Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กรกฎาคม 2557 Samsung THAI.วิชัย ระบุ ภาพรวมครึ่งปีแรก ผู้บริโภคก็ไม่อยากซื้อ โชคดีที่บริษัทไม่เป็นเช่นนั้น สินค้าที่ออกมาทั้ง Galaxy S5 และ Galaxy Note 3 ที่จับตลาดบนตอบโจทย์ผู้บริโภคได้

ประเด็นหลัก


 ในไทยกับภาพรวมครึ่งปีแรก

ภาพรวมทุกอุตสาหกรรมแทบจะซบเซากันหมด กลุ่มสมาร์ทดีไวซ์ก็โดนหางเลขเช่นกัน แม้ทุกฝ่ายจะคาดว่าตลาดนี้ต้องเติบโต แต่พอมีวิกฤต ผู้บริโภคก็ไม่อยากซื้อ โชคดีที่บริษัทไม่เป็นเช่นนั้น สินค้าที่ออกมาทั้ง Galaxy S5 และ Galaxy Note 3 ที่จับตลาดบนตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ รวมถึงแท็บเลตรุ่นกลางอย่าง Galaxy Note 8

แท็บเลตรุ่นล่างสุด Tab 3 Lite Wifi ก็ขายดีกว่าสเป็กเดียวกับที่เราทำตลาดในปีที่แล้ว 30% ทำให้รักษาการเติบโตไว้ได้ ยอดขายแท็บเลตมาจากรุ่น 5-7 พันบาทมากที่สุด คิดเป็น 70% ถ้าแบ่งเป็นจอ 7, 8 และ 10 นิ้ว จะมีส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ 30% ของจำนวนเครื่องทั้งหมดในตลาด

- ครึ่งปีหลังล่ะ

มีเซอร์ไพรส์เรื่องโปรดักต์แน่ และเชื่อว่าอารมณ์จับจ่ายของผู้บริโภคจะดีขึ้นอีกครั้งจนทำให้ยอดขายเติบโตได้ตามเป้า ในอัตราเปอร์เซ็นต์ 2 หลักที่สูง มีโปรดักต์ใหม่ทำให้ราคารุ่นเก่าปรับลง เราจึงไม่มีกลุ่มราคาที่ชัดเจน อาจสร้างเซ็กเมนต์ใหม่ หรือเปลี่ยนโพซิชั่นของสินค้าลงไปก็เป็นได้




______________________________




"ซัมซุง" ความสำเร็จไม่มีทางลัด ส่วนผสมของ "โปรดักต์-ราคา-แบรนด์"



ปัจจุบันผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแดนกิมจิ "ซัมซุง" ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทในตลาดโทรศัพท์มือถือโลก และในเมืองไทยในฐานะเจ้าตลาดมาพักใหญ่แล้ว รวมถึงในจังหวะที่กระแสความนิยมในการใช้งาน "สมาร์ทดีไวซ์" (ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเลต) เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง

เรียกว่าจัดเต็มทั้งการสื่อสารสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ มีโปรดักต์ตอบโจทย์ผู้บริโภคตั้งแต่ระดับล่างรากหญ้า อะไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น "วิชัย พรพระตั้ง" รองประธานธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด มีคำตอบดังนี้



- จุดเริ่มต้นกับสมาร์ทดีไวซ์

ต้องไล่ตั้งแต่เดินเข้ามาทำตลาดโทรศัพท์มือถือในไทย ตั้งแต่ยุคฟีเจอร์โฟนหรือมากกว่า 10 ปีก่อน เราทำตลาดได้ดีระดับหนึ่ง แต่พอภาพรวมตลาดเปลี่ยนไปที่สมาร์ทโฟน ซัมซุงก็ปรับตัวได้ทัน โดยส่งรุ่น Galaxy S เข้ามาเมื่อ 4 ปีก่อน หวังเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภค ช่วงนั้นสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งใหม่ ต่อเนื่องด้วย Galaxy S2 ปีถัดมา ก่อนพีกสุดช่วง Galaxy S3 ในปีที่ 3 และต่อเนื่องมาตลอดในรุ่น Galaxy S4 และ S5 ทำให้ยอดขายในไทยกลายเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับยอดขายทั่วโลก

ส่วนแท็บเลตเริ่มด้วย Galaxy Tab 4 ปีก่อนเช่นกัน จอ 7 นิ้ว พัฒนาต่อเนื่องจนล่าสุด Galaxy Tab S เรายังสร้างโปรดักต์ไลน์ใหม่ ๆ เช่น Galaxy Note สมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่พร้อมปากกาอัจฉริยะ เป็นรายแรกที่เปิดตลาดสมาร์ทโฟนหน้าจอ 5 นิ้วขึ้นไป รวมถึงราคาระดับกลาง เช่น Galaxy Grand และ Mega

- สำเร็จเพราะมีหลายรุ่นให้เลือก

ใช่ สินค้าเรามีหลากหลายขนาดและระดับราคา ทำให้เจาะลูกค้าได้ทุกกลุ่ม สินค้าทุกรุ่นจะมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีทุกปีหรืออาจสั้นกว่านั้น การออกแบบสินค้าแต่ละรุ่น คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับเป็นอย่างแรก และเพิ่มแอปพลิเคชั่นที่ทำให้แตกต่างจากแบรนด์อื่น เช่น Galaxy Gift แอปรวมสิทธิพิเศษสำหรับคนใช้ซัมซุง และ Samsung Galaxy Movie รวมภาพยนตร์ชื่อดังไว้ให้รับชม เป็นต้น

ใน 1 ปีจะมีสมาร์ทดีไวซ์รวมกัน 30-40 รุ่น สมาร์ทโฟนมากกว่าครึ่ง ราคาเริ่มต้นที่ 2 พันบาท เช่น Galaxy Pocket Neo ขยับมาที่ระดับกลาง Galaxy S Duos กับ Galaxy Core 2 ราคา 4-6 พันบาท และระดับกลางจอใหญ่ Galaxy Grand กับ Mega ราคา 9 พัน-1 หมื่นบาท

สุดท้ายรุ่นไฮเอนด์ Galaxy S และ Note หมื่นปลาย ๆ ถึง 2.4 หมื่นส่วนแท็บเลตเริ่มที่ Galaxy Tab 3 Lite Wifi ราคา 4,990 บาท ก่อนข้ามไปที่ Galaxy Tab 4 ขนาด 8 นิ้ว ราคาราว 1 หมื่นบาท สุดท้าย Galaxy Tab S เริ่มที่ 16,900 บาท

- ตลาดสมาร์ทโฟนกับแท็บเลตต่างกัน

ต่างกันชัดเจน สมาร์ทโฟนคือสิ่งที่ผู้บริโภคตอนนี้ต้องการมากที่สุด ถึงมีอยู่แล้วก็จะซื้อเครื่องที่สองมากขึ้น ซึ่งผมยังไม่เข้าใจว่าทำไม อาจเพราะแบตเตอรี่หมดเร็ว หรือต้องการความหลากหลายในการใช้งาน

การเพิ่มรุ่นยิ่งเยอะ ยิ่งเปิดโอกาสให้ทำตลาดได้ทุกกลุ่ม ดังนั้นรายได้ในกลุ่มธุรกิจที่ผมดูแลจึงมาจากสมาร์ทโฟน กลับกันที่ตลาดแท็บเลต ความต้องการใช้ไม่ได้มากเท่า แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นทำให้ทำงานได้ใกล้เคียงโน้ตบุ๊กแล้ว

การซื้อแท็บเลตของผู้บริโภคใช้เพื่อความบันเทิง เช่น ชมภาพยนตร์ เพราะมีหน้าจอที่ใหญ่

ตลาดโลกก็ลักษณะนี้ ยอดขายแท็บเลตรวมทั้งโลกอยู่ที่ 290 ล้านเครื่องเมื่อปีที่ผ่านมา ซัมซุงมีส่วนแบ่ง 40 ล้านเครื่อง ปีนี้จะเพิ่มมากขึ้นแซงจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ขายกันต่อปี ส่วนในไทยยอดขายแท็บเลต/ปีแซงโน้ตบุ๊ก (ราว 1.7 ล้านเครื่อง/ปี) ไปแล้ว และซัมซุงกินแชร์เป็นอันดับต้น ๆ

- ในไทยกับภาพรวมครึ่งปีแรก

ภาพรวมทุกอุตสาหกรรมแทบจะซบเซากันหมด กลุ่มสมาร์ทดีไวซ์ก็โดนหางเลขเช่นกัน แม้ทุกฝ่ายจะคาดว่าตลาดนี้ต้องเติบโต แต่พอมีวิกฤต ผู้บริโภคก็ไม่อยากซื้อ โชคดีที่บริษัทไม่เป็นเช่นนั้น สินค้าที่ออกมาทั้ง Galaxy S5 และ Galaxy Note 3 ที่จับตลาดบนตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ รวมถึงแท็บเลตรุ่นกลางอย่าง Galaxy Note 8

แท็บเลตรุ่นล่างสุด Tab 3 Lite Wifi ก็ขายดีกว่าสเป็กเดียวกับที่เราทำตลาดในปีที่แล้ว 30% ทำให้รักษาการเติบโตไว้ได้ ยอดขายแท็บเลตมาจากรุ่น 5-7 พันบาทมากที่สุด คิดเป็น 70% ถ้าแบ่งเป็นจอ 7, 8 และ 10 นิ้ว จะมีส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ 30% ของจำนวนเครื่องทั้งหมดในตลาด

- ครึ่งปีหลังล่ะ

มีเซอร์ไพรส์เรื่องโปรดักต์แน่ และเชื่อว่าอารมณ์จับจ่ายของผู้บริโภคจะดีขึ้นอีกครั้งจนทำให้ยอดขายเติบโตได้ตามเป้า ในอัตราเปอร์เซ็นต์ 2 หลักที่สูง มีโปรดักต์ใหม่ทำให้ราคารุ่นเก่าปรับลง เราจึงไม่มีกลุ่มราคาที่ชัดเจน อาจสร้างเซ็กเมนต์ใหม่ หรือเปลี่ยนโพซิชั่นของสินค้าลงไปก็เป็นได้

- รูปแบบการทำตลาดเหมือนเดิม

จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ เพราะยังใช้ช่องทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า พร้อมเพิ่มความสำคัญของช่องทางออนไลน์ด้วย ปัจจุบันผู้บริโภคหาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีผ่านทางนี้มากขึ้น ต้องใช้เงินมากกว่าปีก่อน ส่วนเรื่องโปรโมชั่นและการทำงานกับดีลเลอร์ก็ยังร่วมมือกันต่อเนื่อง รวมถึงบันเดิลแพ็กเกจกับโอเปอเรเตอร์ทุกราย

- การลงทุนหน้าร้านและศูนย์บริการ

เรามี "ซัมซุง แบรนด์ ช้อป" 130-140 สาขาทั่วประเทศ มีทั้งที่บริหารเองและร่วมกับพาร์ตเนอร์ ปีนี้จะเพิ่มอีก 20 แห่ง เน้นตามห้างสรรพสินค้า เพราะวางสินค้าเป็นไลฟ์สไตล์ ล่าสุดเปิดที่สยามสแควร์วัน เป็นสาขาใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์

- สภาพการแข่งขันล่ะ

ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเลตแข่งหนักแบรนด์ไอทีเริ่มเข้ามา ส่งผลดีกับซัมซุงและผู้บริโภค มีคนช่วยสื่อสารประโยชน์ของการใช้สมาร์ทดีไวซ์ ขณะที่ผู้บริโภคได้ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์

- เทียบความสำเร็จในไทยกับตลาดโลก

สำเร็จเหมือนกัน ต่างกันที่วิธี ตลาดไทยผู้บริโภคยังขาดความรู้เทคโนโลยี โปรดักต์อย่างเดียวคงขายไม่ได้ ต้องสื่อสารถูกต้อง ผู้ขายให้ข้อมูลกับลูกค้าเข้าใจง่ายได้หรือไม่ ทั้งหมดนี้เราตีโจทย์แตก ทำให้ไทยกลายเป็นสาขาที่สร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญให้กับบริษัทแม่ ส่วนความสำเร็จทั่วโลก เพราะโปรดักต์ที่ดี การสื่อสารการตลาดไม่ต้องทำมาก เข้าใจเทคโนโลยีกันอยู่แล้ว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406087646

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.