Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2557 รมต.ICT.เมธินี ระบุ ปัดฝุ่น "อินฟราสตรักเจอร์คอมปะนี" กับ CAT และ TOT ลดการลงทุนซ้ำซ้อน แต่ต้องมีเสถียรภาพและใช้ได้โดยไม่เลือกปฏิบัติ มีนโยบาย มีแผน และงบฯลงทุนต่อเนื่อง

ประเด็นหลัก




นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งให้กระทรวงไอซีทีเป็นแกนหลักในการปฏิรูปการสื่อสารของประเทศ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนพัฒนาโครงข่ายคุณภาพ บริการในราคาเหมาะสม ปลอดภัย ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงได้รับความคุ้มครองด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย โดยให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนเสนอสภาปฏิรูป คาดว่าอาจมีการหยิบยกแนวคิดเรื่อง "อินฟราสตักเจอร์คอมปะนี" มาหารืออีกครั้ง

"เรื่องอินฟราสตรักเจอร์คัมปะนี เคยศึกษามาหลายครั้งแล้ว ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะทำ เพราะลดการลงทุนซ้ำซ้อน แต่ต้องมีเสถียรภาพและใช้ได้โดยไม่เลือกปฏิบัติ มีนโยบาย มีแผน และงบฯลงทุนต่อเนื่อง เวลานี้ต้องตัดสินใจทั้งรัฐบาล กระทรวงการคลัง รวมถึงทีโอทีและ กสทฯ ถ้าไม่ให้ 2 รัฐวิสาหกิจดูแลเน็ตเวิร์ก ก็ต้องทบทวนว่าจะมุ่งไปทางไหน"





______________________________



ไอซีทีฟื้น"อินฟราฯคอมปะนี" เร่งหาทางรอดทีโอที-กสทฯ


"ไอซีที" ปัดฝุ่น "อินฟราสตรักเจอร์คอมปะนี" แก้ปมลงทุนซ้ำซ้อน ฟากบอร์ด "ทีโอที-กสทฯ" เร่งคลอดแผนฟื้นฟู "คุมเข้มค่าใช้จ่าย-เลิกธุรกิจไม่ทำเงิน และหารายได้เพิ่ม" ส่งซุปเปอร์บอร์ด ตั้งรองเอ็มดีรักษาการทีโอที-กสทฯ

นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งให้กระทรวงไอซีทีเป็นแกนหลักในการปฏิรูปการสื่อสารของประเทศ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนพัฒนาโครงข่ายคุณภาพ บริการในราคาเหมาะสม ปลอดภัย ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงได้รับความคุ้มครองด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย โดยให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนเสนอสภาปฏิรูป คาดว่าอาจมีการหยิบยกแนวคิดเรื่อง "อินฟราสตักเจอร์คอมปะนี" มาหารืออีกครั้ง

"เรื่องอินฟราสตรักเจอร์คัมปะนี เคยศึกษามาหลายครั้งแล้ว ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะทำ เพราะลดการลงทุนซ้ำซ้อน แต่ต้องมีเสถียรภาพและใช้ได้โดยไม่เลือกปฏิบัติ มีนโยบาย มีแผน และงบฯลงทุนต่อเนื่อง เวลานี้ต้องตัดสินใจทั้งรัฐบาล กระทรวงการคลัง รวมถึงทีโอทีและ กสทฯ ถ้าไม่ให้ 2 รัฐวิสาหกิจดูแลเน็ตเวิร์ก ก็ต้องทบทวนว่าจะมุ่งไปทางไหน"

ด้านนายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการ บมจ.ทีโอที ในฐานะโฆษกบอร์ด เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดทีโอที (27 ส.ค.) อนุมัติหนังสือลาออกของนายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ มีผลวันที่ 29 ก.ย. นี้ พร้อมแต่งตั้งนายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตรวจสอบ ให้รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่ 28 ส.ค.นี้ จนกว่าจะสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ได้

พร้อมเร่งทำแผนและแนวทางแก้ไขปัญหาองค์กร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) โดยทีโอทีต้องยื่นแผนการปรับปรุงแก้ไขปัญหา ประกอบด้วยการพิจารณาเลิกธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร, มาตรการลดค่าใช้จ่าย, การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ รวมถึงสรุปข้อพิพาททางกฎหมาย และแนวทางแก้ไข

นอกจากนี้ ได้จ้างที่ปรึกษาในการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) ทั้งสถานะการเงิน กฎหมาย/สัญญา แยกทรัพย์สิน และบริการตามกลุ่มธุรกิจ 6 กลุ่ม ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม, เสาโทรคมนาคม, อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ, โทรศัพท์เคลื่อนที่, โทรศัพท์ประจำที่, อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และกลุ่มบริการไอที

"ธุรกิจไหนถ้ากำไรไม่ดี ก็ต้องหาทางปล่อยออกไป แต่ที่ยังขาดทุนอย่าง 3G ไม่ได้หมายความว่าต้องเลิกธุรกิจไป สุดท้ายซุปเปอร์บอร์ดจะพิจารณาอีกครั้งว่า เห็นด้วยกับแนวทางที่ทีโอทีเสนอหรือไม่"

แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า มีข้อพิพาททางกฎหมายมีมูลค่ารวมกันราว 2.3 แสนล้านบาท เป็นปัญหาเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (เอซี) กับคู่สัมปทานของ กสทฯ ราว 1.62 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นข้อพิพาทกับคู่สัมปทานอย่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น รวมถึงปัญหาเรื่องภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดจากสัญญาสัมปทาน

ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.กสท โทรคมนาคมเปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด ล่าสุด (26 ส.ค.) มีการพิจารณาหนังสือลาออกของนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่เช่นกัน พร้อมเตรียมออกคำสั่งตั้งนายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด ขึ้นเป็นรักษาการระหว่างรอสรรหาซีอีโอใหม่

ขณะเดียวกันได้มีมติเห็นชอบแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานที่ต้องเสนอให้ คนร.พิจารณาวันที่ 29 ส.ค.นี้ โดยธุรกิจที่เลิกดำเนินการ จะเป็นบริการที่มีเทคโนโลยีใหม่ที่ดีกว่ามาทดแทน และกสทฯหยุดการลงทุนมาระยะหนึ่งแล้ว อาทิ การให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยสายทองแดง แต่ต้องจูงใจให้ลูกค้าลงทุนเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีใหม่แทน ส่วนคดีค้างศาลของ กสทฯ มีมูลค่าราว 2.52 แสนล้านบาท

"หลังจากนี้ต้องเข้มงวดกับการบริหารจัดการงบฯลงทุนให้มากขึ้น"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409719168

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.