Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) รองเลขาธิการ กสทช.ก่อกิจ ระบุ TOT และ CAT เสนอ คสช. พิจารณาไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้กับ กสทช. เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ทั้ง 2 แห่ง มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ต่อไป.


ประเด็นหลัก


นายก่อกิจ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ ทีโอที และ กสท ได้ยื่นข้อเสนอ ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ขอให้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ต้องประมูลหลังหมดสัมปทาน รวมทั้งไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้ กสทช. ตามที่กฎหมายกำหนด ส่วน กสท ต้องการถือครองคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่ คสช. จะพิจารณาข้อเสนอของ ทีโอที และ กสท ที่ไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้กับ กสทช. เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ทั้ง 2 แห่ง มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ต่อไป.

______________________________________

กสทช. เผยยอดค่าธรรมเนียมโทรคมนาคมปี57พุ่ง6พันล้านบาท



กสทช. เผยยอดค่าธรรมเนียมโทรคมนาคมสิ้นปี 2557 อยู่ที่ 6,300 ล้านบาท โดยเป็นค่าเลขหมาย 3,800 ล้านบาท เผยวางแผนเตรียมสร้างคนรุ่นใหม่พัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม...


เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2557 นายก่อกิจ ด้านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า รายได้ที่ กสทช. จะได้รับจากค่าธรรมเนียมเลขหมายและค่าใบอนุญาตด้านกิจการโทรคมนาคมปี 2557 อยู่ที่ 6,300 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเลขหมาย 3,800 ล้านบาท และ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประมาณ 2,500 ล้านบาท รายได้ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. แต่จะต้องถูกนำไปใช้ เพื่อนำไปพัฒนาบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างทั่วถึง หรือ ยูเอสโอ (USO) ด้านโทรคมนาคม ซึ่งจะต้องขยายบริการให้ครอบคลุมร้อยละ 95 และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ ครอบคลุมร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที


รองเลขาธิการ กสทช.กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ กสทช. จะเปิดรับบุคลากรรุ่นใหม่เข้าร่วมงานกับ กสทช. เพื่อสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่จะมีความท้าทายมากขึ้นในอนาคต หลังจากการสิ้นสุดลงของสัญญาสัมปทานผู้ให้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส สิ้นสุดสัมปทานกับ บริษัท ทีโอที และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือ ดีแทค สิ้นสุดสัมปทานกับ กสท โทรคมนาคม ในปี 2561


นายก่อกิจ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ ทีโอที และ กสท ได้ยื่นข้อเสนอ ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ขอให้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ต้องประมูลหลังหมดสัมปทาน รวมทั้งไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้ กสทช. ตามที่กฎหมายกำหนด ส่วน กสท ต้องการถือครองคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่ คสช. จะพิจารณาข้อเสนอของ ทีโอที และ กสท ที่ไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทานให้กับ กสทช. เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ทั้ง 2 แห่ง มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ต่อไป.


http://www.thairath.co.th/content/436271

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.