Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2557 Samsung เปิดตัวนาฬิกาไฮเทคจอโค้ง “Gear S” ระบบปฏิบัติการ Tizen หน่วยประมวลผลดูอัลคอร์ 1GHz ซึ่งจะทำงานพร้อมเซ็นเซอร์หลากหลายทั้งระบบตรวจจับอุณหภูมิ พิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก

ประเด็นหลัก


   ระบบปฏิบัติการที่ซัมซุงเลือกใช้ใน Gear S คือ Tizen ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ซัมซุงพัฒนาขึ้นเองในฐานะอีกทางเลือกที่นอกเหนือจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ของกูเกิล นอกจากการรองรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงอย่าง 3G แต่นาฬิกา Gear S ยังรองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth และ Wi-Fi ด้วย
   
       Gear S ใช้หน่วยประมวลผลดูอัลคอร์ 1GHz ซึ่งจะทำงานพร้อมเซ็นเซอร์หลากหลายทั้งระบบตรวจจับอุณหภูมิ พิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก เข็มทิศ เครื่องวัดชีพจร รวมถึงระบบวัดระดับรังสียูวี
   
       ทั้งหมดนี้ เจ เค ชิน (JK Shin) ประธานฝ่ายอุปกรณ์พกพาของซัมซุงให้ความเห็นว่า Samsung Gear S จะเป็นสินค้าที่เปลี่ยนแนวคิดของสินค้าอัจฉริยะสวมใส่ได้ รวมถึงจะปฏิวัติวัฒนธรรมการสื่อสารบนอุปกรณ์พกพา โดยผู้ใช้ Gear S จะสามารถใช้ชีวิตออนไลน์ได้แบบทุกที่ทุกเวลา
   
       นอกจาก Gear S ซัมซุงยังเปิดตัวอุปกรณ์บลูทูธไร้สาย Samsung Gear Circle ซึ่งผู้ใช้สามารถคล้องคอเพื่อรับสัญญาณจากโทรศัพท์ ทำให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสายโทร.เข้า หรือข้อมูลเข้าอื่นๆ เมื่ออุปกรณ์มีการสั่นเตือน โดยทั้ง Gear Circle และ Gear S จะพร้อมวางตลาดในเดือนตุลาคมนี้



______________________________




Samsung เปิดตัวนาฬิกาไฮเทคจอโค้ง “Gear S”




       ซัมซุง (Samsung) เปิดตัวนาฬิกาไฮเทคต่ออินเทอร์เน็ตรุ่นล่าสุด “เกียร์ เอส (Gear S)” ดึงระบบปฏิบัติการ Tizen มาประกอบกับหน้าจอ 2 นิ้ว เทคโนโลยี super AMOLED ซึ่งปรับให้มีความโค้งรับกับข้อมือ ท่ามกลางจุดเด่นเรื่องการรองรับการเชื่อมต่อ 3G และความสามารถในการกันน้ำที่มาตรฐาน IP67
     
       ระบบปฏิบัติการที่ซัมซุงเลือกใช้ใน Gear S คือ Tizen ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ซัมซุงพัฒนาขึ้นเองในฐานะอีกทางเลือกที่นอกเหนือจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ของกูเกิล นอกจากการรองรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงอย่าง 3G แต่นาฬิกา Gear S ยังรองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth และ Wi-Fi ด้วย
     
       Gear S ใช้หน่วยประมวลผลดูอัลคอร์ 1GHz ซึ่งจะทำงานพร้อมเซ็นเซอร์หลากหลายทั้งระบบตรวจจับอุณหภูมิ พิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก เข็มทิศ เครื่องวัดชีพจร รวมถึงระบบวัดระดับรังสียูวี
     
       ทั้งหมดนี้ เจ เค ชิน (JK Shin) ประธานฝ่ายอุปกรณ์พกพาของซัมซุงให้ความเห็นว่า Samsung Gear S จะเป็นสินค้าที่เปลี่ยนแนวคิดของสินค้าอัจฉริยะสวมใส่ได้ รวมถึงจะปฏิวัติวัฒนธรรมการสื่อสารบนอุปกรณ์พกพา โดยผู้ใช้ Gear S จะสามารถใช้ชีวิตออนไลน์ได้แบบทุกที่ทุกเวลา
     
       นอกจาก Gear S ซัมซุงยังเปิดตัวอุปกรณ์บลูทูธไร้สาย Samsung Gear Circle ซึ่งผู้ใช้สามารถคล้องคอเพื่อรับสัญญาณจากโทรศัพท์ ทำให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสายโทร.เข้า หรือข้อมูลเข้าอื่นๆ เมื่ออุปกรณ์มีการสั่นเตือน โดยทั้ง Gear Circle และ Gear S จะพร้อมวางตลาดในเดือนตุลาคมนี้

Samsung เปิดตัวนาฬิกาไฮเทคจอโค้ง “Gear S”
หน้าจอ 2 นิ้วเทคโนโลยี super AMOLED ซึ่งปรับให้มีความโค้งรับกับข้อมือ

       การเปิดตัว Gear S นั้นถือว่าเป็นการต่อยอดจากนาฬิกา Gear 2 และสายรัดข้อมือ Gear Fit รวมถึงนาฬิกาแอนดรอยด์ Gear Live ซึ่งซัมซุงเริ่มทำตลาดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว จุดนี้นักสังเกตการณ์เชื่อว่า ซัมซุงจะเปิดตัวอุปกรณ์ออนไลน์สวมใส่ได้ในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติมในช่วงปีนี้ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบแว่นตาอัจฉริยะลักษณะเดียวกับกูเกิลกลาส (Google Glass) รวมถึงนาฬิกาข้อมือออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาสมาร์ทโฟน
     
       การเปิดตัวสินค้าเหล่านี้ตอกย้ำว่า ตลาดสินค้าไอทีสวมใส่ได้นั้นมีความสำคัญมากในสายตาของผู้ผลิตอย่างซัมซุง ที่ผ่านมา แม้ซัมซุง จะสามารถครองแชมป์ในตลาดสมาร์ทโฟนโลกด้วยแบรนด์ “แกแล็กซี่ (Galaxy)” แต่ซัมซุงก็รู้ตัวดีว่า ต้องเร่งมือขยายตลาดก่อนที่ผู้ค้ารายอื่นจะแย่งตำแหน่งแชมป์ไป ซึ่งตลาดอุปกรณ์ไอทีสวมใส่ได้นี้เองที่นักวิเคราะห์ทั่วโลก รวมถึงตัวซัมซุงเองมีความเชื่อมั่นว่า จะเป็นบันไดสำคัญที่เสริมความแข็งแกร่งให้ตำแหน่งแชมป์ของซัมซุงยั่งยืนกว่าเดิม

Samsung เปิดตัวนาฬิกาไฮเทคจอโค้ง “Gear S”

       สำหรับความสามารถอื่นของ Gear S ข้อมูลระบุว่า ซัมซุงนำระบบนำทาง HERE ของโนเกีย (Nokia) มาใช้ร่วมกับระบบตรวจจับความเร็ว Spritz ภายในมีพื้นที่เก็บข้อมูล 4GB พร้อม RAM ขนาด 512MB สามารถป้องกันฝุ่น และน้ำที่มาตรฐาน IP67 แบตเตอรี่ 300mAh ซึ่งสามารถใช้งานปกติได้นาน 2 วัน


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000098629

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.