Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 ธันวาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) กสทช. แรง!! ยืนยัน 4G ต้องประมูลเท่านั้น และวามเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมจาก 2%จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1% ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาต จะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่

ประเด็นหลัก

    อย่างไรก็ตาม จากข้อสงสัยดังกล่าว ได้ชี้แจงยังประธาน สนช. แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยติดขัดในข้อกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดให้การจัดสรรใบอนุญาต ต้องดำเนินการด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น อีกทั้งหากไม่ใช้วิธีประมูลก็อาจโดนข้อครหาจากสังคมได้ เพราะหลักการประมูลของประเทศไทย สังคมมักให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่ส่งเข้ารัฐเป็นหลัก
    ส่วนประเด็นความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมจาก 2%จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1% จากรายได้รวมต่อปี ได้ชี้แจงไปว่า กสทช.สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าหากลดค่าธรรมลงแล้ว ผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาต จะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งประมูล 3 จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องลดราคาค่าบริการในตลาดลง 15% แต่ท้ายสุดทางผู้ประกอบการก็จัดทำแพ็กเกจที่เน้นการเพิ่มบริการ หรือสิทธิประโยชน์บางสิ่งให้แทน จนผ่านเกณฑ์จาก กสทช. แต่ประชาชนไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลง



______________________________







งย้ำคลื่น4จีต้องประมูลเท่านั้น


    กสทช.แจง สนช. เหตุโดนขอลดค่าธรรมเนียม-เปลี่ยนวิธีประมูล 4 จี ย้ำแก้วิธีการไม่ได้จะผิดกฎหมาย
    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เชิญสำนักงาน กสทช. เข้าไปทำการชี้แจงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทาง กสทช.มีแผนจะดำเนินการจัดประมูลภายในปี 2558
    โดยในการชี้แจง ทางประธาน สนช.ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการประมูล 4 จี ใน 2 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต 4 จี จากเดิมที่กำหนดให้มาจากการประมูลเท่านั้น เป็นการพิจารณาให้ใบอนุญาตตามความเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการที่สามารถทำประโยชน์ให้ประชาชนได้มากกว่า (บิวตี้คอนเทสต์) และประเด็นการให้ลดในส่วนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจาก 2% จากรายได้รวมต่อปี เหลือ 1% จากรายได้รวมต่อปี
    อย่างไรก็ตาม จากข้อสงสัยดังกล่าว ได้ชี้แจงยังประธาน สนช. แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยติดขัดในข้อกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดให้การจัดสรรใบอนุญาต ต้องดำเนินการด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น อีกทั้งหากไม่ใช้วิธีประมูลก็อาจโดนข้อครหาจากสังคมได้ เพราะหลักการประมูลของประเทศไทย สังคมมักให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่ส่งเข้ารัฐเป็นหลัก
    ส่วนประเด็นความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมจาก 2%จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1% จากรายได้รวมต่อปี ได้ชี้แจงไปว่า กสทช.สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าหากลดค่าธรรมลงแล้ว ผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาต จะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งประมูล 3 จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องลดราคาค่าบริการในตลาดลง 15% แต่ท้ายสุดทางผู้ประกอบการก็จัดทำแพ็กเกจที่เน้นการเพิ่มบริการ หรือสิทธิประโยชน์บางสิ่งให้แทน จนผ่านเกณฑ์จาก กสทช. แต่ประชาชนไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลง
    นายฐากรกล่าวด้วยว่า ในเรื่องของราคาค่าใช้บริการ 3 จี ล่าสุด ได้สั่งการให้นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ให้ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว พร้อมทั้งตรวจสอบราคาแพ็กเกจทั้งหมดในตลาดว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนด  กสทช. ว่าลดลง 15% จริงหรือไม่.

http://www.thaipost.net/news/111214/100214

___________________



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้เชิญสำนักงาน กสทช. เข้าไปทำการชี้แจงกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 4G  บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทางการ กสทช. มีแผนจะดำเนินการจัดประมูลภายในปี2558

              โดยในการชี้แจง ทางประธาน สนช. ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการประมูล 4G ใน 2 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต 4G จากเดิมที่กำหนดให้มาจากการประมูลเท่านั้น เป็นการพิจารณาให้ใบอนุญาตตามความเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการที่สามารถทำประโยชน์ให้ประชาชนได้มากกว่า(บิวตี้ คอนเทสต์) และประเด็นการให้ลดในส่วนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจาก 2%จากรายได้รวมต่อปี เหลือ 1% จากรายได้รวมต่อปี

                 อย่างไรก็ตาม จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ได้ชี้แจงยังประธาน สนช. แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก ประเทศไทยติดขัดในข้อกฏหมาย ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดให้การจัดสรรใบอนุญาต ต้องดำเนินการด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น

                 อีกทั้งหากไม่ใช้วิธีประมูลก็อาจโดนข้อครหาจากสังคมได้ เพราะหลักการประมูลของประเทศไทยสังคมมักให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่ส่งเข้ารัฐเป็นหลัก

                 ส่วนประเด็น ความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมจาก 2%จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1%จากรายได้รวมต่อปี ได้ชี้แจงไปว่า กสทช. สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าหากลดค่าธรรมลงแล้ว ผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาต จะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งประมูล 3G บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์  ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องลดราคาค่าบริการในตลาดลง 15% แต่ท้ายสุดทางผู้ประกอบการก็จัดทำแพคเกจที่เน้นการเพิ่มบริการ หรือสิทธิประโยชน์บางสิ่งให้แทน จนผ่านเกณฑ์จาก กสทช. แต่ประชาชนไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลง

              ล่าสุด จึงได้สั่งการให้ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ให้ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว พร้อมทั้งตรวจสอบราคาแพ็คเกจทั้งหมดในตลาดว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนด กสทช. ว่าลดลง 15% จริงหรือไม่




http://www.naewna.com/business/134789

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.