Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กันยายน 2557 Priceza.com ปัจจุบัน มียอดผู้ใช้บริการกว่า 4 ล้านรายต่อเดือน และมีสินค้าให้เช็กราคาเกือบ 2 ล้านรายการจาก 5,000 ร้านค้า สร้างรายได้ 1,000 ล้านบาทต่อปี

ประเด็นหลัก



ปัจจุบันไพรซ์ซ่า ดอทคอม มียอดผู้ใช้บริการกว่า 4 ล้านรายต่อเดือน  และมีสินค้าให้เช็กราคาเกือบ 2 ล้านรายการจาก 5,000 ร้านค้าสามารถส่งตรงลูกค้าไปสู่ร้านค้าออนไลน์และสร้างรายได้ให้กับร้านค้าพันธมิตรเหล่านี้กว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี

จุดแข็งที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บนี้ก็คือเทคโนโลยี ซึ่งมี 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือระบบเว็บไซต์ ที่พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีจาวา ออกแบบให้แสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์ที่หลากหลายทั้ง พีซี โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตและมือถือ

______________________________




?เว็บค้าขายไพรซ์ซ่า มูลค่า 200 ล้าน - ตลาดออนไลน์?

?เว็บค้าขายไพรซ์ซ่า มูลค่า 200 ล้าน - ตลาดออนไลน์??เว็บค้าขายไพรซ์ซ่า มูลค่า 200 ล้าน - ตลาดออนไลน์?
สมัยเรียนเคยช่วยกันทำเว็บแบบนี้มาก่อน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงไปศึกษาต่อด้านการตลาด และจากประสบการณ์การทำเว็บที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าเว็บไซต์ที่ดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีฟีเจอร์มากมาย


จากเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาสินค้ารายแรกของไทยที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน

ไม่น่าเชื่อว่า... วันนี้ “ไพรซ์ซ่า ดอทคอม” ( www.priceza.com ) จะมีมูลค่าทางธุรกิจสูงถึง 200 ล้านบาท

ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติอย่าง “ไซเบอร์เอเจ้นต์” บริษัททุนจากประเทศญี่ปุ่น สนใจเข้าร่วมลงทุนถึง 20 ล้านบาท เพื่อต่อยอดธุรกิจและขยายไปสู่ตลาดอาเซียน

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา หรือคุณไว ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง ไพรซ์ซ่าดอทคอม  บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด บอกถึงที่มาของเว็บเปรียบเทียบราคานี้ว่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552  โดยได้ชวนเพื่อนที่เรียนจบมาด้วยกัน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คุณวิโรจน์ สุภาดุลย์ และคุณวัชระ นิวาตพันธุ์ มาร่วมสร้างธุรกิจด้วยกัน

ก่อนที่จะมาเป็นไพรซ์ซ่า คุณไวบอกว่า สมัยเรียนเคยช่วยกันทำเว็บแบบนี้มาก่อน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงไปศึกษาต่อด้านการตลาด และจากประสบการณ์การทำเว็บที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าเว็บไซต์ที่ดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีฟีเจอร์มากมาย แต่ที่สำคัญคือต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด

เคยมีผลการวิจัยจากวีซ่า ว่า 3 ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้คนไทยช้อปออนไลน์ อันดับหนึ่งคือค้นหาและเปรียบเทียบสินค้าได้ง่าย สองคือช่วยให้เปรียบเทียบราคาง่ายและประหยัดเงิน และสุดท้ายคือช้อปตอนไหนที่ไหนก็ได้

สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือของคนไทยเติบโตสูงมากขึ้นทุกปี ทำให้คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับการช้อปผ่านมือถือมากขึ้น จากสถิติของไพรซ์ซ่าเอง เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็เป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าเว็บผ่านมือถือมากกว่าพีซีหรือโน้ตบุ๊ก

ปัจจุบันไพรซ์ซ่า ดอทคอม มียอดผู้ใช้บริการกว่า 4 ล้านรายต่อเดือน  และมีสินค้าให้เช็กราคาเกือบ 2 ล้านรายการจาก 5,000 ร้านค้าสามารถส่งตรงลูกค้าไปสู่ร้านค้าออนไลน์และสร้างรายได้ให้กับร้านค้าพันธมิตรเหล่านี้กว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี

จุดแข็งที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บนี้ก็คือเทคโนโลยี ซึ่งมี 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือระบบเว็บไซต์ ที่พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีจาวา ออกแบบให้แสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์ที่หลากหลายทั้ง พีซี โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตและมือถือ

ส่วนที่สองคือระบบไพรซ์ซ่าบอท  ซึ่งเป็นระบบที่ทีมงานพัฒนาขึ้นมาเอง ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลสินค้า และรายละเอียดของสินค้าจากเว็บไซต์ต่าง ๆ  อัพเดทอัตโนมัติทุกวัน ส่งรายงานการทำงานแบบอัตโนมัติ และรองรับการขยายปริมาณร้านค้าได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงสามารถรองรับการขยายตลาดให้ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคได้

สำหรับโมเดลธุรกิจของไพรซ์ซ่า หลายคนคงสงสัยว่าให้บริการฟรีกับผู้เข้ามาใช้งานเปรียบเทียบราคาสินค้า แล้วรายได้บริษัทจะมาจากไหน คุณไว บอกว่า มีอยู่ 2 ส่วนคือพื้นที่โฆษณาซึ่งเป็นส่วนน้อย และส่วนแบ่งรายได้จากยอดขายออนไลน์จากร้านค้าที่มีลูกค้ามาจากไพรซ์ซ่า ซึ่งเป็นรายได้หลัก

จากการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่งเข้าร่วมทำตลาดในเว็บไซต์แห่งนี้ ทำให้ในปีที่ผ่านมา ไซเบอร์เอเจ้นต์ เวนเจอร์ส (CAV) บริษัททุนญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่ลงทุนธุรกิจอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซในหลาย ๆ ประเทศให้ความสนใจร่วมลงทุน โดยเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 10% หรือประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตรวดเร็วมากขึ้น

และในปีเดียวกันนี้ ไพรซ์ซ่าดอทคอม  ได้มีการขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยเปิดตัว www.priceza.co.id ในประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศแรก เนื่องจากตลาดอินโดฯ เป็นตลาดใหญ่กว่าไทยถึง 3 เท่า และมีแผนที่จะเปิดตลาดต่อในมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ภายใน 3 ปีข้างหน้า

คุณไวบอกอีกว่า ปัจจุบันสินค้าที่ยังมีการหาซื้อกันทางออนไลน์มากที่สุด ยังคงเป็น สินค้าประเภทไอที และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 60% ส่วนอีก 40% คือ สินค้าประเภทแฟชั่น เสื้อผ้าและเครื่องสำอาง

สำหรับการชำระเงินซื้อสินค้าออนไลน์ที่เคยเป็นสิ่งที่กังวลว่าชำระไปแล้วจะได้สินค้าหรือไม่นั้น พบว่าร้านค้าออนไลน์เริ่มปรับตัว โดยเริ่มมีการให้ชำระเงินสดปลายทางตอนรับสินค้ามากขึ้น

เทรนด์ตอนนี้นอกจากจะแข่งกันในเรื่องของราคาสินค้าแล้ว ร้านค้าออนไลน์ยังพยายามแข่งกันที่ความน่าเชื่อถือและบริการต่าง ๆ เช่น จัดส่งฟรี รับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน หรือรับประกันสินค้าสามารถส่งคืนสินค้าได้ภายใน 1 ปี ได้อีกด้วย.

นาตยา คชินทร

nattayap.k@gmail.com

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/265454/เว็บค้าขายไพรซ์ซ่า+มูลค่า+200+ล้าน+-+ตลาดออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.