Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มิถุนายน 2557 ร้านเน็ตคาเฟ่ เริ่มขยับตัว!! ควรลงทุนเป็นร้านใหญ่ 50 เครื่องขึ้นไปถึงจะมีกำไร เพราะค่าจ้างคนเฝ้าร้านเท่ากันกับร้านที่มีเครื่องน้อยกว่า ส่วนการลงทุนต่อสาขาตก 1.5 ล้านบาท ราคาคอมฯชุดละ 1.5-2 หมื่นบาทและเซิร์ฟเวอร์


ประเด็นหลัก

"ตอน นี้ร้านเกมมีความเสี่ยง เพราะความต้องการเข้ามาเล่นของลูกค้ามีน้อยลงแม้ในทำเลใกล้โรงเรียน เนื่องจากกลุ่มลูกค้าต้องหลากหลาย พื้นที่ใกล้เคียงควรมีหอพักด้วยจะได้มีลูกค้าเข้าร้านตลอด ข้อแนะนำคือควรลงทุนเป็นร้านใหญ่ 50 เครื่องขึ้นไปถึงจะมีกำไร เพราะค่าจ้างคนเฝ้าร้านเท่ากันกับร้านที่มีเครื่องน้อยกว่า ส่วนการลงทุนต่อสาขาตก 1.5 ล้านบาท ราคาคอมฯชุดละ 1.5-2 หมื่นบาท, เซิร์ฟเวอร์อีก 5 หมื่นบาท ซึ่งถ้าคู่แข่งใช้คอมฯสเป็กสูงเราก็ต้องลงทุนสูงขึ้นด้วย ยังไม่นับรวมค่าตกแต่งร้าน"

แหล่งข่าวกล่าวว่า แนวโน้มร้านเกมที่พออยู่ได้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีการใช้งานอย่างน้อย 2 ชม./วัน ถ้าต่ำกว่านั้นไม่มีกำไร เป็นเหตุผลทำให้ร้านเกมที่เป็นแบบแฟรนไชส์บางแห่งเริ่มมีการปิดตัวไป


ร้านเน็ตทะลุ 3 หมื่นราย

อย่าง ไรก็ตาม การเปิดร้านอินเทอร์เน็ตโดยรวมยังเติบโต สังเกตจากยอดลงทะเบียนกับกระทรวงวัฒนธรรมที่มีกว่า 1.8 หมื่นร้าน มากกว่าปีก่อนหน้านี้เล็กน้อย แม้ตัวเลขจริงประเมินว่าน่าจะมีเกือบ 30,000 ร้าน โดยเกือบทั้งหมดปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น "ร้านเกม" ซึ่งเท่าที่ได้พูดคุยกับเจ้าของร้านรายใหญ่หลายแห่งมีความเห็นตรงกันว่า รายรับต่อวันน้อยลงกว่าเมื่อก่อนแต่ยังอยู่ได้ เพราะแต่ละเจ้ากระจายสาขาออกไปในต่างจังหวัดด้วย โดยขนาดร้านที่เหมาะสมนอกจากต้องอยู่ในทำเลที่ดี เช่น ใกล้โรงเรียนและหอพักแล้ว ควรมีขนาดร้านละ 40-80 เครื่อง และมีคนเล่นต่อเนื่อง 7 ชม.ขึ้นไป







______________________________________

"เน็ตคาเฟ่"แปลงร่างเป็นร้านเกม ปรับหนีสงครามราคา-ต้นทุนพุ่ง



"เน็ต คาเฟ่" ฝ่าด่านหินค่าไฟแพง-แข่งตัดราคา ขาใหญ่แฟรนไชส์ "นีโอลูชั่นฯ" เป็นโต้โผฮั้วราคา 12 บาท/ชั่วโมง "เอเชียซอฟท์ฯ" เตรียมเปิดตัวเกมแนว E-sport

นายเสถียร บุญมานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท นีโอลูชั่น เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ "นีโอลูชั่น อีสปอร์ต" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ตอยู่ในภาวะที่ต้องควบคุมต้นทุน ไม่ได้เฟื่องฟูเช่นหลายปีก่อน จากเดิมราคาคอมพิวเตอร์ยังค่อนข้างสูง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ทั่วถึง และความเร็วต่ำ ทำให้ผู้บริโภคเข้าไม่ถึงการใช้งาน จึงเป็นโอกาสของร้านอินเทอร์เน็ต ทั้งเพื่อความบันเทิงและการใช้งาน

ภาวะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคา เริ่มต้นเพียง 1 หมื่นบาท ขณะที่ความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำอยู่ที่ 10 Mbps ทำให้การเปิดร้านอินเทอร์เน็ตไม่คุ้มต่อการลงทุนอีกต่อไป ส่งผลกระทบทำให้ร้านขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 30 เครื่องต้องทยอยปิดตัวลงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนค่าไฟแพงขึ้น แต่จำนวนผู้ใช้บริการไม่เพียงพอ

ร้านเน็ตทะลุ 3 หมื่นราย

อย่าง ไรก็ตาม การเปิดร้านอินเทอร์เน็ตโดยรวมยังเติบโต สังเกตจากยอดลงทะเบียนกับกระทรวงวัฒนธรรมที่มีกว่า 1.8 หมื่นร้าน มากกว่าปีก่อนหน้านี้เล็กน้อย แม้ตัวเลขจริงประเมินว่าน่าจะมีเกือบ 30,000 ร้าน โดยเกือบทั้งหมดปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น "ร้านเกม" ซึ่งเท่าที่ได้พูดคุยกับเจ้าของร้านรายใหญ่หลายแห่งมีความเห็นตรงกันว่า รายรับต่อวันน้อยลงกว่าเมื่อก่อนแต่ยังอยู่ได้ เพราะแต่ละเจ้ากระจายสาขาออกไปในต่างจังหวัดด้วย โดยขนาดร้านที่เหมาะสมนอกจากต้องอยู่ในทำเลที่ดี เช่น ใกล้โรงเรียนและหอพักแล้ว ควรมีขนาดร้านละ 40-80 เครื่อง และมีคนเล่นต่อเนื่อง 7 ชม.ขึ้นไป

สำหรับการแข่งขันในขณะนี้เหลือ เพียงรายใหญ่เท่านั้นที่อยู่รอด เพราะรายเล็กไม่สามารถแข่งขันราคาและประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น แต่ละร้านจึงหันมาแข่งคุณภาพ อาทิ สเป็กเครื่องระดับเทพ ปรับปรุงบรรยากาศในร้านให้มีอาหารและเครื่องดื่มจำหน่าย เป็นต้น

ฮั้วราคาเพื่อความอยู่รอด

นาย เสถียรกล่าวว่า รายได้ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ตแฟรนไชส์ลดลง จึงต้องทำแผนประหยัดต้นทุนด้วยการเป็นผู้นำในการกำหนดค่าบริการร่วมกัน เช่น พื้นที่ตลาดอมรพันธ์ เดิมแข่งตัดราคากันหนักก็กำหนดราคาอยู่ที่ 12 บาท/ชม.เท่ากัน นอกจากนี้ มีการควบคุมต้นทุน ล่าสุดวางแผนขยาย 2-3 สาขา/เดือน จากปัจจุบันมี 40 แห่ง เกือบทั้งหมดเป็นแฟรนไชส์ ทุกร้านมีคอมพิวเตอร์ 50 เครื่องขึ้นไป

ทั้งนี้ นายเสถียรกล่าวว่า รายได้แฟรนไชส์ร้านอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วน 5% ของรายได้รวม ธุรกิจหลักของบริษัทคือผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แม้ยอดขายจะลดลง 15-20% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่บริษัทตั้งเป้ารายได้ปีนี้ที่ 400 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

แหล่ง ข่าวจากร้านอินเทอร์เน็ตรายใหญ่แห่งหนึ่ง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เดิมร้านอินเทอร์เน็ตเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างกำไรดี แต่ทุกวันนี้แข่งขันกันหนักมากเพราะผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมาเล่นที่ร้านอีก ต่อไป บางช่วงจึงดัมพ์ราคาจนแทบไม่มีกำไรและเจ๊งไปก็มี ล่าสุดจึงต้องหันมาจับมือกันเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

คาดจะลงทุนต้อง 50 เครื่อง

"ตอน นี้ร้านเกมมีความเสี่ยง เพราะความต้องการเข้ามาเล่นของลูกค้ามีน้อยลงแม้ในทำเลใกล้โรงเรียน เนื่องจากกลุ่มลูกค้าต้องหลากหลาย พื้นที่ใกล้เคียงควรมีหอพักด้วยจะได้มีลูกค้าเข้าร้านตลอด ข้อแนะนำคือควรลงทุนเป็นร้านใหญ่ 50 เครื่องขึ้นไปถึงจะมีกำไร เพราะค่าจ้างคนเฝ้าร้านเท่ากันกับร้านที่มีเครื่องน้อยกว่า ส่วนการลงทุนต่อสาขาตก 1.5 ล้านบาท ราคาคอมฯชุดละ 1.5-2 หมื่นบาท, เซิร์ฟเวอร์อีก 5 หมื่นบาท ซึ่งถ้าคู่แข่งใช้คอมฯสเป็กสูงเราก็ต้องลงทุนสูงขึ้นด้วย ยังไม่นับรวมค่าตกแต่งร้าน"

แหล่งข่าวกล่าวว่า แนวโน้มร้านเกมที่พออยู่ได้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีการใช้งานอย่างน้อย 2 ชม./วัน ถ้าต่ำกว่านั้นไม่มีกำไร เป็นเหตุผลทำให้ร้านเกมที่เป็นแบบแฟรนไชส์บางแห่งเริ่มมีการปิดตัวไป

ด้าน นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช หัวหน้าสายงานการพาณิชย์และพัฒนาธุรกิจ ทรูออนไลน์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บริษัทยังเน้นทำตลาดกับร้านอินเทอร์เน็ต แต่อัตราการเติบโตไม่เหมือนปีก่อน เนื่องจากร้านเกมแข่งราคาค่อน ข้างหนัก บริษัทจึงต้องปรับราคาให้เหมาะสม มีทั้งแพ็กเกจแบบคอนซูเมอร์และองค์กร ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นร้านที่มีขนาดใหญ่เป็นหลัก

ตลาดอมรพันธ์ 12 บาท/ชม.

นาย ปราโมทย์ สุดจิตพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการเกมออนไลน์กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทลดสนับสนุนการตลาดกับร้านอินเทอร์เน็ตมาระยะหนึ่ง เพราะเกมออนไลน์ที่ให้บริการผู้บริโภคเล่นที่บ้านได้ไม่จำเป็นต้องเล่นที่ ร้าน แต่ในช่วงปลายปีกำลังพิจารณากลับมาทำตลาดอีกครั้ง เนื่องจากเตรียมเปิดตัวเกมแนว E-Sport ซึ่งเล่นในร้านอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงสำรวจพื้นที่ย่านตลาดอมรพันธ์แยกเกษตร พบว่ามีร้านอินเทอร์เน็ตขนาด 50-100 เครื่องมากกว่า 10 ร้าน เน้นให้บริการเกมออนไลน์เป็นหลัก มีเกมให้เลือกเล่นเกือบทุกค่ายเกม โดยทุกร้านตั้งราคา 12 บาท/ชม.เท่ากันหมด แต่มีโปรโมชั่นจูงใจ เช่น ซื้อ 5 ชั่วโมง เหลือ 55 บาท, 8 ชั่วโมง 85 บาท, 10 ชั่วโมง 100 บาท



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1403102829


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.