Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2557 กสทช. มีรายได้จากค่าค่าธรรมเนียมโทรคมนาคมประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี // รายได้จากค่าธรรมเนียมเลขหมายในปีนี้อยู่ที่ 3,800 ล้านบาท // จัดสรรเลขหมาย 360 ล้านเลขหมาย

ประเด็นหลัก

กสทช. มีรายได้จากค่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็น ค่าใบอนุญาตร้อยละ 1.5 ของรายได้ ประมาณ 2,000 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการใช้เลขหมาย 3,800 ล้านบาท และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมเพื่อกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วถึง หรือ ยูโซ่ (USO) ร้อยละ 3.75 ต่อปี

ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ที่มีแนวโน้มจะปรับลง คือ ค่าธรรมเนียมเลขหมายอัตราเดียว คือ เลขหมายละ 1 บาท จากเดิมที่เรียกเก็บครั้งแรก 1 บาท และเพิ่มเป็น 2 บาท หากขอเลขหมายใหม่ และค่าบริการย้ายค่ายเบอร์เดิม จะลดลงอีกจากเดิมที่เรียกเก็บ 29 บาท ซึ่งเคยปรับลดจากตอนแรกที่กำหนดไว้ 99 บาทด้วย

นางสาวจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการเลขหมายโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า การเก็บค่าธรรมเนียมเลขหมายอัตราเดียวกัน จะทำให้การจัดสรรเลขหมายทำได้เป็นระบบมากขึ้น โดยไม่ต้องแยกข้อมูลเลขหมายเดิมกับเลขหมายใหม่ ซึ่งโครงสร้างค่าธรรมเนียมใหม่จะต้องนำเสนอให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณาอีกครั้ง

สำหรับรายได้จากค่าธรรมเนียมเลขหมายในปีนี้อยู่ที่ 3,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีรายได้ 3,100 ล้านบาท โดยมีปัจจัยกระตุ้นจากการเติบโตของ 3จี ส่งผลให้ผู้ประกอบการขอเลขหมายเพิ่มขึ้น ขณะที่ล่าสุด จัดสรรเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปแล้ว 200 ล้านเลขหมาย จากทั้งหมด 360 ล้านเลขหมาย และวางแผนจัดสรรใช้งานให้เพียงพอในอีก 3-5 ปี รวมทั้งมีแผนจะเรียกคืนเลขหมายในระบบเดิมที่ไม่ได้ใช้งาน แต่ยังคงค้างอยู่ที่ผู้ให้บริการกลับมาจัดสรรให้เป็นประโยชน์













______________________________




'กสทช.'รายได้กระฉูด เล็งหั่นค่าต๋งค่ายมือถือ


  กสทช.เล็งลดค่าธรรมเนียมโทรคมนาคม หลังพบรายได้สำนักงานโตขึ้นต่อเนื่อง คาดปีนี้รายได้ทะลุ 6,000 ล้านบาท
    นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า มติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีนโยบายปรับลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ค่าธรรมเนียมเลขหมาย และค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การแข่งขันทางการตลาดให้เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ และเพื่อประชาชนได้คุณภาพบริการที่ดี ราคาถูกลง โดยให้สำนักงาน กสทช.ไปศึกษารายละเอียด แล้วนำมาเสนอ กทค. พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะมีความชัดเจนต้นปี 2558
    ทั้งนี้ ปัจจุบันการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของรายได้ผู้ประกอบการ 1.5% เป็นรายได้ กสทช. และ 3.75% นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ส่วนค่าธรรมเนียมเลขหมายละ 2 บาทต่อเดือนนั้น แบ่งเป็นการยื่นขอครั้งแรก 1 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน เมื่อขอเพิ่มเลขหมายใหม่จะเป็นเดือนละ 2 บาท ซึ่งรายได้รวมของสำนักงาน กสทช.เฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 ล้านบาทต่อปี โดยสัดส่วนรายได้มาจากค่าธรรมเนียมเลขหมายดังกล่าวกว่า 90% โดยคาดว่าในปีนี้  กสทช. จะมีรายได้ในส่วนนี้  6,300 ล้านบาท และรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
    "ต้องศึกษาภาพรวมทั้งหมด ดูต้นทุนการแข่งขันที่แท้จริงของผู้ประกอบการด้วย แต่ก็ต้องตอบสังคมหรือมีข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการให้ได้ด้วยว่า หากมีการปรับลดค่าธรรมเนียมเลขหมายลง หรือปรับอัตราให้เท่ากัน จะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีรายจ่ายลดลงนั้น ผู้ประกอบการจะต้องลดค่าใช้บริการลงด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์  กสทช.ไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมมากๆ เพราะเราก็ไม่ต้องการกำไร แต่ต้องสร้างสมดุลให้ตลาด ดังนั้นการปรับอัตราลดลงต้องดูความเหมาะสมด้วย" นายก่อกิจ กล่าว.

http://www.thaipost.net/news/220814/95033


_________________________________________


กทค.ลุยรื้อค่าต๋งโทรคมนาคม ตั้งโจทย์คุณภาพดีราคาถูกลง


นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีนโยบายปรับลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ค่าธรรมเนียมเลขหมาย และค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การแข่งขันทางการตลาด ให้เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ และส่งผลประโยชน์ให้ประชาชนได้คุณภาพบริการที่ดีและราคาถูกลงด้วย โดยได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดให้ครบถ้วนแล้วนำมาเสนอ กทค.พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะมีความชัดเจนในต้นปี 2558

ทั้งนี้ในปัจจุบันการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1.50% ของรายได้ของผู้ประกอบการเป็นรายได้ กสทช. และ 3.75% ของรายได้เป็นรายได้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุนกทปส.) และค่าธรรมเนียมเลขหมายเบอร์ละ 2 บาทต่อเดือน แบ่งเป็นการยื่นขอครั้งแรก 1 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน ขอเพิ่มเลขหมายใหม่เป็นเดือนละ 2 บาทต่อเดือน ซึ่งรายได้ของสำนักงาน กสทช.ทั้งหมดต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท

“หากปรับลดค่าธรรมเนียมเลขหมายลง หรือปรับอัตราให้เท่ากัน จะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีรายจ่ายลดลง ทางเอกชนจะต้องลดค่าใช้บริการลงด้วยเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากขึ้น”.

http://www.thairath.co.th/content/444935


__________________________________


กสทช.เตรียมปรับลดค่าธรรมเนียมโทรคมฯ


กสทช.เล็งลดค่าธรรมเนียมโทรคมนาคม พร้อมเดินหน้าจัดสรรการใช้งาน 360 ล้านเลขหมาย ให้เพียงพอใน 5 ปี ...

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า กำลังศึกษาโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมในกิจการโทรคมนาคมใหม่ ให้ลดลงจากที่เรียกเก็บในปัจจุบัน เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการต้องคืนกลับให้ผู้บริโภคในรูปแบบค่าบริการที่ลดลงด้วย

กสทช. มีรายได้จากค่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็น ค่าใบอนุญาตร้อยละ 1.5 ของรายได้ ประมาณ 2,000 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการใช้เลขหมาย 3,800 ล้านบาท และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมเพื่อกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วถึง หรือ ยูโซ่ (USO) ร้อยละ 3.75 ต่อปี

ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ที่มีแนวโน้มจะปรับลง คือ ค่าธรรมเนียมเลขหมายอัตราเดียว คือ เลขหมายละ 1 บาท จากเดิมที่เรียกเก็บครั้งแรก 1 บาท และเพิ่มเป็น 2 บาท หากขอเลขหมายใหม่ และค่าบริการย้ายค่ายเบอร์เดิม จะลดลงอีกจากเดิมที่เรียกเก็บ 29 บาท ซึ่งเคยปรับลดจากตอนแรกที่กำหนดไว้ 99 บาทด้วย

นางสาวจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการเลขหมายโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า การเก็บค่าธรรมเนียมเลขหมายอัตราเดียวกัน จะทำให้การจัดสรรเลขหมายทำได้เป็นระบบมากขึ้น โดยไม่ต้องแยกข้อมูลเลขหมายเดิมกับเลขหมายใหม่ ซึ่งโครงสร้างค่าธรรมเนียมใหม่จะต้องนำเสนอให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณาอีกครั้ง

สำหรับรายได้จากค่าธรรมเนียมเลขหมายในปีนี้อยู่ที่ 3,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีรายได้ 3,100 ล้านบาท โดยมีปัจจัยกระตุ้นจากการเติบโตของ 3จี ส่งผลให้ผู้ประกอบการขอเลขหมายเพิ่มขึ้น ขณะที่ล่าสุด จัดสรรเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปแล้ว 200 ล้านเลขหมาย จากทั้งหมด 360 ล้านเลขหมาย และวางแผนจัดสรรใช้งานให้เพียงพอในอีก 3-5 ปี รวมทั้งมีแผนจะเรียกคืนเลขหมายในระบบเดิมที่ไม่ได้ใช้งาน แต่ยังคงค้างอยู่ที่ผู้ให้บริการกลับมาจัดสรรให้เป็นประโยชน์


http://www.thairath.co.th/content/445063

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.