Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) CAT วอน คสช. อนุญาตให้สิทธิ คลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (806-811 MHz/851-856 MHz Block 2,4,8,9) และ 1800 จำนวจ 25 MHz เพื่อความมั่นคง


ประเด็นหลัก

       ทั้งนี้ทางสหภาพฯ กสท ยังต้องการให้คสช.พิจารณาอนุญาตให้สิทธิกับ กสท ในการใช้คลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (806-811 MHz/851-856 MHz Block 2,4,8,9) เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ (Trunked Mobile) และคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ กสท ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อความมั่นคงของรัฐต่อไปแทนที่จะนำมาจัดสรรด้วยวิธีการประมูลตามแผนที่กสทช.กำหนดไว้ภายในเดือนส.ค.2557 ในตอนแรก


______________________________________
สหภาพฯ กสท วอน คสช.แก้ปม พ.ร.บ.องค์จัดสรรคลื่นความถี่




       สหภาพฯ กสท วอน คสช.พิจารณาแก้ไขพ.ร.บ.องค์จัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ในมาตรา 45 กับ84 เพื่อความอยู่รอดของรัฐวิสหกิจพร้อมขอให้กสท สามารถใช้คลื่นความถี่ 800 MHz และ1800 MHz ต่อไปได้
     
       นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายหลังจากเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2557 ที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ทีโอที ได้เข้าหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในประเด็นปัญหาคลื่นความถี่ต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นแนวทางฝ่าวิกฤต และทางรอด โดยมีกสทช. เป็นคนรวบรวมข้อเสนอต่างๆ เพื่อส่งต่อไปให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณานั้น ล่าสุดสหภาพฯกสทต้องการแสดงจุดยืนเห็นด้วยกับข้อเสนอของทีโอทีที่เสนอให้คสช.แก้มาตรา 84 และมาตรา45 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)
     
       ทั้งนี้ทางสหภาพฯ กสท ยังต้องการให้คสช.พิจารณาอนุญาตให้สิทธิกับ กสท ในการใช้คลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (806-811 MHz/851-856 MHz Block 2,4,8,9) เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ (Trunked Mobile) และคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ กสท ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อความมั่นคงของรัฐต่อไปแทนที่จะนำมาจัดสรรด้วยวิธีการประมูลตามแผนที่กสทช.กำหนดไว้ภายในเดือนส.ค.2557 ในตอนแรก
     
       ขณะที่ข้อเสนอเบื้องต้นที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เสนอไปนั้นมีเพียงประเด็นความ ต้องการถือครองคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz ที่ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ รวมทั้งต้องนำเสนอแผนการให้บริการลูกค้า 4 ล้านราย หากคลื่น 1800 MHz ที่หมดสัมปทานจากทรูมูฟ และ ดีพีซี ไม่สามารถเปิดประมูลได้ทันก่อนที่ประกาศคุ้มครองซิมดับจะสิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 2557 เท่านั้น
     
       ทั้งนี้สาระสำคัญในประเด็นที่สหภาพฯ กสท ต้องการให้คสช.พิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.นั้น คือในมาตรา 84 โดยอยากให้แก้ไขเป็น กสท ไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้ กสทช. และในมาตรา 45 ไม่ต้องการให้กสทช.จัดสรรคลื่นโดยใช้วิธีประมูลเนื่องจากยากต่อการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานภาครัฐเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.งบประมาณดังนั้นการขออนุมัติโครงการดำเนินงานใดๆ จะต้องผ่านความเห็นชอบจากสศช.และคณะรัฐมนตรี ตามลำดับขั้น และต้องมีการกำหนดงบประมาณที่ค่อนข้างแน่นอน
     
       ดังนั้นการขออนุมัติงบประมาณเพื่อใช้สำหรับเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่จึงค่อนข้างยากไม่ยืดหยุ่นเท่าเอกชน และข้อมูลวงเงินที่สามารถใช้ในการเข้าร่วมประมูลไม่สามารถเก็บเป็นความลับได้
     
       อนึ่งในวันที่ 10 ก.ค.นี้ สำนักงานกสทช.จะทำรายงานเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยจะแบ่งรายงานออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.ข้อเรียกร้องของรัฐวิสาหกิจ 2.ความเห็นของกสทช. และ 3.ข้อสรุปว่าหากมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzและ 1800 MHz จะส่งผลต่อประเทศอย่างไร และหากไม่สามารถเปิดประมูลได้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000077111&Keyword=%A1%CA%B7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.