Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) กสทช.นที ระบุ ทุกรายต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่างเคร่งครัด โดยมีจำนวนสถานีที่ผ่านการตรวจเครื่องส่ง 1,174 สถานี และออกอากาศได้จริง 206 สถานี

ประเด็นหลัก



พ.อ.เอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ว่า ที่ประชุมพิจารณาให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการในการออกอากาศ จากทั้งหมด 4,839 ราย ซึ่งทุกรายต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่างเคร่งครัด โดยมีจำนวนสถานีที่ผ่านการตรวจเครื่องส่ง 1,174 สถานี และออกอากาศได้จริง 206 สถานี

______________________________




‘นที’เผยแผนวิทยุดิจิตอลส่อเค้าเลื่อนชี้การใช้เทคโนโลยียุ่งยากกว่าโทรทัศน์

พ.อ.เอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ว่า ที่ประชุมพิจารณาให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการในการออกอากาศ จากทั้งหมด 4,839 ราย ซึ่งทุกรายต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่างเคร่งครัด โดยมีจำนวนสถานีที่ผ่านการตรวจเครื่องส่ง 1,174 สถานี และออกอากาศได้จริง 206 สถานี

นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาอนุญาตให้ใบอนุญาตโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกเพิ่มเติม 5 บริษัท ทำให้ปัจจุบันมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิ้ลในลักษณะแบบบอกรับสมาชิก 26 ราย มีช่องรายการที่ออกอากาศทั้งหมด 483 ช่อง ซึ่งคิดเป็นการออกอากาศแล้ว 80% โดยช่องรายการในส่วนที่เหลืออีก 114 ช่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กสทช.

“การประกาศแผนและขับเคลื่อนการให้ใบอนุญาตวิทยุดิจิตอลที่จะมีกระบวนการออกใบอนุญาตในปี 2558 น่าจะเลื่อนออกไปอย่างแน่นอน เนื่องจากการปรับการใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอลมาใช้กับวิทยุมีความยากมากกว่าโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล” พ.อ.นที กล่าว

ในขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้พิจารณาให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และคณะอนุกรรมการดูแลเรื่องสัญญาสัมปทาน ไปศึกษาแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับกรณีของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก (ช่อง 7) เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีในการประกอบกิจการโทรทัศน์

“ช่อง 7 อุทธรณ์เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต เรื่องการกำหนดให้ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของช่อง 7 คือ จ่ายค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน ช่องที่ออกอากาศในระบบอนาล็อกกฎหมายกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมและต้องส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) หรือ กทปส. ถ้าเป็นผู้ประกอบกิจการรายเดิม จะต้องส่งเงินส่วนแบ่งรายได้ที่หัก 2% เข้ากระทรวงการคลัง และค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 2% ต้องนำส่งเข้า กทปส.อีก ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการจ่ายซ้ำซ้อนระหว่างค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกับค่าสัมปทานที่ช่อง 7 ยังคงต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กองทัพบกปีละ 190 ล้านบาท” พ.อ.นที กล่าว


http://www.naewna.com/business/113600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.