18 กรกฎาคม 2557 เอเรียนสเปซ ระบุ การทำตลาดในประเทศไทย บริษัทยังมีความหวังจะได้ทำสัญญายิงดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ให้ บมจ.ไทยคม
ประเด็นหลัก
วนการทำตลาดในประเทศไทย บริษัทยังมีความหวังจะได้ทำสัญญายิงดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ให้ บมจ.ไทยคม ก่อนหน้านี้เป็นผู้ดำเนินการยิงดาวเทียมไทยคม 1-5 มาโดยตลอด แต่ไม่ได้ไทยคม 6-8
"แอร์บัสกรุ๊ปและ Safran หนึ่งในผู้ถือหุ้นเอเรียนสเปซเพิ่งตัดสินใจรวมกันตั้งบริษัทพัฒนาจรวด และเอ็นจิ้นเครื่องยนต์สำหรับยิงดาวเทียม ทำให้มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และมีศักยภาพในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้น จึงหวังว่าจะได้ร่วมงานกับไทยคมอีก หลังจากต้องพลาดไป เพราะค่าบริการสูงกว่าคู่แข่ง"
สำหรับสถานการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศ ทั้งในประเทศยูเครนตะวันออกกลาง ไม่มีผลกระทบกับการปล่อยจรวดยิงดาวเทียมของเอเรียนสเปซ ซึ่งมีจุดให้บริการที่ศูนย์อวกาศเกียนา ในเฟรนช์เกียนา และฐานไบโคนูร์ ในประเทศคาซัคสถาน
ปัจจุบันมีคำสั่งซื้อมูลค่ากว่า 4,000 ล้านยูโร จากลูกค้า 27 ราย เท่ากับการดำเนินงานกว่า 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2523 ยิงดาวเทียมในเอเชีย-แปซิฟิกไปแล้ว 68 ดวง มีค่าเฉลี่ยการปล่อยดาวเทียมในภูมิภาคนี้ 2.5 ดวงต่อปี มีอีก 9 ดวงที่จะปล่อยให้ลูกค้าในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
______________________________
"เอเรียนสเปซ" ยิ้มรับดีมานด์ดาวเทียมพุ่งตามเทรนด์HD-บิ๊กสกรีน
"เอเรียนสเปซ" ยิ้มรับดีมานด์ธุรกิจดาวเทียมพุ่งทั่วโลกตามเทรนด์ "เอชดี-บิ๊กสกรีน" พร้อมบุกตลาดเอเชีย-แปซิฟิกเต็มสูบปักธงอินโดนีเซียรับเศรษฐกิจบูม แต่ยังหวัง "ไทยคม" ยิงดาวเทียมดวงใหม่ หลังเทคโนโลยีใหม่ราคาถูกลง
นายริชาร์ด โบว์ส ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเรียนสเปซ ผู้ให้บริการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร เปิดเผยว่า เมื่อ 30 ปีก่อนที่ก่อตั้งบริษัท เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศเข้าถึงการยิงดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศในรูปแบบของโทรศัพท์ทางไกล
แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในกิจการด้านกระจายเสียงและโทรทัศน์มากขึ้น และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่นิยมคอนเทนต์ประเภทความคมชัดสูง (HD) และการรับชมผ่านหน้าจอที่มีขนาดใหญ่หรือบิ๊กสกรีนทำให้ความต้องการช่อง สัญญาณดาวเทียม (ทรานสปอนเดอร์) เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคอนเทนต์ลักษณะนี้ต้องใช้แบนด์วิดท์มากกว่าคอนเทนต์แบบเดิม 3-5 เท่า ขณะที่ด้านโทรคมนาคมก็มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ให้บริการต้องการใช้แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ โดยมีไอพีสตาร์ของไทยคมบุกเบิกการให้บริการรูปแบบนี้
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ตลาดเอเชีย-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคสำคัญอันดับ 2 ของโลกที่มีความต้องการทรานสปอนเดอร์ทั้งในแง่ของปริมาณและอัตราการเติบโต จากที่เคยมีความต้องการราว 1,300 ทรานสปอนเดอร์ เพิ่มเป็นกว่า 1,700 ทรานสปอนเดอร์ ในปีที่แล้ว คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2,000 ทรานสปอนเดอร์ ในปี 2561
"เอเชีย-แปซิฟิกเป็นตลาดสำคัญ เดิมยอดการปล่อยดาวเทียมของเอเรียนสเปซเทียบจำนวนดาวเทียมที่บริษัทปล่อย 23% อยู่ที่ภูมิภาคนี้ ปัจจุบันขยับมาที่ 30% แล้ว และตลาดสำคัญที่กำลังให้ความสนใจคือประเทศอินโดนีเซีย เป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจมาจากจำนวนประชากร และสภาพเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตมาก ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่มีเกาะจำนวนมาก การใช้ดาวเทียมเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารและบรอดแคสติ้ง รวมถึงใช้เป็นระบบสำรองเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ จึงได้รับความสนใจ"
บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ในธุรกิจปล่อยดาวเทียมเชิงพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 61% ในยุโรปและตะวันออกกลาง 54% และในทวีปอเมริกา 41%
"เราได้สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกับผู้ประกอบการในเอเชีย-แปซิฟิก และในอนาคตหวังว่าจะรักษาและขยายความสัมพันธ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรในภูมิภาคนี้ให้มากขึ้น แม้ปัจจุบันตำแหน่งวงโคจรในภูมิภาคนี้จะเหลือน้อยมาก อย่างในจุดที่จะสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ประเทศจีนและอินเดีย เรียกว่าหายากและมีความต้องการสูง แต่แถบออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ยังพอมีตำแหน่งวงโคจรเหลือพอสำหรับดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ขณะเดียวกัน ในวงโคจรเดิมที่มีดาวเทียมหลายจุดก็อยู่ในช่วงที่ต้องมีการยิงดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นไปทดแทนดวงเก่าที่จะหมดอายุ"
ส่วนการทำตลาดในประเทศไทย บริษัทยังมีความหวังจะได้ทำสัญญายิงดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ให้ บมจ.ไทยคม ก่อนหน้านี้เป็นผู้ดำเนินการยิงดาวเทียมไทยคม 1-5 มาโดยตลอด แต่ไม่ได้ไทยคม 6-8
"แอร์บัสกรุ๊ปและ Safran หนึ่งในผู้ถือหุ้นเอเรียนสเปซเพิ่งตัดสินใจรวมกันตั้งบริษัทพัฒนาจรวด และเอ็นจิ้นเครื่องยนต์สำหรับยิงดาวเทียม ทำให้มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และมีศักยภาพในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้น จึงหวังว่าจะได้ร่วมงานกับไทยคมอีก หลังจากต้องพลาดไป เพราะค่าบริการสูงกว่าคู่แข่ง"
สำหรับสถานการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศ ทั้งในประเทศยูเครนตะวันออกกลาง ไม่มีผลกระทบกับการปล่อยจรวดยิงดาวเทียมของเอเรียนสเปซ ซึ่งมีจุดให้บริการที่ศูนย์อวกาศเกียนา ในเฟรนช์เกียนา และฐานไบโคนูร์ ในประเทศคาซัคสถาน
ปัจจุบันมีคำสั่งซื้อมูลค่ากว่า 4,000 ล้านยูโร จากลูกค้า 27 ราย เท่ากับการดำเนินงานกว่า 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2523 ยิงดาวเทียมในเอเชีย-แปซิฟิกไปแล้ว 68 ดวง มีค่าเฉลี่ยการปล่อยดาวเทียมในภูมิภาคนี้ 2.5 ดวงต่อปี มีอีก 9 ดวงที่จะปล่อยให้ลูกค้าในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1405664073
วนการทำตลาดในประเทศไทย บริษัทยังมีความหวังจะได้ทำสัญญายิงดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ให้ บมจ.ไทยคม ก่อนหน้านี้เป็นผู้ดำเนินการยิงดาวเทียมไทยคม 1-5 มาโดยตลอด แต่ไม่ได้ไทยคม 6-8
"แอร์บัสกรุ๊ปและ Safran หนึ่งในผู้ถือหุ้นเอเรียนสเปซเพิ่งตัดสินใจรวมกันตั้งบริษัทพัฒนาจรวด และเอ็นจิ้นเครื่องยนต์สำหรับยิงดาวเทียม ทำให้มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และมีศักยภาพในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้น จึงหวังว่าจะได้ร่วมงานกับไทยคมอีก หลังจากต้องพลาดไป เพราะค่าบริการสูงกว่าคู่แข่ง"
สำหรับสถานการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศ ทั้งในประเทศยูเครนตะวันออกกลาง ไม่มีผลกระทบกับการปล่อยจรวดยิงดาวเทียมของเอเรียนสเปซ ซึ่งมีจุดให้บริการที่ศูนย์อวกาศเกียนา ในเฟรนช์เกียนา และฐานไบโคนูร์ ในประเทศคาซัคสถาน
ปัจจุบันมีคำสั่งซื้อมูลค่ากว่า 4,000 ล้านยูโร จากลูกค้า 27 ราย เท่ากับการดำเนินงานกว่า 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2523 ยิงดาวเทียมในเอเชีย-แปซิฟิกไปแล้ว 68 ดวง มีค่าเฉลี่ยการปล่อยดาวเทียมในภูมิภาคนี้ 2.5 ดวงต่อปี มีอีก 9 ดวงที่จะปล่อยให้ลูกค้าในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
______________________________
"เอเรียนสเปซ" ยิ้มรับดีมานด์ดาวเทียมพุ่งตามเทรนด์HD-บิ๊กสกรีน
"เอเรียนสเปซ" ยิ้มรับดีมานด์ธุรกิจดาวเทียมพุ่งทั่วโลกตามเทรนด์ "เอชดี-บิ๊กสกรีน" พร้อมบุกตลาดเอเชีย-แปซิฟิกเต็มสูบปักธงอินโดนีเซียรับเศรษฐกิจบูม แต่ยังหวัง "ไทยคม" ยิงดาวเทียมดวงใหม่ หลังเทคโนโลยีใหม่ราคาถูกลง
นายริชาร์ด โบว์ส ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเรียนสเปซ ผู้ให้บริการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร เปิดเผยว่า เมื่อ 30 ปีก่อนที่ก่อตั้งบริษัท เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศเข้าถึงการยิงดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศในรูปแบบของโทรศัพท์ทางไกล
แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในกิจการด้านกระจายเสียงและโทรทัศน์มากขึ้น และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่นิยมคอนเทนต์ประเภทความคมชัดสูง (HD) และการรับชมผ่านหน้าจอที่มีขนาดใหญ่หรือบิ๊กสกรีนทำให้ความต้องการช่อง สัญญาณดาวเทียม (ทรานสปอนเดอร์) เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคอนเทนต์ลักษณะนี้ต้องใช้แบนด์วิดท์มากกว่าคอนเทนต์แบบเดิม 3-5 เท่า ขณะที่ด้านโทรคมนาคมก็มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ให้บริการต้องการใช้แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ โดยมีไอพีสตาร์ของไทยคมบุกเบิกการให้บริการรูปแบบนี้
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ตลาดเอเชีย-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคสำคัญอันดับ 2 ของโลกที่มีความต้องการทรานสปอนเดอร์ทั้งในแง่ของปริมาณและอัตราการเติบโต จากที่เคยมีความต้องการราว 1,300 ทรานสปอนเดอร์ เพิ่มเป็นกว่า 1,700 ทรานสปอนเดอร์ ในปีที่แล้ว คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2,000 ทรานสปอนเดอร์ ในปี 2561
"เอเชีย-แปซิฟิกเป็นตลาดสำคัญ เดิมยอดการปล่อยดาวเทียมของเอเรียนสเปซเทียบจำนวนดาวเทียมที่บริษัทปล่อย 23% อยู่ที่ภูมิภาคนี้ ปัจจุบันขยับมาที่ 30% แล้ว และตลาดสำคัญที่กำลังให้ความสนใจคือประเทศอินโดนีเซีย เป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจมาจากจำนวนประชากร และสภาพเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตมาก ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่มีเกาะจำนวนมาก การใช้ดาวเทียมเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารและบรอดแคสติ้ง รวมถึงใช้เป็นระบบสำรองเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ จึงได้รับความสนใจ"
บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ในธุรกิจปล่อยดาวเทียมเชิงพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 61% ในยุโรปและตะวันออกกลาง 54% และในทวีปอเมริกา 41%
"เราได้สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกับผู้ประกอบการในเอเชีย-แปซิฟิก และในอนาคตหวังว่าจะรักษาและขยายความสัมพันธ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรในภูมิภาคนี้ให้มากขึ้น แม้ปัจจุบันตำแหน่งวงโคจรในภูมิภาคนี้จะเหลือน้อยมาก อย่างในจุดที่จะสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ประเทศจีนและอินเดีย เรียกว่าหายากและมีความต้องการสูง แต่แถบออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ยังพอมีตำแหน่งวงโคจรเหลือพอสำหรับดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ขณะเดียวกัน ในวงโคจรเดิมที่มีดาวเทียมหลายจุดก็อยู่ในช่วงที่ต้องมีการยิงดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นไปทดแทนดวงเก่าที่จะหมดอายุ"
ส่วนการทำตลาดในประเทศไทย บริษัทยังมีความหวังจะได้ทำสัญญายิงดาวเทียมดวงใหม่ ๆ ให้ บมจ.ไทยคม ก่อนหน้านี้เป็นผู้ดำเนินการยิงดาวเทียมไทยคม 1-5 มาโดยตลอด แต่ไม่ได้ไทยคม 6-8
"แอร์บัสกรุ๊ปและ Safran หนึ่งในผู้ถือหุ้นเอเรียนสเปซเพิ่งตัดสินใจรวมกันตั้งบริษัทพัฒนาจรวด และเอ็นจิ้นเครื่องยนต์สำหรับยิงดาวเทียม ทำให้มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และมีศักยภาพในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้น จึงหวังว่าจะได้ร่วมงานกับไทยคมอีก หลังจากต้องพลาดไป เพราะค่าบริการสูงกว่าคู่แข่ง"
สำหรับสถานการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศ ทั้งในประเทศยูเครนตะวันออกกลาง ไม่มีผลกระทบกับการปล่อยจรวดยิงดาวเทียมของเอเรียนสเปซ ซึ่งมีจุดให้บริการที่ศูนย์อวกาศเกียนา ในเฟรนช์เกียนา และฐานไบโคนูร์ ในประเทศคาซัคสถาน
ปัจจุบันมีคำสั่งซื้อมูลค่ากว่า 4,000 ล้านยูโร จากลูกค้า 27 ราย เท่ากับการดำเนินงานกว่า 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2523 ยิงดาวเทียมในเอเชีย-แปซิฟิกไปแล้ว 68 ดวง มีค่าเฉลี่ยการปล่อยดาวเทียมในภูมิภาคนี้ 2.5 ดวงต่อปี มีอีก 9 ดวงที่จะปล่อยให้ลูกค้าในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1405664073
ไม่มีความคิดเห็น: