Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 สิงหาคม 2557 TRUE ระดมทุน มูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนหนี้และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หากมีหุ้นเหลือ CP ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะใส่เงินแทน เพื่อให้ได้เงินตามแผนเพิ่มทุนทั้งหมด

ประเด็นหลัก


นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เปิดเผยว่า บริษัทเดินหน้าปรับโครงสร้างการเงินให้เสร็จสมบูรณ์ ด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนกว่า 1 หมื่นล้านหุ้น เพื่อระดมเงิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณมูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนหนี้และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

"ต่อไปทรูจะไม่มีปัญหาเรื่องการเงิน คงไม่มีใครมาพูดเรื่องการเงินกับทรูอีก ส่วนเพิ่มทุน หากมีหุ้นเหลือ ซีพีในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะใส่เงินแทน เพื่อให้ได้เงินตามแผนเพิ่มทุนทั้งหมด"




บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย วิเคราะห์ว่า ทรูเพิ่มทุน เพื่อนำไปชำระหนี้คืนเงินกู้ระยะยาวแก่สถาบันการเงิน 5.2 หมื่นล้านบาท ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้สูงถึงปีละ 4.16 พันล้านบาท และเก็บไว้ขยายการลงทุนในอนาคต และเป็นเงินทุนหมุนเวียนอีก 1.3 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้โครงการการเงินของบริษัทดีขึ้นจากหนี้สิน และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง

______________________________




'ทรู'ล้างขาดทุนสะสมต้นปีหน้า



'ทรู'ล้างขาดทุนสะสมต้นปีหน้า
"ทรู"มั่นใจแผนเพิ่มทุน 6.5 หมื่นล้านผ่านฉลุย เครือซีพีพร้อมรับซื้อหากรายย่อยไม่ใช้สิทธิ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เปิดเผยว่า บริษัทเดินหน้าปรับโครงสร้างการเงินให้เสร็จสมบูรณ์ ด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนกว่า 1 หมื่นล้านหุ้น เพื่อระดมเงิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณมูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนหนี้และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
แบ่งเป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง คือ ไชน่าโมบายล์ จำนวน 4.42 พันล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 18% มูลค่า 2.85 หมื่นล้านบาท และเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) 5.64 พันล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 6.45 บาทคิดเป็นมูลค่า 3.64 หมื่นล้านบาท
หลังการเพิ่มทุนจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน หรือ ดีอี ลดลงจาก 10 เท่าเหลือ 0.3 เท่า มีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกำไรก่อนรายการดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (อีบิทด้า) ลดลงจาก 5 เท่า เหลือ 1.3 เท่า โดยบริษัทมีเป้าหมายรักษาระดับหนี้สินต่ออีบิทด้าไม่ให้เกิน 2 เท่า



"ที่ผ่านมาแม้บริษัทจะมีการเติบโตดี แต่ด้วยหนี้ที่สูงเกินไป ทำให้นักลงทุนมองว่าบริษัทยังไม่ใช่กิจการที่น่าลงทุน หรือไม่ใช่ อินเวสเม้นท์เกรด การเพิ่มทุนในครั้งนี้โดยเป้าหมายของบริษัทหลังจากนี้มุ่งสร้างผลประกอบการที่ดี มองการสร้างกำไรที่นำไปสู่การปันผล และเป็นจุดเปลี่ยนที่บริษัทจะแข่งขันกับรายใหญ่ 2 รายเต็มที่ จากก่อนหน้าที่บริษัทใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับดูแลเรื่องการเงิน ทำให้จากนี้จะมีผู้ประกอบการ 3 รายอย่างแท้จริง จากก่อนหน้าเรียกได้ว่าแค่ 2.5 ราย"



บริษัทมั่นใจว่าผู้ถือหุ้นเดิมจะให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเครือซีพีซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ พร้อมจะสนับสนุนใช้สิทธิเพิ่มทุนเต็มจำนวน จะเปิดจองการซื้อหุ้นในวันที่ 22 และ 25-28 ส.ค.นี้ คาดการเพิ่มทุนแล้วเสร็จในเดือนก.ย.นี้ จะทำให้กลุ่มทรูสามารถลดหนี้โดยรวม เสริมฐานการเงินให้แข็งแกร่ง พร้อมเติบโตเป็นผู้นำคอนเวอร์เจนท์ที่แข็งแกร่งในทุกด้าน และก้าวสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชีย
เขากล่าวต่อว่า การดึงไชน่าโมบายล์มาถือหุ้นจะมีความร่วมมือประสานประโยชน์ใน 5 ด้าน คือ 1.ความร่วมมือในการจัดซื้อโครงข่ายและโทรศัพท์มือถือ ซึ่งไชน่ามีฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 800 ล้านคน ทำให้ได้ต้นทุนที่ดีที่สุด 2.บริษัทสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายมือถือจากไชน่าโมบายล์ได้ ทำให้เห็นทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีว่าควรนำเทคโนโลยีอะไรมาใช้ในการแข่งขัน
3.เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดบริการโรมมิ่ง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยจำนวนมาก 4.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และข้อมูลการทำธุรกิจตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด ระดับรองและระดับแผนก ซึ่งทางไชน่าโมบายล์ก็ต้องการเรียนรู้การให้บริการแบบครบวงจร หรือ คอนเวอร์เจนท์จากทรู และ 5.การแลกเปลี่ยนคอนเทนท์
"ไชน่าโมบายล์สามารถซื้อหุ้นในบริษัทเพิ่มได้ในตลาดหลักทรัพย์ หากเห็นโอกาสและความร่วมมือในอนาคต แต่ต้องทำตามกฏของตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนกรณีที่ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้มเรื่องการถือหุ้นของต่างชาตินั้น ไม่ได้กังวล เพราะเราทำตามกฎ กติกา"
ทั้งนี้กลุ่มทรูได้มียุทธศาสตร์ปรับฐานะทางการเงินมาตั้งแต่ 2556 ด้วยการตั้งกองทุนทรูโกรท สามารถลดภาระหนี้ได้ 2.5 หมื่นล้านบาท และในปีนี้บริษัทมีนโยบายเลือกพันธมิตรทางธุรกิจในเชิงยุทธศาสตร์ และการเพิ่มทุนเพื่อปรับฐานธุรกิจ ให้มีความแข็งแกร่งครบทุกด้านตามเป้าหมายที่วางไว้
นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัททรู เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมจะเสนอแผนการล้างขาดทุนสะสมให้คณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาในช่วงต้นปีหน้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจ่ายเงินปันผล ซึ่งมีอยู่ 2-3 แนวทาง หนึ่งในนั้นคือการลดพาร์ โดยจะเลือกแนวทางที่ดีที่สุด ไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุน ส่วนจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ในปีหน้าหรือไม่ บริษัทต้องมีเงินสดเพียงต่อการจ่ายปันผลด้วย การจ่ายเงินปันผลคงค่อยเป็นค่อยไป เพราะต้องดูเรื่องการลงทุนด้วย



"ต่อไปทรูจะไม่มีปัญหาเรื่องการเงิน คงไม่มีใครมาพูดเรื่องการเงินกับทรูอีก ส่วนเพิ่มทุน หากมีหุ้นเหลือ ซีพีในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะใส่เงินแทน เพื่อให้ได้เงินตามแผนเพิ่มทุนทั้งหมด"




บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย วิเคราะห์ว่า ทรูเพิ่มทุน เพื่อนำไปชำระหนี้คืนเงินกู้ระยะยาวแก่สถาบันการเงิน 5.2 หมื่นล้านบาท ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้สูงถึงปีละ 4.16 พันล้านบาท และเก็บไว้ขยายการลงทุนในอนาคต และเป็นเงินทุนหมุนเวียนอีก 1.3 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้โครงการการเงินของบริษัทดีขึ้นจากหนี้สิน และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง
โดยเรามีมุมมองเชิงบวกต่อการเพิ่มทุนครั้งนี้ จากการได้พันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง ไชน่าโมบายล์เข้ามาร่วมทุน เพื่อรองรับการเปิดเออีซีในอนาคต โดยไชน่าโมบาย จะถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 18%
การเพิ่มทุนครั้งนี้จะส่งผลบวกต่อฐานะการเงินของบริษัท เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดลง จาก 11.94 เท่า เหลือ 0.59 เท่า และมูลค่าทางบัญชีจะเพิ่มขึ้นจาก 0.55 บาทต่อหุ้น เป็น 2.96 บาทต่อหุ้น
ล่าสุดวานนี้ (28 ก.ค.) ทรูปิดตลาดที่ระดับ 11.40 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 1,434.5 ล้านบาท




http://www.bangkokbiznews.com/mobile/xhtml/news/detail/03/595747/

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.