Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กรกฎาคม 2557 DTAC ระบุ มองถึงการนำ 4G LTE บนความถี่ 2100 GHz มาให้บริการในตอนนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานดาต้าให้แก่ลูกค้า ดีที่สุดต้อง 1800 MHz

ประเด็นหลัก

ในมุมของ ดีแทค มองถึงการนำ 4G LTE บนความถี่ 2.1 GHz มาให้บริการในตอนนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานดาต้าให้แก่ลูกค้า เพราะในแบนด์วิธจำนวนเท่ากัน ถ้านำมาใช้เชื่อมต่อกับ 3G ลูกค้าจะได้ความเร็วในระดับหนึ่ง แต่เมื่อมาเป็น 4G ก็จะได้ความเร็วในขั้นที่เสถียรมากขึ้น และรองรับปริมาณการใช้งานในพื้นที่เดียวกันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
   
       ปัญญา กล่าวเสริมว่า แผนลงทุน 4G ของดีแทค ในตอนนี้ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติม เพราะปัจจุบัน 300 สถานีฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ จนถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ถือว่าครอบคลุมการใช้งานแล้ว และปริมาณคนใช้งานก็ไม่ได้หนาแน่นจนมีความจำเป็นต้องเพิ่ม ซึ่งส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับดีไวส์ในระบบที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ เดียวกันด้วย เพราะในต่างจังหวัดหลายแห่งก็มีผู้ที่ใช้เครื่องรองรับ 4G
   
       'การลงทุน 4G ของดีแทค จะเริ่มจริงจังมากขึ้นหลังจากการประมูลความถี่ 1800 MHz ที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะถือเป็นช่วงความถี่ที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาให้บริการบนเทคโนโลยีดังกล่าว'
   
       อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่มีคำสั่งให้เลื่อนการประมูลความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ออกไปก่อน ทางเลขาธิการ กสทช.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ออกมาให้ข้อมูลว่า ผู้ให้บริการที่เคยมีสัมปทานอยู่บนความถี่เดิม สามารถที่จะนำความถี่เดิมมาทดลองให้บริการ 4G ไปก่อนได้ เพียงแต่จะไม่อยู่ในรูปแบบของการหาลูกค้าใหม่เข้ามาในระบบ โดยในมุมของโอเปอเรเตอร์อย่างเอไอเอส ที่ปัจจุบันเป็นรายเดียวที่ยังไม่มีการให้บริการ 4G ก็มองว่า ถ้ามีการเปิดโอกาสให้บริการ 4G บนความถี่ 1800 MHz ได้จริงก็สนใจ เพราะทางดีพีซี ที่เคยถือครองความถี่ดังกล่าวอยู่ ก็ยังเป็นมีสิทธิในการให้บริการ เพียงแต่ยังต้องรอประกาศที่จะแก้ไขรายละเอียดระหว่างการเยียวยาลูกค้า จากกสทช.ให้เรียบร้อยเสียก่อน
   
       ดังนั้นถ้าไม่มีการนำความถี่ 1800 MHz ที่หมดอายุสัมปทานไปตั้งแต่ปี 2556มาเปิดประมูล และปล่อยให้อยู่ในระหว่างขั้นตอนของการเยียวยาลูกค้า ก็แปลว่า ประชาชนเสียผลประโยชน์จากการที่ความถี่ถูกปล่อยทิ้งไว้ จากคำสั่งของคสช. ไปอีก 1 ปี ซึ่งถ้ามีแนวทางในการให้ผู้ประกอบการนำไปทดลองให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ ก็คงจะดีไม่ใช่น้อย














______________________________




'ไตรเน็ต' แค่เน็ตเวิร์กในฝัน ?!?(Cyber Weekend)



ปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

       แม้ว่าดีแทค จะไม่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งให้มีการเลื่อนประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz และเป็นผู้ให้บริการที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการ 3G อยู่มากที่สุด แต่กลับพบปัญหาจากผู้ใช้งานที่หลากหลายจากการเชื่อมต่อไปยังคลื่นที่ไม่เสถียร จนต้องมีการเปิดภารกิจ 'Dream Network’ ให้พนักงานคอยแจ้งพื้นที่อับสัญญาณ เพื่อให้ดีแทคกลายเป็นเครือข่ายที่ดีที่สุดให้ได้
     
       ปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้ข้อมูลความคืบหน้าล่าสุด ของการติดตั้งโครงข่าย 3G 2.1 GHz ของดีแทคว่า ปัจจุบันสถานีฐานเดิมที่ให้บริการ 2Gบนคลื่น ความถี่ 1800 MHz ทังหมดกว่า 1 หมื่นสถานีฐาน ติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณ 2.1 GHz ครอบคลุมหมดแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 5,000 สถานีฐานจะมีอุปกรณ์สัญญาณ 850 MHz อยู่ด้วย เพื่อให้บริการ 3 โครงข่ายตามชื่อของไตรเน็ต
     
       'ถ้านับความครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ 3G ความถี่ 2.1 GHz ของดีแทคในปัจจุบันจะอยู่ที่ราว 85% ของจำนวนประชากรแล้ว ซึ่งการลงทุนในช่วงต่อไปนี้ จะไม่ได้เน้นในแง่ของการขยายพื้นที่บริการให้ครอบคลุมมากกว่าเดิม เพราะเชื่อว่าปัจจุบันครอบคลุมตามพื้นที่ที่มีการใช้งานอยู่แล้ว แต่จะเน้นไปที่การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดพื้นที่อับสัญญาณให้มากที่สุด'
     
       เบื้องต้น ดีแทค มีแผนที่จะติดตั้งสถานีฐาน 2.1 GHz เพิ่มอีกราว 500 สถานีภายในสิ้นปีนี้ รวมกับสถานีฐานย่อย (Small Cell) ที่ช่วยกระจายสัญญาณอีกราว 250 จุด ซึ่งอยู่ภายใต้งบการลงทุนเครือข่าย 13,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ และอาจจะรวมไปถึงการลงทุนขยายสถานีฐาน 850 MHz เพิ่มเติมด้วย
     
       ปัญญากล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ของดีแทคคือ เรื่องระยะส่งสัญญาณของความถี่ 2.1 GHz เพราะดีแทคใช้การเพิ่มอุปกรณ์บนเสาส่งสัญญาณเดิมที่ให้บริการความถี่ 1800 MHz และ 850 MHz ซึ่งระยะการส่งสัญญาณของความถี่ 850 MHz จะครอบคลุมกว้างที่สุด รองลงมาคือ 1800 MHz และ 2.1 GHz ทำให้ยังมีพื้นที่บางจุดซึ่งอยู่ระหว่างสถานีฐานที่แต่เดิมสามารถใช้บริการ 3G ความถี่ 850 MHz ได้ แต่พอมาเป็น 2.1 GHz แล้วสัญญาณอ่อนลง หรือเปลี่ยนไปจับสัญญาณ 2G แทน
     
       'เมื่อมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทำให้ดีแทคต้องมีการปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการติดตั้งสถานีฐาน 2.1 GHz เสริมให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันได้มีการนำสถานีฐานย่อยมาร่วมติดตั้งเพื่อขยายสัญญาณด้วย จากที่แต่เดิมดีแทคไม่เคยนำมาติดตั้งใช้งานเลย'
     
       จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในแง่ของการให้บริการเครือข่าย ส่งผลให้อุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดีแทค จึงเลือกที่จะลงทุนในการติดตั้งสถานีฐานย่อยมาใช้ในการขยายพื้นที่สัญญาณให้ ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยการลากสายไฟเบอร์ออปติกจากสถานีฐานเดิม เข้าไปยังบางพื้นที่ที่อยู่ในจุดอับสัญญาณ หรือมีปริมาณการใช้งานหนาแน่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้เสถียรขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
     
       โดยทางดีแทค จะมีการรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้งานดาต้าของลูกค้า อย่างเช่น 10 จุดฮิตคนใช้เน็ตในกรุงเทพฯ10 จังหวัดที่มีการใช้งานดาต้าสูงที่สุด 10 จังหวัดที่มียอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุด เวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุด รวมไปถึงการเจาะลึกไปยังแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานดาต้าสูงที่สุด และยังมีในแง่ของการเติบโตอย่างเช่น 10 จังหวัดที่มีที่พักอาศัย มีประชากรหนาแน่น เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) และเส้นทางรถไฟรางคู่เป็นต้น
     
       ดังนั้นเมื่อมีการเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่เดิมให้เสถียรแล้ว ในอนาคตดีแทค ก็วางแผนที่จะขยายพื้นที่การให้บริการออกไปตามจังหวัดต่างๆ ที่มีปริมาณการใช้งานดาต้าสูง ตามแหล่งท่องเที่ยว และเขตอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน เพื่อช่วยส่งเสริมทั้งธุรกิจการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมให้สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วย

'ไตรเน็ต' แค่เน็ตเวิร์กในฝัน ?!?(Cyber Weekend)

       ***ลงทุนบนความถี่เก่า
     
       อีกแนวทางหนึ่งที่ดีแทค เตรียมไว้แก้ปัญหากรณีที่การวางสถานีฐาน 2.1 GHz ไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้สมบูรณ์แบบ ก็ได้มีการเปิดทางให้เพิ่มแผนการลงทุนสถานีฐาน 3G บนคลื่น 850 MHz เพิ่มเติม จากที่หยุดลงทุนมาหลังได้ใบอนุญาต 2.1 GHz โดยดีแทคมองว่ากับระยะเวลาเกือบ 5 ปี บนสัญญาสัมปทาน ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่คุ้มในการลงทุน เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ดีที่สุด
     
       'ตอนนี้ลูกค้าที่ยังใช้งานดีแทคเดิมอยู่ จะเชื่อมต่อได้กับสถานีฐานที่เป็น 850 MHz และ 1800 MHz เท่านั้น และจะมองไม่เห็นเครือข่ายดีแทค ไตรเน็ต บน 2.1 GHz ทำให้มีลูกค้าส่วนหนึ่งไม่สามารถใช้งาน 3G บนพื้นที่ของ 2.1 GHz ที่ขยายเพิ่มขึ้นไปได้ แต่ในขณะที่ลูกค้าดีแทค ไตรเน็ต จะสามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง 3 คลื่น'
     
       ***ดึงพนักงานช่วยสร้าง ‘ดรีมเน็ตเวิร์ก’
     
       ขณะเดียวกัน เพื่อให้องค์กรสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดีแทค มีการตั้งทีมงานประมาณ 30 คนขึ้นมา เพื่อรับเรื่องร้องเรียนปัญหาการใช้งานในสถานที่ต่างๆจากพนักงานดีแทค ผ่านหน้าเว็บไซต์เพื่อคอยรายงานปัญหา พร้อมพิกัดแผนที่จากบนสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยให้ดีแทค สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงได้ทันที
     
       'เบื้องต้นภารกิจดรีมเน็ตเวิร์ก จะมอบหมายให้แก่พนักงานของดีแทคก่อน ส่วนในอนาคตอาจจะมีการเปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับดีแทค เช่นลูกค้า เข้ามาร่วมด้วย ส่วนลูกค้าทั่วไปก็จะมีช่องทางการแจ้งปัญหาเดิมอยู่แล้วทั้งผ่านคอลเซ็นเคอร์ และช่องทางออนไลน์ต่างๆ'
     
       โดยเมื่อมีการแจ้งข้อมูลเข้ามา ทีมงานภายในก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ดูว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากอะไร เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เช่น ถ้ามีการแจ้งเหตุเข้ามาว่า เมื่อใช้สายไปสักพักในจุดเดิมๆแล้วสัญญาณจะหาย กับ อีกรายที่แจ้งเข้ามาว่าสัญญาณหายในหลายๆจุด ดีแทคก็จะให้ความสำคัญกับจุดที่มีการใช้งานเป็นประจำก่อน

'ไตรเน็ต' แค่เน็ตเวิร์กในฝัน ?!?(Cyber Weekend)

       *** 4G LTE เฝ้ารอความถี่ 1800 MHz
     
       ในมุมของ ดีแทค มองถึงการนำ 4G LTE บนความถี่ 2.1 GHz มาให้บริการในตอนนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานดาต้าให้แก่ลูกค้า เพราะในแบนด์วิธจำนวนเท่ากัน ถ้านำมาใช้เชื่อมต่อกับ 3G ลูกค้าจะได้ความเร็วในระดับหนึ่ง แต่เมื่อมาเป็น 4G ก็จะได้ความเร็วในขั้นที่เสถียรมากขึ้น และรองรับปริมาณการใช้งานในพื้นที่เดียวกันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
     
       ปัญญา กล่าวเสริมว่า แผนลงทุน 4G ของดีแทค ในตอนนี้ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติม เพราะปัจจุบัน 300 สถานีฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ จนถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ถือว่าครอบคลุมการใช้งานแล้ว และปริมาณคนใช้งานก็ไม่ได้หนาแน่นจนมีความจำเป็นต้องเพิ่ม ซึ่งส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับดีไวส์ในระบบที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ เดียวกันด้วย เพราะในต่างจังหวัดหลายแห่งก็มีผู้ที่ใช้เครื่องรองรับ 4G
     
       'การลงทุน 4G ของดีแทค จะเริ่มจริงจังมากขึ้นหลังจากการประมูลความถี่ 1800 MHz ที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะถือเป็นช่วงความถี่ที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาให้บริการบนเทคโนโลยีดังกล่าว'
     
       อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่มีคำสั่งให้เลื่อนการประมูลความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ออกไปก่อน ทางเลขาธิการ กสทช.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ออกมาให้ข้อมูลว่า ผู้ให้บริการที่เคยมีสัมปทานอยู่บนความถี่เดิม สามารถที่จะนำความถี่เดิมมาทดลองให้บริการ 4G ไปก่อนได้ เพียงแต่จะไม่อยู่ในรูปแบบของการหาลูกค้าใหม่เข้ามาในระบบ โดยในมุมของโอเปอเรเตอร์อย่างเอไอเอส ที่ปัจจุบันเป็นรายเดียวที่ยังไม่มีการให้บริการ 4G ก็มองว่า ถ้ามีการเปิดโอกาสให้บริการ 4G บนความถี่ 1800 MHz ได้จริงก็สนใจ เพราะทางดีพีซี ที่เคยถือครองความถี่ดังกล่าวอยู่ ก็ยังเป็นมีสิทธิในการให้บริการ เพียงแต่ยังต้องรอประกาศที่จะแก้ไขรายละเอียดระหว่างการเยียวยาลูกค้า จากกสทช.ให้เรียบร้อยเสียก่อน
     
       ดังนั้นถ้าไม่มีการนำความถี่ 1800 MHz ที่หมดอายุสัมปทานไปตั้งแต่ปี 2556มาเปิดประมูล และปล่อยให้อยู่ในระหว่างขั้นตอนของการเยียวยาลูกค้า ก็แปลว่า ประชาชนเสียผลประโยชน์จากการที่ความถี่ถูกปล่อยทิ้งไว้ จากคำสั่งของคสช. ไปอีก 1 ปี ซึ่งถ้ามีแนวทางในการให้ผู้ประกอบการนำไปทดลองให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ ก็คงจะดีไม่ใช่น้อย
     


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000083413

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.