Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 TOT เผยพันธมิตรธุรกิจเข้าวินรอบแรก 5 ราย AIS TRUE samart LOXLEY โมบายแอลทีอี ทั้ง 5 รายได้เสนอโครงการที่จะเป็นพันธมิตรกับทีโอทีประมาณ 15-16 โครงการ ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ไฟเบอร์ออปติก ลาสไมล์ และเอ็มวีเอ็นโอ ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

ประเด็นหลัก


 นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ทีโอทีได้ประกาศเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจไปเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า ขณะนี้มีเอกชนสนใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจแล้ว จำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด ทั้ง 5 รายได้เสนอโครงการที่จะเป็นพันธมิตรกับทีโอทีประมาณ 15-16 โครงการ ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ไฟเบอร์ออปติก ลาสไมล์ และเอ็มวีเอ็นโอ ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่ไม่ครบทุกกลุ่มธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แบ่งไว้ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3.บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5.ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6.บริการไอที ไอดีซี และคลาวด์ ’


______________________________







ทีโอทีเผยพันธมิตรธุรกิจเข้าวินรอบแรก 5 ราย เตรียมปั้นรายได้ปีละ 1.4 แสนล้านบาท



 ทีโอทีเผยพันธมิตรธุรกิจเข้าวินรอบแรก 5 ราย เตรียมปั้นรายได้ปีละ 1.4 แสนล้านบาท
นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์

        บอร์ดทีโอที เผยความคืบหน้าในการหาพันธมิตรทางธุรกิจ ล่าสุด บริษัทคนไทย 5 รายเสนอโครงการเข้ามาแล้วกว่า 16 โครงการ เร่งชงเรื่องเสนอคนร.ภายในเดือนนี้ หวังเริ่มขับเคลื่อนธุรกิจ มี.ค.ปีหน้า คาดสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้านบาท พร้อมอ้าแขนรับบริษัทต่างชาติเสนอโครงการรอบ 2 หลังจากที่เสนอรอบแรกไม่ทัน แจงปัญหาการโยกย้ายพนักงานไม่เกี่ยวกับบอร์ดเพราะหน้าที่คือ ทำงานเกี่ยวกับการปรับโครงสร้าง ส่วนเรื่องคนเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารตัดสินใจ
     
       นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ทีโอทีได้ประกาศเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจไปเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า ขณะนี้มีเอกชนสนใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจแล้ว จำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด ทั้ง 5 รายได้เสนอโครงการที่จะเป็นพันธมิตรกับทีโอทีประมาณ 15-16 โครงการ ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ไฟเบอร์ออปติก ลาสไมล์ และเอ็มวีเอ็นโอ ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่ไม่ครบทุกกลุ่มธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แบ่งไว้ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3.บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5.ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6.บริการไอที ไอดีซี และคลาวด์ ’
     
       สำหรับรายละเอียดของโครงการแต่ละรายทั้ง 16 โครงการดังกล่าวนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ โดยบางรายสามารถร่วมทำธุรกิจกับทีโอทีได้ทันที เพราะเป็นลักษณะการเช่าใช้โครงข่ายของทีโอที เพื่อไปให้บริการ (เอ็มวีเอ็นโอ) ขณะที่บางรายต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากเป็นลักษณะของการร่วมลงทุน และใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในการสร้างประโยชน์ สร้างรายได้ให้ทีโอที ซึ่งจะต้องมีการเจรจากันอีกหลายรอบ คาดว่าภายในเดือน ธ.ค.นี้ จะนำเสนอแผนการดำเนินการต่อ คนร.
     
       นายชิต กล่าวว่า คนร.อาจจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการพิจารณา และในเดือน มี.ค.ปีหน้าจะเห็นความชัดเจนของรูปแบบการทำธุรกิจร่วมกัน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ทีโอทีไม่น้อยกว่าปีละ 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่บริษัทต่างชาติที่สนใจเข้ามาหารือถึงการเป็นพันธมิตรก่อนหน้านี้นั้น ในรอบแรกบริษัทดังกล่าวเสนอโครงการเข้ามาไม่ทัน ทีโอที จึงยังเปิดโอกาสให้เข้ามาเสนอโครงการได้ในรอบที่ 2 ได้ ส่วนกระแสข่าวที่การโยกย้ายพนักงานทีโอทีตั้งแต่ระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ 27 ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่าย 80 ตำแหน่ง และผู้จัดการส่วน 500 ตำแหน่ง จนทำให้พนักงานบางส่วนเกิดความไม่พอใจ และได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมนั้น นายชิต ให้ความเห็นว่า คณะกรรมการทีโอทีเข้ามาดูแลแค่เรื่องโครงสร้างกลุ่มธุรกิจตามที่ คนร.กำหนด ไม่ได้เป็นผู้สั่งโยกย้ายใคร คณะกรรมการมีหน้าที่ดูฝ่ายบริหารที่เป็นรองและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่เท่านั้น ซึ่งก็เป็นการปรับตามโครงสร้างให้เหมาะสมต่อ 6 ธุรกิจ ส่วนตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย หรือผู้จัดการส่วนเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะปรับให้เหมาะสมไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการแต่อย่างใด
     


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000144606

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.