Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2557 เจ้าของร้านจำหน่ายและรับติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดาวเทียม , ทีวีดิจิตอลราย ระบุ ในช่วง 1 เดือนเศษที่ผ่านมา พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐ เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการจับกุม กวาดล้างสินค้าที่ไม่ถูกกฎหมาย

ประเด็นหลัก



  ขณะที่เจ้าของร้านจำหน่ายและรับติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดาวเทียม , ทีวีดิจิตอลรายหนึ่งในย่านถนนรามอินทรา  กล่าวว่า  แหล่งจำหน่ายกล่องรับสัญญาณ และอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลรายใหญ่อยู่ในย่านบ้านหม้อ  คลองถม สะพานเหล็ก เป็นต้น  ซึ่งมีจำหน่ายกล่องและอุปกรณ์ทุกยี่ห้อในราคาถูก  ทั้งแบบขายส่งและขายปลีก โดยแต่ละวันจะมีร้านค้า ตลอดจนลูกค้าทั่วไปเดินทางเข้าไปซื้อจำนวนมาก  เพราะมีราคาตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักพันบาท แต่ในช่วง 1 เดือนเศษที่ผ่านมา พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐ เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการจับกุม กวาดล้างสินค้าที่ไม่ถูกกฎหมาย หรือปลอมแปลงลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันร้านค้าระมัดระวังเรื่องการขายมากขึ้น




______________________________




 เปิดศึกแข่งดุ กล่องทีวีดิจิตอล ชงดัมพ์ราคา

 ระเบิดสงครามราคากล่องเซ็ต ท็อป บ็อกซ์  "สามารถ"  ประกาศดัมพ์ราคาลงเท่าคูปอง 690 บาท พร้อมตั้งโต๊ะแลกซื้อ ชี้หากมีปัญหารับเปลี่ยนคืนทันที  ด้าน "PSI"  หั่นราคาเหลือ 499 บาทหวังเรียกลูกค้าตัดหน้ากสทช.  ที่จ่อแจกคูปองตุลาคมนี้แต่ห้ามใช้กับกล่องดาวเทียม  ขณะที่ตลาดบ้านหม้อ แหล่งค้ารายใหญ่ พบกล่องวางขายเกลื่อนทั้งแบบเดี่ยวราคาแค่ 500 บาท หรือครบชุด 800 บาท  แต่ไร้สติกเกอร์ "น้องดูดี"
    นายทวี อุดมกิจโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถวิศวกรรม จำกัด ในเครือบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  (มหาชน) (บมจ.)  ผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล  (Set Top Box) ภายใต้ชื่อ "Samart"  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า  บริษัทเตรียมปรับราคาจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลลง  เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถนำคูปองที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะแจกให้ในมูลค่า 690 บาท มาแลกซื้อได้ทันที หรืออาจจะเพิ่มเงินเล็กน้อย  ซึ่งกลยุทธ์การทำตลาดดังกล่าวจะช่วยดึงให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อกล่องของสามารถ แทนที่จะไปซื้อตามตลาดมืดซึ่งไม่ได้มาตรฐาน หรือเป็นของปลอมที่ไม่ถูกกฎหมาย อย่างไรก็ดี การเลือกซื้อกล่องรับสัญญาณที่ได้มาตรฐาน ต้องดูที่สติกเกอร์"น้องดูดี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การตรวจสอบกล่องของกสทช.ว่ามีหรือไม่
   alt "การเข้าไปตรวจสอบ หรือจับกุมสินค้าปลอมหรือลอกเลียนแบบเป็นเรื่องยากเพราะในปัจจุบันมีสินค้าลอกเลียนแบบเกิดขึ้นจำนวนมาก  ดังนั้นในฐานะของผู้ประกอบการคงต้องเตรียมแผนรองรับสำหรับกลุ่มสินค้าตลาดเหล่านี้โดยใช้กลยุทธ์การปรับราคาให้ถูกลงโดยที่ผู้บริโภคจะเพิ่มเงินแค่เล็กน้อย  หรือสามารถนำคูปองมาแลกได้เลยเทียบเท่ากับมูลค่าคูปอง  ซึ่งการปรับราคาครั้งนี้จะเป็นการปรับราคากล่อง ไม่นับรวมกับอุปกรณ์การรับส่ง เช่น เสาอากาศ เป็นต้น"  นายทวีกล่าวและว่า
    ที่ผ่านมาผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการนำคูปองมาแลกซื้อกล่องรับสัญญาณได้ฟรี โดยไม่ต้องเพิ่มเงิน และไม่ต้องการจ่ายส่วนต่าง  นอกจากการปรับราคากล่องลดลงแล้ว บริษัทยังให้บริการหลังการขายมากขึ้น โดยลูกค้าที่ซื้อกล่อง บริษัทพร้อมรับประกัน 7 วัน หากมีปัญหาสามารถนำมาซ่อม หรือเปลี่ยนกล่องใหม่ได้ทันที  ซึ่งลูกค้าที่ซื้อกล่องปลอมจะไม่ได้รับบริการส่วนนี้
    ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาหลังจากเปิดตัวกล่อง Smart Strong Pro  พบว่ามียอดขายกล่องแล้ว 2-3 แสนเครื่อง ซึ่งบริษัทคาดว่าหากกสทช.เริ่มแจกคูปองภายในเดือนตุลาคม จะส่งผลให้ยอดขายกล่องเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 1 ล้านกล่องเพราะในขณะนี้ประชาชนรอเพียงแค่การแจกคูปองเท่านั้น  แต่บริษัทไม่อยากให้มองแค่เรื่องการแจกคูปองเท่านั้นที่จะช่วยผลักดันให้ตลาดทีวีดิจิตอลเกิด  แต่ต้องใส่ใจกับเรื่องคอนเทนต์ด้วย เพราะหากคอนเทนต์ไม่ดีต่อให้ราคากล่องถูกมากเท่าไรผู้บริโภคก็ไม่สนใจ
    ด้านนายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด  ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ทีวีดาวเทียม "PSI"  กล่าวว่า บริษัทปรับราคาจำหน่ายกล่องรับสัญญาณพีเอสไอ ให้ลดลงเหลือ 499 บาท ซึ่งเป็นราคาถูกที่สุดที่พีเอสไอเคยวางจำหน่าย และเป็นกล่องที่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้  โดยลูกค้าเก่าสามารถนำกล่องมาแลกซื้อได้  พร้อมรับชมได้ทั้งทีวีดิจิตอลและทีวีดาวเทียม  แต่ไม่สามารถนำคูปองมาแลกซื้อได้  เพราะไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กสทช. กำหนดไว้
    ปัจจุบันกล่องรับสัญญาณของพีเอสไอ มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 499 – 2,000 บาทขึ้นไป  ซึ่งเป็นราคาที่คุ้มค่า  จับต้องได้ เพราะต้องการให้ลูกค้าลดภาระค่าใช้จ่าย แต่สามารถเข้าถึงหรือรับชมคอนเทนต์ในทีวีดิจิตอลได้  ในสิ้นปีนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะมียอดขายและยอดแลกเปลี่ยนกล่องรวม 3-4 ล้านกล่อง ทั้งจากกล่องที่บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเอง และกล่องที่ร่วมกับพันธมิตร อาทิ ซีทีเอช  เป็นต้น
    อย่างไรก็ดี  การปรับราคากล่องให้ลดลง ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่ต้องการรับชมทีวีดิจิตอล ตัดสินใจซื้อกล่องได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอรับคูปองที่กสทช.จะเริ่มแจกจ่ายในเดือนตุลาคมนี้ เพราะคูปองดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้แลกกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมได้  หลังจากที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลออกคัดค้าน
    ขณะที่เจ้าของร้านจำหน่ายและรับติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดาวเทียม , ทีวีดิจิตอลรายหนึ่งในย่านถนนรามอินทรา  กล่าวว่า  แหล่งจำหน่ายกล่องรับสัญญาณ และอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลรายใหญ่อยู่ในย่านบ้านหม้อ  คลองถม สะพานเหล็ก เป็นต้น  ซึ่งมีจำหน่ายกล่องและอุปกรณ์ทุกยี่ห้อในราคาถูก  ทั้งแบบขายส่งและขายปลีก โดยแต่ละวันจะมีร้านค้า ตลอดจนลูกค้าทั่วไปเดินทางเข้าไปซื้อจำนวนมาก  เพราะมีราคาตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักพันบาท แต่ในช่วง 1 เดือนเศษที่ผ่านมา พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐ เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการจับกุม กวาดล้างสินค้าที่ไม่ถูกกฎหมาย หรือปลอมแปลงลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันร้านค้าระมัดระวังเรื่องการขายมากขึ้น
    "ฐานเศรษฐกิจ"  ได้ลงพื้นที่สำรวจร้านค้า ในย่านบ้านหม้อ พบว่า มีร้านจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  และอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียมประมาณ 60-70 ร้านค้า  โดยเฉพาะกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล จะถูกตั้งโชว์ไว้บริเวณหน้าร้านอย่างโดดเด่น  เนื่องจากเป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีให้เลือกทั้งแบรนด์ GMMz  ,  MCOT , PSI ,  SAMART , ลาลีกา สตาร์  เป็นต้น  ซึ่งจากการสังเกตพบว่า กล่องรับสัญญาณของแบรนด์ต่างๆนั้น ไม่มีการติดสติกเกอร์ "น้องดูดี"  แต่อย่างใด
    ส่วนระดับราคากล่อง จะมีให้เลือกหลากหลาย  อาทิ กล่อง GMMz  มีราคา  1.1-1.2 พันบาทต่อกล่อง สามารถรับชมในระบบ HD (ความคมชัดสูง) ได้ , กล่อง PSI  มีราคา 499 – 1 พันบาทต่อกล่อง สามารถรับชมได้ทั้งทีวีดาวเทียม และทีวีดิจิตอล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังติดป้ายจำหน่ายอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลครบชุด ประกอบไปด้วย  กล่อง+จาน+สายเชื่อมต่อ ในราคาชุดละ 800 บาท หรือจะเลือกซื้อเฉพาะกล่องในราคา 500 บาท ก็มี ซึ่งจากการสอบถามผู้ขาย ต่างยืนยันว่าสามารถรับชมสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ครบทุกช่อง และภาพชัดเจน โดยผู้ซื้อสามารถต่อเชื่อมและจูนสัญญาณได้เอง  แต่สินค้าเมื่อซื้อแล้วจะไม่รับคืนหรือเปลี่ยนใหม่ได้
    สำหรับความคืบหน้าในการแจกคูปองสำหรับให้ประชาชนนำไปแลกซื้ออุปกรณ์รับชมสัญญาณทีวีดิจิตอล ทั้งในรูปแบบกล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2 หรือทีวีที่มีระบบ DVB – T2  นั้น ล่าสุดหลังการกำหนดมูลค่าคูปองที่ 690 บาท กสทช. ใช้วิธีการจ้างหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะต้องมีการป้องกันการปลอมแปลงที่เหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด ซึ่งงบประมาณในการจัดพิมพ์และจัดส่ง จะเป็นค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของสำนักงาน กสทช. โดยคาดว่าจะสามารถแจกคูปองให้กับประชาชนได้ภายในเดือนตุลาคมนี้  ส่วนวิธีการใช้คูปอง หลังจากที่ส่งคูปองออกไปถึงประชาชนทุกครัวเรือน ให้ประชาชนนำบัตรประชาชนพร้อมกับคูปอง ไปแลกที่จุดให้บริการ เมื่อแลกเสร็จจะใช้สติกเกอร์ที่ติดบนกล่องมาติดบนคูปอง หลังจากนั้นนำมาขึ้นเงินต่อทาง กสทช. เพื่อเป็นหลักประกัน มีกำหนดระยะเวลารับประกัน 2 ปี ที่จะสามารถนำสินค้ามาเคลมได้ และช่วยให้ทาง กสทช. สามารถตรวจสอบกับทางผู้จำหน่ายว่ามีการใช้คูปองแลกเปลี่ยนจริง
    ทั้งนี้ผู้ผลิต และจำหน่ายกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่จะเข้าร่วมโครงการแลกคูปองกับ กสทช. ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท วางเงินประกัน 5%  ของมูลค่าคูปอง มีจุดรับบริการรับแลกกล่อง และจุดบริการหลังการขาย ไม่น้อยกว่า 4 แห่งต่อหนึ่งจังหวัด และมี Call Center บริการตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=244759:2014-08-31-03-14-03&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417#.VAXYDKPrvGo

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.