Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กรกฎาคม 2557 (บทความ) คสช.จัดระเบียบใหญ่กสทช.คัดหางเสือองค์กร // อำนาจหน้าที่การจัดสรรคลื่นความถี่ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมสื่อที่มีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท และเชื่อมโยงกับทั้งมิติทางด้านสังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ตลอดจนด้านความมั่นคง จึงไม่พ้นที่กสทช.จะถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา

ประเด็นหลัก


 -เส้นทางวิบาก"องค์กรจัดสรรคลื่นฯ"
    หลักการ"คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ" เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญปี 2540 ในกระแสการปฏิรูปสื่อครั้งแรก เพื่อให้สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นอิสระจากรัฐ และกำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่"จัดสรรคลื่นความถี่"ใหม่ จากเดิมที่อยู่ในกำกับของหน่วยงานของรัฐโดยสิ้นเชิง
    กฎหมายลูกว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ยุครัฐธรรมนูญปี 2540 ออกแบบให้มี 2 องค์กรแยกจากกันคือ คณะกรรมการกำกับดูแลเกี่ยวกับกิจการวิทยุและวิทยุโทรทัศน์คณะหนึ่ง กับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม อีกคณะหนึ่ง  ซึ่งปรากฏว่าสามารถจัดตั้งได้เพียงกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมได้เป็นผลสำเร็จ ขณะที่การสรรหาเพื่อตั้งกรรมการมากำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ถูกร้องคัดค้านตลอด
    กระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกฉีก จนเกิดรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยกรณีของคลื่นความถี่ยังคงหลักการเดิมไว้ ในการยกร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ จึงได้ออกแบบให้มีกรรมการชุดเดียว ดูแลคลื่นเพื่อการสื่อสารทุกประเภท เพื่อให้การจัดตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นเกิดขึ้นได้ จนได้กสทช.ชุดปัจจุบัน ซึ่งแบ่งงานเป็น 2 ส่วนดังกล่าว เพื่อเร่งสะสางและวางระบบเพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    อำนาจหน้าที่การจัดสรรคลื่นความถี่ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมสื่อที่มีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท และเชื่อมโยงกับทั้งมิติทางด้านสังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ตลอดจนด้านความมั่นคง จึงไม่พ้นที่กสทช.จะถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา    
-ยกเครื่องใหม่
    เงื้อมเงาของคสช.เหนือกสทช.ที่กลายเป็นประเด็นฮือฮาครั้งแรก คือกรณีการถ่ายทอดสัญญาณการแข่งขันฟุตบอลโลกที่บราซิล  มีกระแสข่าวว่าคสช.ส่งสัญญาณให้กสทช. เจรจาอาร์เอส เพื่อขอให้ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกทุกแมตช์ตลอดทัวร์นาเมนต์ ผ่านทางฟรีทีวี เพื่อคืนความสุขให้คนไทย จึงมีปฏิบัติการเจรจาด่วนทันที ก่อนได้ข้อสรุปในวันรุ่งขึ้นว่า กสทช.ยินดีจ่ายชดเชยให้อาร์เอสในวงเงินไม่เกิน 427 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.)  ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อื้ออึงทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
 alt-สั่งเบรก 4 โครงการใหญ่
    คล้อยหลังเรื่องฟุตบอลโลกได้ไม่นาน กสทช.  ส่งเรื่องการดำเนินโครงการหลักของ กสทช. จำนวน 4 โครงการ ให้คตร.ตรวจสอบกลั่นกรอง ได้แก่  1.การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท
    2.การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาท และ 8,445 ล้านบาท  3.โครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(โครงการยูโซ่) มูลค่า 20,468 ล้านบาท ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 4 ปี และ  4.การแจกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทย มูลค่า 25,000 ล้านบาท
 -เรียกคืนเงินประมูลทีวีดิจิตอล
    ไม่เพียงเท่านี้ คสช. มีประกาศฉบับที่ 80/2557 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีสาระสำคัญ คือ ให้เงินได้จากการประมูลคลื่นความถี่ก่อนวันที่ประกาศ คสช.นี้บังคับใช้ หากยังมิได้นำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ภายใน 15 วัน
    ในเรื่องนี้นายฐากร ตัณฑสิทธิ์  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เคยให้สัมภาษณ์กับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อประกาศฉบับดังกล่าวออกมาบังคับใช้  จึงได้เดินทางเข้าพบ คสช.เพื่อหารือรายละเอียดแนวปฏิบัติในเรื่องนี้แล้ว มีข้อสรุปร่วมโดยความเห็นชอบจาก คสช.ว่า เงินได้จากการประมูลช่องทีวีดิจิตอล 24 ช่อง รวม  5.086 หมื่นล้านบาท  ผู้ชนะประมูลได้จ่ายงวดแรกแล้วประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท และนำส่งเข้า กทปส.แล้วนั้น จะกันไว้เพื่อรองรับโครงการแจกคูปอง ส่วนที่เหลือในงวดถัด ๆ ไปจึงจะนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินตามคำสั่งคสช.ต่อไป
-เบรกประมูลคลื่น 900/1800
    ล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช.ออกประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 94/2557 เรื่อง การระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมเรื่องให้ กสทช. ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลา 1ปีนับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้  ในระหว่างชะลอการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัมปทาน ให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
    เมื่อมีคำสั่งให้ชะลอการประมูลออกไป ย่อมกระทบกับแผนธุรกิจของค่ายมือถืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้บริหารค่ายเอไอเอส ออกมาเปิดเผยเลื่อนประมูล 4 จี เห็นว่าเป็นเรื่องดี เพราะมีความชัดเจนว่าจะมีการประมูลเกิดขึ้นแน่ และการเลื่อนก็ไม่ได้รับผลกระทบ แต่อย่างไร เพราะเราได้มีแผนรองรับอยู่แล้ว
    การปฏิรูปโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ต้องจับตาดูว่าใครได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเบรกประมูลคลื่น 900 และ 1800  แม้เบอร์ 1 อย่าง "เอไอเอส" จะเสียเปรียบกว่า ดีแทค และ ทรูมูฟ แต่อย่าลืมว่า เอไอเอส เคยผ่านประสบการณ์มาแล้ว แต่ที่สำคัญที่สุด การปฏิรูปครั้งนี้ต้องส่งเสริมให้ กสทช.เป็นองค์กร"อิสระ"เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง !!
















______________________________




คสช.จัดระเบียบใหญ่กสทช.คัดหางเสือองค์กร



 กสทช.หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  องค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 นับเป็นองค์กรอิสระเดียว ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยื่นมือเข้ามาจัดระเบียบครั้งใหญ่
  alt  ตั้งแต่การเรียกดูข้อมูล 4 แผนการลงทุนใหญ่ของหน่วยงาน ในล็อตเดียวกับที่สั่งให้รัฐวิสาหกิจส่งแผนโครงการมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.) ที่คสช.ตั้งขึ้นมาตรวจสอบกลั่นกรองโครงการของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อสร้างความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ออกคำสั่งให้โอนรายได้การประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิตอลกว่า 5 หมื่นล้านบาท เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เปลี่ยนกรรมการบริหารกองทุนกทปส. จนถึงสั่งเลื่อนการประมูลคลื่น4 จีไป 1 ปี ท่ามกลางคำถามว่า กสทช.จะยังมุ่งหน้าสู่เป้าหมายดังความคาดหวังของสังคม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ภายใต้หลักการ"คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ" ต่อไปหรือไม่

 -เส้นทางวิบาก"องค์กรจัดสรรคลื่นฯ"
    หลักการ"คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ" เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญปี 2540 ในกระแสการปฏิรูปสื่อครั้งแรก เพื่อให้สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นอิสระจากรัฐ และกำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่"จัดสรรคลื่นความถี่"ใหม่ จากเดิมที่อยู่ในกำกับของหน่วยงานของรัฐโดยสิ้นเชิง
    กฎหมายลูกว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ยุครัฐธรรมนูญปี 2540 ออกแบบให้มี 2 องค์กรแยกจากกันคือ คณะกรรมการกำกับดูแลเกี่ยวกับกิจการวิทยุและวิทยุโทรทัศน์คณะหนึ่ง กับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม อีกคณะหนึ่ง  ซึ่งปรากฏว่าสามารถจัดตั้งได้เพียงกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมได้เป็นผลสำเร็จ ขณะที่การสรรหาเพื่อตั้งกรรมการมากำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ถูกร้องคัดค้านตลอด
    กระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกฉีก จนเกิดรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยกรณีของคลื่นความถี่ยังคงหลักการเดิมไว้ ในการยกร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ จึงได้ออกแบบให้มีกรรมการชุดเดียว ดูแลคลื่นเพื่อการสื่อสารทุกประเภท เพื่อให้การจัดตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นเกิดขึ้นได้ จนได้กสทช.ชุดปัจจุบัน ซึ่งแบ่งงานเป็น 2 ส่วนดังกล่าว เพื่อเร่งสะสางและวางระบบเพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    อำนาจหน้าที่การจัดสรรคลื่นความถี่ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมสื่อที่มีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท และเชื่อมโยงกับทั้งมิติทางด้านสังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ตลอดจนด้านความมั่นคง จึงไม่พ้นที่กสทช.จะถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา      
-ยกเครื่องใหม่
    เงื้อมเงาของคสช.เหนือกสทช.ที่กลายเป็นประเด็นฮือฮาครั้งแรก คือกรณีการถ่ายทอดสัญญาณการแข่งขันฟุตบอลโลกที่บราซิล  มีกระแสข่าวว่าคสช.ส่งสัญญาณให้กสทช. เจรจาอาร์เอส เพื่อขอให้ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกทุกแมตช์ตลอดทัวร์นาเมนต์ ผ่านทางฟรีทีวี เพื่อคืนความสุขให้คนไทย จึงมีปฏิบัติการเจรจาด่วนทันที ก่อนได้ข้อสรุปในวันรุ่งขึ้นว่า กสทช.ยินดีจ่ายชดเชยให้อาร์เอสในวงเงินไม่เกิน 427 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.)  ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อื้ออึงทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
 alt-สั่งเบรก 4 โครงการใหญ่
    คล้อยหลังเรื่องฟุตบอลโลกได้ไม่นาน กสทช.  ส่งเรื่องการดำเนินโครงการหลักของ กสทช. จำนวน 4 โครงการ ให้คตร.ตรวจสอบกลั่นกรอง ได้แก่  1.การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท
    2.การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาท และ 8,445 ล้านบาท  3.โครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(โครงการยูโซ่) มูลค่า 20,468 ล้านบาท ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 4 ปี และ  4.การแจกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทย มูลค่า 25,000 ล้านบาท
 -เรียกคืนเงินประมูลทีวีดิจิตอล
    ไม่เพียงเท่านี้ คสช. มีประกาศฉบับที่ 80/2557 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีสาระสำคัญ คือ ให้เงินได้จากการประมูลคลื่นความถี่ก่อนวันที่ประกาศ คสช.นี้บังคับใช้ หากยังมิได้นำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ภายใน 15 วัน
    ในเรื่องนี้นายฐากร ตัณฑสิทธิ์  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เคยให้สัมภาษณ์กับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อประกาศฉบับดังกล่าวออกมาบังคับใช้  จึงได้เดินทางเข้าพบ คสช.เพื่อหารือรายละเอียดแนวปฏิบัติในเรื่องนี้แล้ว มีข้อสรุปร่วมโดยความเห็นชอบจาก คสช.ว่า เงินได้จากการประมูลช่องทีวีดิจิตอล 24 ช่อง รวม  5.086 หมื่นล้านบาท  ผู้ชนะประมูลได้จ่ายงวดแรกแล้วประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท และนำส่งเข้า กทปส.แล้วนั้น จะกันไว้เพื่อรองรับโครงการแจกคูปอง ส่วนที่เหลือในงวดถัด ๆ ไปจึงจะนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินตามคำสั่งคสช.ต่อไป
-เบรกประมูลคลื่น 900/1800
    ล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช.ออกประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 94/2557 เรื่อง การระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมเรื่องให้ กสทช. ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลา 1ปีนับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้  ในระหว่างชะลอการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัมปทาน ให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
    เมื่อมีคำสั่งให้ชะลอการประมูลออกไป ย่อมกระทบกับแผนธุรกิจของค่ายมือถืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้บริหารค่ายเอไอเอส ออกมาเปิดเผยเลื่อนประมูล 4 จี เห็นว่าเป็นเรื่องดี เพราะมีความชัดเจนว่าจะมีการประมูลเกิดขึ้นแน่ และการเลื่อนก็ไม่ได้รับผลกระทบ แต่อย่างไร เพราะเราได้มีแผนรองรับอยู่แล้ว
    การปฏิรูปโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ต้องจับตาดูว่าใครได้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเบรกประมูลคลื่น 900 และ 1800  แม้เบอร์ 1 อย่าง "เอไอเอส" จะเสียเปรียบกว่า ดีแทค และ ทรูมูฟ แต่อย่าลืมว่า เอไอเอส เคยผ่านประสบการณ์มาแล้ว แต่ที่สำคัญที่สุด การปฏิรูปครั้งนี้ต้องส่งเสริมให้ กสทช.เป็นองค์กร"อิสระ"เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง !!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=239901:2014-07-23-07-07-58&catid=94:2009-02-08-11-26-28&Itemid=417#.U9XPqlZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.