18 มิถุนายน 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) เลขา กสทช.ฐากร ระบุ คูปองทีวีดิจิตอล มีความเป็นไปได้ที่ คสช.จะดำเนินการต่างๆ ทั้งหมดเอง หรืออาจจะมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้แก่ กสทช. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็เป็นได้
ประเด็นหลัก
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เรียกให้ กสทช.ไปเข้าพบกับคณะทำงาน คสช. ที่มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นประธานการประชุม โดยได้มีการสอบถามความเป็นไปได้ในการที่ กสทช.จะนำเงินที่ได้จากการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ในกลุ่มช่องธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง มูลค่ารวม 50,862 ล้านบาท ส่งเข้ากระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
โดยทาง กสทช. โดย พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และตน ได้ชี้แจงไปว่าพร้อมยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว แต่ทาง คสช.ต้องรับเงื่อนไขในเรื่องโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หรือการแจกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทย 25 ล้านครัวเรือน มูลค่า 25,000 ล้านบาทตามไปด้วย เนื่องจาก กสทช.ได้ดำเนินการประกาศต่อสาธารณชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“เบื้องต้นทาง คสช.จะนำเรื่องดังกล่าวกลับไปพิจารณา ซึ่งหาก คสช.ขอรับเงินประมูลทีวีดิจิตอลทั้งหมดกลับไป สิทธิขาดในการกำหนดราคาคูปองทีวีดิจิตอลใหม่ หลักเกณฑ์การรับแลกคูปอง และการแจกจ่ายคูปองทีวีดิจิตอลก็จะอยู่ที่ คสช.โดยตรง”
อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่ คสช.จะดำเนินการต่างๆ ทั้งหมดเอง หรืออาจจะมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้แก่ กสทช. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็เป็นได้ โดยตามข้อกฎหมายในเวลานี้ การรับเงินประมูลทีวีดิจิตอลเข้าเป็นรายได้แผ่นดินสามารถดำเนินการได้ทันทีตามประกาศ คสช.โดยไม่ต้องแก้ไขใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) แต่อย่างใด
______________________________________
ส่อแวว คสช.จัดการคูปองทีวีดิจิตอล
กสทช.เล็งส่งต่อเรื่องคูปองทีวีดิจิตอลให้ คสช.ลุยต่อ หลังขอให้ส่งเงินประมูลทีวีดิจิตอลเข้าคลังตามที่ สตง.เสนอ พร้อมทำตาม คสช.ส่งแผนงาน 4 โครงการใหญ่มูลค่ารวม 2 แสนล้านบาทให้พิจารณา
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เรียกให้ กสทช.ไปเข้าพบกับคณะทำงาน คสช. ที่มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นประธานการประชุม โดยได้มีการสอบถามความเป็นไปได้ในการที่ กสทช.จะนำเงินที่ได้จากการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ในกลุ่มช่องธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง มูลค่ารวม 50,862 ล้านบาท ส่งเข้ากระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
โดยทาง กสทช. โดย พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และตน ได้ชี้แจงไปว่าพร้อมยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว แต่ทาง คสช.ต้องรับเงื่อนไขในเรื่องโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หรือการแจกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทย 25 ล้านครัวเรือน มูลค่า 25,000 ล้านบาทตามไปด้วย เนื่องจาก กสทช.ได้ดำเนินการประกาศต่อสาธารณชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“เบื้องต้นทาง คสช.จะนำเรื่องดังกล่าวกลับไปพิจารณา ซึ่งหาก คสช.ขอรับเงินประมูลทีวีดิจิตอลทั้งหมดกลับไป สิทธิขาดในการกำหนดราคาคูปองทีวีดิจิตอลใหม่ หลักเกณฑ์การรับแลกคูปอง และการแจกจ่ายคูปองทีวีดิจิตอลก็จะอยู่ที่ คสช.โดยตรง”
อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่ คสช.จะดำเนินการต่างๆ ทั้งหมดเอง หรืออาจจะมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้แก่ กสทช. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็เป็นได้ โดยตามข้อกฎหมายในเวลานี้ การรับเงินประมูลทีวีดิจิตอลเข้าเป็นรายได้แผ่นดินสามารถดำเนินการได้ทันทีตามประกาศ คสช.โดยไม่ต้องแก้ไขใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) แต่อย่างใด
นายฐากรกล่าวต่อว่า กรณีเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. คสช.ได้ออกประกาศระบุว่าขอให้หน่วยงานรัฐส่งแผนงานโครงการใหญ่ๆ ให้ คสช.รับทราบ เนื่องจากบ้านเมืองไม่มีสภานิติบัญญัติ และรัฐบาล ส่งผลให้ทาง กสทช.ได้ส่งแผนงานโครงการใหญ่ให้ คสช.ไปทั้งหมด 4 โครงการ ประกอบด้วย 1. การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท
2. การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาท และ 8,445 ล้านบาท 3. โครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) มูลค่า 20,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 4 ปี และ 4. โครงการแจกคูปองเงินสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การรับชมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลให้แก่คนไทย มูลค่า 25,000 ล้านบาท
“มูลค่าในโครงการดังกล่าวที่ได้ชี้แจงไปยังไม่นับเงินลงทุนจากภาคเอกชนชนที่จะเกี่ยวข้องกับทั้ง 4 โครงการดังกล่าว ที่คาดจะเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 1.5 แสนล้านบาท ส่งผลให้โครงการใหญ่ที่ กสทช.ดำเนินการมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท”
ส่วนประเด็นการเยียวยาผู้บริโภคที่ซื้อกล่องทีวีดาวเทียม “บอลโลก” และลูกค้ากล่อง “ซันบ็อกซ์” ที่ซื้อช่องรายการ “เวิลด์คัพ” ของ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ประกาศแผนเยียวยาออกมาแล้ว แต่ในเบื้องต้น กสทช.ยังไม่ทราบถึงแผนเยียวยาดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งหากทางอาร์เอสส่งมาทางสำนักงาน กสทช. จะส่งต่อให้คณะทำงานพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมทันที
“การที่มีระบุว่าอาร์เอสจะให้ลูกค้าดำเนินการรับมาตรการเยียวยาภายใน 3 วัน คือตั้งแต่ 16-18 มิ.ย.นี้ตนมองว่าเป็นระยะเวลาที่น้อยเกินไป และอาจจะไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคด้วย”
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000067736
ไม่มีความคิดเห็น: