Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มิถุนายน 2557 ไทยติดบัญชีพีดับบลิวแอลหรือกลุ่มประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผ่านมาอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่ที่ 72% มูลค่าความเสียหาย 26,498 ล้านบาท


ประเด็นหลัก



พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)กล่าวว่า มูลเหตุที่ทำให้ตำรวจต้องเข้าไปดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจังมาจากประเทศ เดียวคือสหรัฐ เหตุเพราะผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงกีดกันเฉพาะผู้ที่กระทำความผิด แต่ยังมีผลต่อภาพรวมทั้งประเทศ สรุปได้ว่าไทยถูกเพ่งเล็ง 2 เรื่อง คือ ค้ามนุษย์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมง และละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

“ทรัพย์สิน ทางปัญญาเป็นปัญหาระดับชาติ ในฐานะตำรวจไม่อยากจับ อยากให้ใช้ฟรีด้วยซ้ำ แต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะจะส่งผลกระทบไปในวงกว้าง สหรัฐเองเขาก็จัดการภายในประเทศ เล่นตามกติกาในบ้านตัวเอง”

เขา กล่าวว่า ไทยติดบัญชีพีดับบลิวแอลหรือกลุ่มประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งต้องจับตามองเป็นพิเศษมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามหาวิธีการมาแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ปีที่ผ่านมาอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่ที่ 72% มูลค่าความเสียหาย 26,498 ล้านบาท

สถิติระบุว่า ปี 2556 ช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.จำนวนคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์มี 247 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 160 คดี กว่า 54% ด้านมูลค่าความเสียหาย เพิ่มขึ้น 47% มูลค่า 510.85 ล้านบาท แบ่งตามสัญชาติผู้ถือหุ้นบริษัท 3 อันดับแรก คือ ไทย 80% ญี่ปุ่น 5% จีน 4% ทั้งพบว่าบริษัทที่ถูกจับไม่ใช่รายเล็กที่ไม่มีกำลังซื้อ ทว่าแต่ละรายมีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 231 ล้านบาท

“อยาก ให้ตระหนักว่าผลที่เกิด เสี่ยงทั้งด้านการค้า สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เสียชื่อเสียง ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ บก.ปอศ.มีเป้าหมายทำให้ลดลงต่อเนื่อง วิธีการคือเข้มปราบปรามอย่างจริงจัง ปีนี้ตั้งเป้าลดละเมิดให้เหลือ 70% จากนี้เตรียมเร่งจับเพิ่ม พร้อมเข้าไปพูดคุยกับภาคอุตสาหกรรม”















______________________________________

หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ปลดแอกไทยพ้น'พีดับบลิวแอล'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ปลดแอกไทยพ้น'พีดับบลิวแอล' ชี้ปีนี้ตั้งเป้าลดละเมิดเหลือ70% เตรียมเร่งจับเพิ่ม



ปัญหาใกล้ตัวที่ดูเหมือนไม่สำคัญอย่าง “ละเมิดลิขสิทธิ์” อาจดูไม่ยิ่งใหญ่หรือมีผลกระทบใดๆ ต่อบุคคลทั่วไป ทว่าความเป็นจริงผลพวงที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการกระทำความผิดด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยกฎหมายของคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหรัฐ มาตรา 301 ที่ร่างกฎหมายขึ้นมาเฉพาะเพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ยังส่งผลใหญ่ทำให้ไทยถูกกีดกันทางการค้า เพดานภาษีอัตราสูง ทั้งแต่ละปีต้องสูญเสียรายได้จากภาษีอากรจำนวนมหาศาล

สหรัฐไม่ใช่นักบุญ

นายขจิต สุขุม ผู้อำนวยการสำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวระหว่างงานสัมมนา เรื่อง "การดำเนินธุรกิจซัพพลายเชน และกฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Laws)" ว่าในฐานะที่ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ต้องให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์หรือนโยบายทางการค้าของประเทศคู่ค้าอย่างมาก ขณะเดียวกันหยิบยก 4 ประเด็นสำคัญออกมาพิจารณาพร้อมเตือนสติตนเองอยู่เสมอ

ทั้งนี้ ประกอบด้วย 1.สหรัฐยังเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 1.1 ล้านล้านบาท 2.ขณะนี้ไทยไม่ใช่ประเทศเทศที่มีทรัพยากรจำนวนมาก พร้อมด้านบุคลากร สามารถผลิตสินค้าได้ดีหรือถูกที่สุดอีกต่อไป โดยตำแหน่งอยู่ตรงกลางๆ ยังต้องพึ่งพาประเทศอื่นๆ ดังนั้นต้องระมัดระวังทั้งการนำเข้าและส่งออก 3.ปัจจุบันการผลิตสินค้าเป็นเรื่องของโลจิสติกส์ ไม่ได้เบ็ดเสร็จได้ด้วยบริษัทแห่งเดียวหรือประเทศเดียว ฉะนั้นภาพการมองต้องใหญ่ขึ้นไม่ใช่แค่ภายใน 4.สหรัฐเป็นพ่อค้าไม่ใช่เทวดาหรือนักบุญ เขาต้องการทำกำไร มีการกำหนดมาตรการทางการตลาด สิ่งใดเป็นเจ้าของย่อมต้องอยากได้รายได้หรือทำกำไรกับสิ่งที่คิดขึ้นมา

"เขาจัดการโดยวางกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากองค์การการค้าโลกแต่มีผลกับผู้ผลิตนอกประเทศรวมถึงไทย เรื่องนี้เราเองก็ปวดหัวแต่ทำอะไรไม่ได้เพราะเขามีอำนาจที่จะบังคับใช้ได้ มากกว่านั้นการสืบสวนคดีเพื่อบังคับใช้ยังสามารถทำได้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้คู่ค้า คู่แข่ง ผู้ที่เกี่ยวข้องร้องเรียนเข้ามา หรือแม้แต่จากเบาะแสที่ได้จากคดีอื่นๆ”

ค้ามนุษย์-ซอฟต์แวร์สูงสุด

พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)กล่าวว่า มูลเหตุที่ทำให้ตำรวจต้องเข้าไปดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจังมาจากประเทศเดียวคือสหรัฐ เหตุเพราะผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงกีดกันเฉพาะผู้ที่กระทำความผิด แต่ยังมีผลต่อภาพรวมทั้งประเทศ สรุปได้ว่าไทยถูกเพ่งเล็ง 2 เรื่อง คือ ค้ามนุษย์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมง และละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

“ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นปัญหาระดับชาติ ในฐานะตำรวจไม่อยากจับ อยากให้ใช้ฟรีด้วยซ้ำ แต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะจะส่งผลกระทบไปในวงกว้าง สหรัฐเองเขาก็จัดการภายในประเทศ เล่นตามกติกาในบ้านตัวเอง”

เขากล่าวว่า ไทยติดบัญชีพีดับบลิวแอลหรือกลุ่มประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งต้องจับตามองเป็นพิเศษมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามหาวิธีการมาแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ปีที่ผ่านมาอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่ที่ 72% มูลค่าความเสียหาย 26,498 ล้านบาท

สถิติระบุว่า ปี 2556 ช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.จำนวนคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์มี 247 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 160 คดี กว่า 54% ด้านมูลค่าความเสียหาย เพิ่มขึ้น 47% มูลค่า 510.85 ล้านบาท แบ่งตามสัญชาติผู้ถือหุ้นบริษัท 3 อันดับแรก คือ ไทย 80% ญี่ปุ่น 5% จีน 4% ทั้งพบว่าบริษัทที่ถูกจับไม่ใช่รายเล็กที่ไม่มีกำลังซื้อ ทว่าแต่ละรายมีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 231 ล้านบาท

“อยากให้ตระหนักว่าผลที่เกิด เสี่ยงทั้งด้านการค้า สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เสียชื่อเสียง ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ บก.ปอศ.มีเป้าหมายทำให้ลดลงต่อเนื่อง วิธีการคือเข้มปราบปรามอย่างจริงจัง ปีนี้ตั้งเป้าลดละเมิดให้เหลือ 70% จากนี้เตรียมเร่งจับเพิ่ม พร้อมเข้าไปพูดคุยกับภาคอุตสาหกรรม”

เตือนคู่ค้าเอาจริง

นายไมเคิล มัดด์ เลขาธิการ โอซีเอ (Open Computing Alliance) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเตือนผู้ส่งออกในเอเชียว่า บริษัทจัดซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้าทั่วโลกได้เพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและการพัฒนาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานไอที ด้วยเห็นว่าหากไม่มีระบบที่ปลอดภัยรองรับ ย่อมเปิดช่องโหว่ให้เข้าถึงข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลในโลกธุรกิจ

“การแบ่งปันข้อมูลสำคัญให้แก่ซัพพลายเออร์หรือบริษัทผู้จัดหาวัตถุดิบเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ ความสามารถปกป้องข้อมูลย่อมช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และมูลค่าธุรกิจ หากไทยไม่ปฏิบัติตามกระทั่งมีความเสี่ยงผู้นำเข้าอาจหันไปหาคู่ค้ารายใหม่”





http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140619/588973/หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ปลดแอกไทยพ้นพีดับบลิวแอล.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.