูดิโอ 16 สาขา เน้นห้างสรรพสินค้าใหม่ มีขนาดตั้งแต่ 50 ตร.ม.ขึ้นไป จึงจะมีสาขาทั้งหมดในสิ้นปีนี้รวม 300 แห่ง
สำหรับ ร้านรูปแบบใหม่ "แมงโก้" ที่วางแผนเปิดตัวภายในเดือน พ.ค.นี้ บริษัทได้เลื่อนกำหนดออกไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ แต่ในแง่การดำเนินการทดลองเปิดไปแล้ว 6 แห่ง เพื่อทดสอบระบบการจัดการต่าง ๆ และประเมินสภาพการแข่งขันในธุรกิจ
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา "ผู้สื่อข่าว" ได้ไปสำรวจบรรยากาศการซื้อขายสินค้าที่ศูนย์สรรพสินค้าไอทีมอลล์ย่าน รัชดาภิเษก โดยจากการสอบถามร้านค้าต่าง ๆ ต่างให้ข้อมูลตรงกันว่า จำนวนคนเดินซื้อสินค้าในไอทีมอลล์ลดน้อยลงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งจากการที่สินค้าไอทีมีขายทั่วไปมากขึ้น นอกเหนือจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงจากปัญหาเศรษฐกิจ
"การประกาศ เคอร์ฟิวไม่กระทบร้านค้าในไอทีมอลล์เท่าไร เพราะปกติร้านที่นี่ก็ปิดกันราว 2 ทุ่มอยู่แล้ว แต่แม้ว่าคนจะมาเดินน้อยลง แต่ยอดขายโดยรวมก็พอไปได้ เพราะที่นี่เป็นแหล่งรวมสินค้าไอที, โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่ราคาถูกกว่าบริเวณใกล้เคียง คนที่ต้องการซื้อสินค้ากลุ่มนี้จริง ๆ ก็ยังมาไอทีมอลล์" พนักงานประจำร้านค้าแห่งหนึ่งกล่าว
จากการเดิน สำรวจโดยรอบยังพบด้วยว่า บริเวณชั้น 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้าน "ไอโซไซตี้" ซึ่งเน้นจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์ในเครือไอทีซิตี้ มีการปิดปรับปรุง ขณะที่ร้าน "ฮาร์ดแวร์ เฮาส์" ได้ปรับปรุงรูปแบบร้านใหม่ จากเดิมขายสินค้าไอทีต่าง ๆ มาเป็นขายอุปกรณ์เสริมโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ซึ่งพนักงานขายประจำร้านให้ข้อมูลว่าได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านมาระยะหนึ่ง แล้ว ทั้ง 2 สาขาที่เปิดในไอทีมอลล์
นายเอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ไอทีซิตี้ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทปิดร้าน "ไอโซไซตี้" บริเวณชั้น 3 ในไอทีมอลล์ เพราะต้องการย้ายทำเลไปอยู่ในโซนใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพราะพื้นที่เดิมมีคนเดินผ่านน้อย ขณะที่ร้านไอทีซิตี้บนชั้น 4 ยังคงเปิดตามปกติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไอทีซิตี้เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการค้าปลีกสินค้าไอทีที่มีการปรับตัวอย่างต่อ เนื่องในหลายด้าน ทั้งการปรับรูปแบบการเปิดสาขาโดยหันมาเน้นสินค้าประเภทสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ และลดขนาดพื้นที่สาขาให้เล็กลง โดยเปิด "ไอทีซิตี้ โมบาย" (พื้นที่น้อยกว่า 100 ตร.ม.) เนื่องจากต้องการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันที่ซื้อแท็บเลต และสมาร์ทโฟนทดแทนโน้ตบุ๊ก
สำหรับผลประกอบการของ บมจ.ไอทีซิตี้ ไตรมาสแรกปี 2557 ที่ผ่านมา มีรายได้ 1,210 ล้านบาท ลดลง 148.82 ล้านบาท หรือ 10.95% เทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการลดลงของยอดขายในสาขาที่มีอยู่เดิม แม้จะมีการเปิดสาขาเพิ่ม 6 แห่ง ขณะที่มีผลขาดทุนสุทธิ 8.3 ล้านบาท น้อยลง 11.63 ล้านบาท หรือ 58.34% เทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401339804
ไม่มีความคิดเห็น: