Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 สิงหาคม 2557 เลขา กสทช.ฐากร ระบุ เปิด12 ช่องทีวีดาวเทียมที่ถูก คสช.ปิด จะมาเซ็น MOU กับสำนักงานกสทช.ในเวลาประมาณ 10.00 น. ที่อาคารเอ็กซิมแบงก์ ชั้น 22

ประเด็นหลัก


       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้โพสต์ในทวิตเตอร์ระบุให้ทีวีดาวเทียมทั้ง 12 ช่องมาลงนามใน MOU กับสำนักงานกสทช. ในวันอังคารที่ 26 ส.ค.นี้ เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมกสท.วาระพิเศษในวันพุธที่ 27 ส.ค.ที่จะถึงนี้
   
       ทั้งนี้ผู้ประกอบการทั้ง 12 ช่องทีวีดาวเทียมจะมาเซ็น MOU กับสำนักงานกสทช.ในเวลาประมาณ 10.00 น. ที่อาคารเอ็กซิมแบงก์ ชั้น 22



______________________________




กสทช.นัด 12 ช่องทีวีดาวเทียมเซ็นเอ็มโอยูก่อนชงบอร์ดกสท.วาระพิเศษ 27 ส.ค.



กสทช.นัด 12 ช่องทีวีดาวเทียมเซ็นเอ็มโอยูก่อนชงบอร์ดกสท.วาระพิเศษ 27 ส.ค.
       กสทช. เรียก 12 ช่องทีวีดาวเทียมเซ็นเอ็มโอยูวันอังคารที่ 26ส.ค. เวลา 10.00น.ที่ชั้น 22 อาคารเอ็กซิมแบงก์ ก่อนนำเข้าบอร์ดกสท.วาระพิเศษในวันพุธที่ 27 ส.ค. เพื่อให้ออกอากาศได้ โดยไม่ต้องรอถึงสัปดาห์หน้า พร้อมยกเลิกประกาศจัดเรียงช่อง เล็งออกประกาศใหม่บังคับช่องทีวีดิจิตอลอยู่ที่ 1-36 ส่วน 37-60 ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ประกอบการ
     
   
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสท.วันที่ 25 ส.ค.ได้มีการพิจารณารับทราบหนังสือจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับการขออนุมัติการออกอากาศของสถานีดาวเทียม ตามประกาศฉบับที่ 15/2557 ลงวันที่ 22 พ.ค.2557 ให้โทรทัศน์ดาวเทียมทั้ง 12 ช่อง ที่ได้รับการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ของ กสทช.กลับมาออกอากาศได้
     
       โดยผู้ประกอบการทั้ง 12 ราย ต้องทำตามเงื่อนไข อย่างเช่น การเปลี่ยนชื่อใหม่, มีการปรับผังรายการ และจัดทำบันทึกข้อตกลงกับทาง กสทช.ในส่วนของเนื้อหารายการ ส่วนสถานีที่เคยมีใบอนุญาตบริการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ จะต้องขอยกเลิกใบอนุญาตเดิม และขอใบอนุญาตด้วยชื่อช่องใหม่แทน
     
       ส่วนในอนาคตหลังจากออกอากาศแล้ว ถ้าช่องใดมีการดำเนินการที่ขัดกฎหมาย ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายตามที่ถูกร้องเรียนต่อไป รวมถึงเนื้อหารายการต้องไม่กระทบความสงบเรียบร้อย หรือขัดต่อประกาศที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ต้องมีโอกาสที่ กสทช.จะพิจารณายกเลิกใบอนุญาตได้
     
       “คาดว่าสัปดาห์หน้าหลังจากที่ช่องรายการทั้ง 12 ช่อง ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ทางสำนักงาน กสทช. จะนำเสนอเรื่องเพื่อเข้าพิจารณาในประชุมบอร์ดครั้งต่อไป เพื่อพิจารณาให้อนุญาตออกอากาศได้ โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้ทาง คสช.”
     
       สำหรับประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557 ลงวันที่ 22 พ.ค.2557 ประกอบไปด้วย 1.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มวี 5 2.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมดีเอ็นเอ็น 3.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี 4.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเชียอัพเดท 5.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีแอนด์พี 6.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมโฟร์แชนแนล 7.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูสกาย 8.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอฟเอ็มทีวี 9.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวี 10.สถานีดาวเทียมฮอตทีวี 11.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเร็สคิ้ว 12.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูประเทศ (คปท.)
     
       นอกจากนี้ ยังมีการพิจาณายกเลิกประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 จากกรณีที่ทางทรู วิชั่นส์กรุ๊ป ได้มีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้เพิกถอนประกาศ กสทช. 3 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดหมวดหมู่และการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ พ.ศ.2556 ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 และประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้รับคำฟ้องเฉพาะประเด็นการขอให้เพิกถอนประกาศฯ หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 เท่านั้น
     
       “ที่ประชุมมีการพิจารณาให้ยกเลิกประกาศฉบับเดิม ซึ่งใช้เวลาพิจารณามากว่า 1 เดือนแล้ว และออกประกาศฉบับใหม่แทนเพื่อให้มูลเหตุการฟ้องร้องคดีหายไป ที่สำคัญคือ ประชาชนจะได้ไม่สับสน และเยียวยาให้แก่ผู้ประกอบการและเคเบิลทีวี ให้นำช่องรายการที่ต้องการมาออกอากาศในลำดับต้นๆ”
     
       โดยก่อนหน้านี้ หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 ระบุให้ผู้ประกอบการสามารถจัดเรียงช่องใดๆ ก็ได้มาออกอากาศในลำดับที่ 1-10 แต่ประกาศฉบับใหม่จะทำให้การรับชมทีวีที่ให้บริการเป็นการทั่วไป จะมีหมายเลขตรงกันคือ 1-36 และเพื่อที่จะเยียวยาให้กลุ่มดาวเทียม หรือเคเบิล ให้ไปจัดเรียงในช่อง 37-60 แทน โดยกระบวนการจัดทำร่างจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ก่อนประกาศใช้ต่อไป
     
       ส่วนกรณีที่ กสทช.สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต้องสิ้นสุดการทำหน้าที่โทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์เครี) ในวันที่ 25 พ.ค.2557 และยืดระยะเวลาการออกอากาศเพิ่มอีก 100 วัน ทางที่ประชุมไม่ได้ขยายระยะเวลาเพิ่มเติมให้อีก ทำให้การขยายระยะเวลาจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 กันยายน 2557 แต่จากประกาศของ คสช.ฉบับที่ 27/2557 กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ออกอากาศรายการประจำของสถานีได้ตามปกติ ผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิล ทำให้ยังสามารถออกอากาศได้ต่อไป
     
       ทั้งนี้ ถ้ามีการประกาศหลักเกณฑ์การจัดเรียงช่องใหม่ ก็จะส่งผลให้ช่อง 3 อะนาล็อก ไม่สามารถออกอากาศในช่องระหว่าง 1-36 ได้ แต่จะขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเคเบิลทีวี ดาวเทียม ที่จะนำช่องพิเศษไปจัดเรียงในระหว่างช่อง 37-60 แทน.
     
       ***กสท.ประชุมด่วนพุธนี้
     
       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้โพสต์ในทวิตเตอร์ระบุให้ทีวีดาวเทียมทั้ง 12 ช่องมาลงนามใน MOU กับสำนักงานกสทช. ในวันอังคารที่ 26 ส.ค.นี้ เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมกสท.วาระพิเศษในวันพุธที่ 27 ส.ค.ที่จะถึงนี้
     
       ทั้งนี้ผู้ประกอบการทั้ง 12 ช่องทีวีดาวเทียมจะมาเซ็น MOU กับสำนักงานกสทช.ในเวลาประมาณ 10.00 น. ที่อาคารเอ็กซิมแบงก์ ชั้น 22

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000097124

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.