Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 สิงหาคม 2557 PSI คาดว่ายอดขายทั้งปีจะมากกว่า 4.1 ล้านกล่อง แผนการตลาดครึ่งปีเน้นเพิ่มช่องรายการคมชัดสูง (HD) จาก 21 ช่อง // IPM ตั้งเป้าว่าในสิ้นปีนี้จะมียอดขายกล่องเพิ่มอีก 1 ล้านกล่อง

ประเด็นหลัก


ด้านผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียม นายวรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการจานดาวเทียม PSI กล่าวว่า แพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมรับชมช่องทีวีดิจิทัลได้ด้วย ทำให้ยอดขายจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ PSI เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ เม.ย.ที่ผ่านมา จากเดือนละ 2.7 แสนกล่อง เพิ่มเป็น 3.2 แสนกล่อง และ มิ.ย.ถึง 4.5 แสนกล่อง คาดว่ายอดขายทั้งปีจะมากกว่า 4.1 ล้านกล่อง

ส่วนการต้องปรับเป็นผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิก ทำให้เวลาโฆษณาจำกัดเหลือแค่ 6 นาทีต่อชั่วโมง แต่ไม่กระทบกับ PSI เพราะยังมีจุดยืนเดิมที่ให้ผู้บริโภคได้ดูรายการฟรีเหมือนเดิม แต่เน้นคอนเทนต์ที่ดึงดูดมากขึ้น

"แผนการตลาดครึ่งปีเน้นเพิ่มช่องรายการคมชัดสูง (HD) จาก 6 ช่อง เป็น 21 ช่อง และเจรจากับต่างประเทศที่สนใจเข้ามาร่วมทุนด้านคอนเทนต์ เพราะยุคนี้ถือว่า Content is king ต้องมีคอนเทนต์ดี ๆ ไว้ดึงลูกค้า และเตรียมเปิดแคมเปญดัมพ์ราคากล่องรับสัญญาณ HD ให้ลงมาเหลือราว 1,200 บาทใกล้เคียงกล่องทีวีดิจิทัล"

ขณะที่นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายระบบจานดาวเทียมภายใต้แบรนด์ "IPM" (จานส้ม) กล่าวว่า ทีวีดิจิทัลทำให้ช่องทีวีดาวเทียมต้องปรับตัวอย่างมาก ช่วงก่อนนี้ก็ได้รับผลกระทบจากประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เกี่ยวกับทีวีดาวเทียม ทำให้ยอดขายชะลอตัวไประยะหนึ่ง แต่จะดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ซึ่งตามแผนธุรกิจของบริษัทจะเน้นการเพิ่มช่อง HD พร้อมจัดแคมเปญกระตุ้นตลาด โดยชูจุดเด่นด้านช่อง HD บนกล่องรับสัญญาณดาวเทียม IPM

"IPM เป็นทีวีดาวเทียมที่มีช่อง HD เยอะที่สุด จาก 30 ช่องตอนนี้ เราจะเพิ่มเป็น 60 ช่อง เพราะตลาด HD ปีนี้เติบโตขึ้นกว่า 200-300% เมื่อเทียบกับช่อง SD (ความคมชัดปกติ) จึงต้องปรับตัวให้ทันเทรนด์ ส่วนฐานมีอยู่ 3.7 ล้านราย ตั้งเป้าว่าในสิ้นปีนี้จะมียอดขายกล่องเพิ่มอีก 1 ล้านกล่อง"





______________________________




"เคเบิล-ทีวีดาวเทียม"ปรับกลยุทธ์ เพิ่มช่องHDผุดคอนเทนต์พรีเมี่ยมสู้ศึกดิจิทัลทีวี


"เคเบิลทีวี-ทีวีดาวเทียม" ปรับตัวรับดีกรีแข่งดุปะทุ หลัง "ดิจิทัลทีวี" แย่งฐานลูกค้า-ชิงเม็ดเงินโฆษณา "เจริญเคเบิลทีวี" ลงทุนเพิ่ม 70 ล้านบาทอัพเกรดระบบเป็นดิจิทัล-เล็งขึ้นค่าบริการรายเดือน "พีเอสไอ" ดึงพันธมิตรต่างประเทศผลิตคอนเทนต์ และเพิ่มช่อง HD "โรสมีเดีย" ตั้งบริษัทใหม่แยกการบริหาร ฟาก "มงคลชาแนล" เพิ่มรายการใหม่-ขึ้นค่าโฆษณา

นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ผู้ให้บริการ "เจริญเคเบิลทีวี" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลที่ออกอากาศแล้ว 27 ช่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั้งรายเล็กและรายใหญ่ประสบปัญหา เพราะจำนวนช่องฟรีทีวีไม่ต่างจากเคเบิลทีวีมากนัก ประกอบกับประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แคร์รี่) บังคับให้แพลตฟอร์มทีวีอื่นนำช่องทีวีดิจิทัลไปออกอากาศด้วย เป็นภาระให้ผู้ประกอบการ เนื่องจากระบบเคเบิลทีวีรองรับได้ 50-80 ช่องเท่านั้น การมัสต์แคร์รี่ช่องทีวีดิจิทัลจึงเบียดช่องรายการเดิมหายไปเกือบครึ่ง

เคเบิลทีวีท้องถิ่นดิ้นสู้

"เมื่อจำนวนช่องทีวีไม่ต่าง ทำให้ผู้บริโภคเริ่มลดลง เจริญเคเบิลทีวีต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจ โดยเตรียมเงินลงทุน 70 ล้านบาท สำหรับเปลี่ยนระบบออกอากาศจากแอนะล็อกมาเป็นดิจิทัล เพื่อให้คุณภาพการออกอากาศดีขึ้น ซึ่งต้องลงทุนทั้งโครงข่าย ห้องส่ง และต้องแจกกล่องรับสัญญาณ (Set-Top-Box) ใหม่ให้ลูกค้าด้วย โดยเริ่มทยอยแจกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และต้องซื้อคอนเทนต์ลิขสิทธิ์ที่มีคุณภาพให้แตกต่างจากฟรีทีวีและดาวเทียม แต่อาจทำให้บริษัทต้องเพิ่มค่าบริการรายเดือน จาก 300 บาท เป็น 350 บาท"

ปัจจุบันมีฐานลูกค้าราว 5 แสนราย ในปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ ขณะที่การลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน มีมูลค่าราว 100 ล้านบาท

"เคเบิลทีวีเจ้าใหญ่ไม่น่าเป็นห่วง แต่รายเล็กน่าเป็นห่วงมาก หลายรายต้องหันมาจับมือกับเจริญเคเบิลทีวี เพื่อดึงสัญญาณดิจิทัลไปออกอากาศด้วย เพราะลงทุนเองไม่ไหว ทางรอดคือต้องให้ผู้บริโภครับรู้ว่าเปลี่ยนระบบการออกอากาศเป็นดิจิทัลแล้วทำให้คุณภาพคมชัดขึ้น มีคอนเทนต์แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร"

พีเอสไอ-IPM เพิ่มช่อง HD

ด้านผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียม นายวรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการจานดาวเทียม PSI กล่าวว่า แพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมรับชมช่องทีวีดิจิทัลได้ด้วย ทำให้ยอดขายจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ PSI เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ เม.ย.ที่ผ่านมา จากเดือนละ 2.7 แสนกล่อง เพิ่มเป็น 3.2 แสนกล่อง และ มิ.ย.ถึง 4.5 แสนกล่อง คาดว่ายอดขายทั้งปีจะมากกว่า 4.1 ล้านกล่อง

ส่วนการต้องปรับเป็นผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิก ทำให้เวลาโฆษณาจำกัดเหลือแค่ 6 นาทีต่อชั่วโมง แต่ไม่กระทบกับ PSI เพราะยังมีจุดยืนเดิมที่ให้ผู้บริโภคได้ดูรายการฟรีเหมือนเดิม แต่เน้นคอนเทนต์ที่ดึงดูดมากขึ้น

"แผนการตลาดครึ่งปีเน้นเพิ่มช่องรายการคมชัดสูง (HD) จาก 6 ช่อง เป็น 21 ช่อง และเจรจากับต่างประเทศที่สนใจเข้ามาร่วมทุนด้านคอนเทนต์ เพราะยุคนี้ถือว่า Content is king ต้องมีคอนเทนต์ดี ๆ ไว้ดึงลูกค้า และเตรียมเปิดแคมเปญดัมพ์ราคากล่องรับสัญญาณ HD ให้ลงมาเหลือราว 1,200 บาทใกล้เคียงกล่องทีวีดิจิทัล"

ขณะที่นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายระบบจานดาวเทียมภายใต้แบรนด์ "IPM" (จานส้ม) กล่าวว่า ทีวีดิจิทัลทำให้ช่องทีวีดาวเทียมต้องปรับตัวอย่างมาก ช่วงก่อนนี้ก็ได้รับผลกระทบจากประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เกี่ยวกับทีวีดาวเทียม ทำให้ยอดขายชะลอตัวไประยะหนึ่ง แต่จะดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ซึ่งตามแผนธุรกิจของบริษัทจะเน้นการเพิ่มช่อง HD พร้อมจัดแคมเปญกระตุ้นตลาด โดยชูจุดเด่นด้านช่อง HD บนกล่องรับสัญญาณดาวเทียม IPM

"IPM เป็นทีวีดาวเทียมที่มีช่อง HD เยอะที่สุด จาก 30 ช่องตอนนี้ เราจะเพิ่มเป็น 60 ช่อง เพราะตลาด HD ปีนี้เติบโตขึ้นกว่า 200-300% เมื่อเทียบกับช่อง SD (ความคมชัดปกติ) จึงต้องปรับตัวให้ทันเทรนด์ ส่วนฐานมีอยู่ 3.7 ล้านราย ตั้งเป้าว่าในสิ้นปีนี้จะมียอดขายกล่องเพิ่มอีก 1 ล้านกล่อง"

ช่องรายการปรับผัง

ฟากเจ้าของช่องรายการบนเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม นางอรพรรณ มนต์พิชิต บวรวัฒนะ รองประธานบริหารสายงานลิขสิทธิ์และทีวี บริษัท โรสมีเดีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารช่อง "แก๊งการ์ตูน" กล่าวว่า ผลกระทบจากทีวีดิจิทัลโดยตรงน่าจะเป็นเรื่องการซื้อเวลาโฆษณาที่มีช่องทีวีดิจิทัลเข้ามาเป็นทางเลือก ภาพรวมช่องทีวีดาวเทียมยังไปได้ดี ถ้ากระทบก็จะเป็นช่องประเภทวาไรตี้ จากการเพิ่มขึ้นของทีวีดิจิทัลช่องวาไรตี้ แต่โรสมีเดียเน้นผู้ชมเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว และยังเพิ่มการซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ที่เน้นเฉพาะกลุ่มและการ์ตูนเรื่องใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ"

ต้น ส.ค.นี้จะเปิดตัวบริษัทใหม่ โรส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น (REC) ดูแลเกี่ยวกับมีเดีย บรอดแคสติ้ง เพื่อเสริมศักยภาพและให้คล่องตัวขึ้น โดย REC จะดูแลกระบวนการผลิตและการออกอากาศของช่องทีวีดาวเทียมของโรสมีเดียอย่างช่องแก๊งการ์ตูนและช่อง 4050 รวมถึงสื่อใหม่ในอนาคต พร้อมเป็นผู้จัดการถือลิขสิทธิ์การ์ตูนจากต่างประเทศ และแคแร็กเตอร์การ์ตูน ส่วนบริษัทโรสมีเดียเดิมดูแลคอนเทนต์ในประเทศ โฮมวีดิโอ และลิขสิทธิ์เพลง คาดว่าโครงสร้างใหม่จะช่วยให้รายได้บริษัทโตขึ้น 5-10%

นายคูณพลิส จารุจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยมงคล มัลติมีเดีย จำกัด ช่องมงคลแชนแนล และ Happy home TV กล่าวว่า บริษัทต้องเร่งพัฒนาคอนเทนต์ให้แข่งกับช่องอื่นได้ ตั้งแต่ ก.ย. นี้จะเห็นผังรายการใหม่ที่จะใช้รับมือทีวีดิจิทัล และให้บริษัทติด 1 ใน 5 ช่องทีวีดาวเทียมที่ได้รับความนิยมให้ได้ เนื่องจากการปรับตัวเป็นเพย์ทีวีเหลือเวลาโฆษณาแค่ 6 นาที/ชั่วโมง ทำให้สูญเสียรายได้ส่วนหนึ่ง จึงอาจปรับค่าโฆษณา และปรับรูปแบบรายใหม่ นำภาพยนตร์ใหม่ ๆ ละครสั้น วาไรตี้ทอล์กโชว์เข้ามาเสริม โดยเพิ่มภาพยนตร์เป็น 8 เรื่องต่อวัน จาก 6 เรื่อง


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1407048806

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.