Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 สิงหาคม 2557 TDRI.สมเกียรติ ระบุ ณะที่มาตรา 46 ที่ระบุให้การถือครองคลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปดำเนินการแทน ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข

ประเด็นหลัก



ขณะที่มาตรา 46 ที่ระบุให้การถือครองคลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปดำเนินการแทน ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่ได้เป็นอุปสรรคในการให้บริการแบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) เพียงแต่ต้องใช้คลื่นภายใต้การบริหารของผู้ที่ถือใบอนุญาต

แต่กรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะช่วยรัฐวิสาหกิจให้อยู่รอด แม้เป็นเรื่องดี แต่ถ้าใช้การแก้กฎหมายเพื่อเอื้อให้รัฐวิสาหกิจหรือเข้าไปสนับสนุนด้านเงินทุน จะเป็นการบิดเบือนอุตสาหกรรม ทำให้เอกชนที่ทำธุรกิจอยู่เดิมไม่มีความเท่าเทียมทางธุรกิจ วิธีที่ถูกต้องคือต้องปรับโครงสร้างองค์กร ขจัดปัญหาคอร์รัปชั่น เพื่อให้การดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น




______________________________




TDRI ชงแก้กม.ตรวจสอบ "กสทช." เร่งปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ



ทีดีอาร์ไอย้ำ "ประมูล" คือวิธีจัดสรรคลื่นที่ดีที่สุดในประเทศที่มีคอร์รัปชั่น จี้แก้กฏหมายเพิ่มอำนาจตรวจสอบ กสทช. แนะ คสช. ปรับโครงสร้าง-กำจัดคนโกงในรัฐวิสาหกิจ "ฟรอสต์ฯ" เผยเลื่อนประมูล 4G ทำไทยเสียโอกาสทางธุรกิจ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้วิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ. กสทช.) เพราะการประมูลเป็นวิธีที่โปร่งใสมากที่สุด และขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นได้

"ประเทศเรามีระบบวิ่งเต้น ถ้าเกิดเปิดโอกาสให้มีบิวตี้คอนเทสต์หรือการประกวดคุณสมบัติ คงมีเอกชนวิ่งเต้นกันเพียบ และสมัยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งยังไม่ได้มีกฎหมายระบุให้ต้องใช้การประมูลเพื่อจัดสรรคลื่น กทช.ก็ยังเลือกวิธีจัดประมูลเพื่อจัดสรรคลื่น 2.1 GHz เพราะโปร่งใสตรวจสอบได้"

สิ่งที่ควรแก้ไขใน พ.ร.บ. กสทช. คือการตรวจสอบ กสทช.จากภาคประชาชน เพื่อให้การทำงานของ กสทช. โปร่งใสขึ้น เพราะเท่าที่ระบุไว้เดิมไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาทิ การกำหนดให้ กสทช.ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน แต่ก็ไม่ได้ทำและไม่มีใครเอาผิดได้

ขณะที่มาตรา 46 ที่ระบุให้การถือครองคลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปดำเนินการแทน ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่ได้เป็นอุปสรรคในการให้บริการแบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) เพียงแต่ต้องใช้คลื่นภายใต้การบริหารของผู้ที่ถือใบอนุญาต

แต่กรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะช่วยรัฐวิสาหกิจให้อยู่รอด แม้เป็นเรื่องดี แต่ถ้าใช้การแก้กฎหมายเพื่อเอื้อให้รัฐวิสาหกิจหรือเข้าไปสนับสนุนด้านเงินทุน จะเป็นการบิดเบือนอุตสาหกรรม ทำให้เอกชนที่ทำธุรกิจอยู่เดิมไม่มีความเท่าเทียมทางธุรกิจ วิธีที่ถูกต้องคือต้องปรับโครงสร้างองค์กร ขจัดปัญหาคอร์รัปชั่น เพื่อให้การดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้าน นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านไอซีที บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวว่า การเลื่อนประมูล 4G ถือเป็นการเสียโอกาสของประเทศ โดยเฉพาะด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ที่จะได้ใช้ประโยชน์จากโมบายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น อาทิ การนำไปใช้สนับสนุนทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะทำให้เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาค "เมดิคอลฮับ" ต้องชะลอไปก่อน

จากการประเมินของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดว่าการที่ไม่มี 4G ทำให้สูญเสียโอกาสจ้างงานไปราว 15,000 ตำแหน่ง เช่น อาชีพด้านวิศวกรรมโครงข่าย รวมทั้งสูญเสียโอกาสทางธุรกิจมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะ 4G เป็น

สิ่งหนึ่งที่ต่างชาติจะใช้พิจารณาตัดสินใจการลงทุน แต่กระทบทันทีคือ ตลาดโมบายดีไวซ์ ที่เตรียมนำสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G มาทำตลาด



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1407216705

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.