Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 ธันวาคม 2557 เลขาฯ รองประธาน กสทช.เจษฎา ระบุ ไม่เห็นด้วยกับข้อสงสัยของสำนักงานกฤษฎีกาตีความให้ประมูลดาวเทียมสื่อสาร แจงดาวเทียมใช้ความถี่ในการควบคุมดาวเทียมไม่ใช่คลื่นความถี่โทรคมนาคม

ประเด็นหลัก




       ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีที่ฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีพิมพ์แผ่นพับ 'ไขข้อสงสัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมสื่อสาร' มีความเห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศให้การยอมรับสิทธิในคลื่นความถี่ดาวเทียมเป็นหลัก ส่วนตำแหน่งวงโคจรเป็นเพียงเงื่อนไขประกอบการใช้คลื่นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อรัฐได้รับสิทธิในคลื่นความถี่ดาวเทียมสื่อสารมาแล้ว ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการอนุญาตและกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งดาวเทียมมีคุณสมบัติในการส่งและรับคลื่นความถี่ จึงถือว่าใช้คลื่นความถี่ หาใช่แค่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนคลื่น ดังนั้นเอกชนที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศจึงต้องประมูลสิทธิการใช้คลื่นความถี่นั้นตนเองไม่เห็นด้วย
     
       ทั้งนี้ เนื่องจากความถี่ที่ดาวเทียมใช้คือความถี่ในการควบคุมดาวเทียมไม่ใช่คลื่นความถี่ด้านโทรคมนาคมที่เป็นช่วงความถี่ที่ต้องจัดให้เกิดการประมูล การออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้กับดาวเทียมสื่อสารของ กสทช.เป็นการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตไว้แล้วตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ได้กำหนดให้กิจการดาวเทียมสื่อสารเป็นกิจการโทรคมนาคมที่จะต้องขอรับใบอนุญาต ในการพิจารณาอนุญาตในกรณีนี้จึงย่อมสามารถนำหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการพิจารณาอนุญาตในกิจการดาวเทียมสื่อสารได้
     
       'วงโคจรดาวเทียมสื่อสารในอวกาศเป็นทรัพยากรที่ทั่วโลกใช้ร่วมกัน สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จึงจัดสรรให้ใช้ไม่ใช่นำมาประมูล การที่ กสทช.ออกใบอนุญาตให้ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการดาวเทียมสื่อสารนำใบอนุญาต เป็นเอกสารประกอบสำหรับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที และ ITU ได้คุยกัน กสทช.เราทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระเพื่อให้เกิดการแข่งขัน บทบาทของเราไม่ใช่รัฐที่ต้องผูกขาดธุรกิจไว้ที่รัฐ เราเป็นองค์กรที่ต้องทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์'
  







_____________________________________________________















“เลขาฯ รองประธาน กสทช.” ยืนยันดาวเทียมสื่อสารไม่ต้องประมูล



ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

        เลขาฯ รองประธาน กสทช.ไม่เห็นด้วยกับข้อสงสัยของสำนักงานกฤษฎีกาตีความให้ประมูลดาวเทียมสื่อสาร แจงดาวเทียมใช้ความถี่ในการควบคุมดาวเทียมไม่ใช่คลื่นความถี่โทรคมนาคม การออกใบอนุญาตประกอบกิจการถูกต้องตาม กม. ด้าน “หมอลี่” ชี้ควรส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความเพื่อความรอบคอบและไม่ถูกสอบจาก ป.ป.ช.
     
       ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีที่ฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีพิมพ์แผ่นพับ 'ไขข้อสงสัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมสื่อสาร' มีความเห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศให้การยอมรับสิทธิในคลื่นความถี่ดาวเทียมเป็นหลัก ส่วนตำแหน่งวงโคจรเป็นเพียงเงื่อนไขประกอบการใช้คลื่นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อรัฐได้รับสิทธิในคลื่นความถี่ดาวเทียมสื่อสารมาแล้ว ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการอนุญาตและกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งดาวเทียมมีคุณสมบัติในการส่งและรับคลื่นความถี่ จึงถือว่าใช้คลื่นความถี่ หาใช่แค่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนคลื่น ดังนั้นเอกชนที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศจึงต้องประมูลสิทธิการใช้คลื่นความถี่นั้นตนเองไม่เห็นด้วย
     
       ทั้งนี้ เนื่องจากความถี่ที่ดาวเทียมใช้คือความถี่ในการควบคุมดาวเทียมไม่ใช่คลื่นความถี่ด้านโทรคมนาคมที่เป็นช่วงความถี่ที่ต้องจัดให้เกิดการประมูล การออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้กับดาวเทียมสื่อสารของ กสทช.เป็นการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตไว้แล้วตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ได้กำหนดให้กิจการดาวเทียมสื่อสารเป็นกิจการโทรคมนาคมที่จะต้องขอรับใบอนุญาต ในการพิจารณาอนุญาตในกรณีนี้จึงย่อมสามารถนำหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการพิจารณาอนุญาตในกิจการดาวเทียมสื่อสารได้
     
       'วงโคจรดาวเทียมสื่อสารในอวกาศเป็นทรัพยากรที่ทั่วโลกใช้ร่วมกัน สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จึงจัดสรรให้ใช้ไม่ใช่นำมาประมูล การที่ กสทช.ออกใบอนุญาตให้ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการดาวเทียมสื่อสารนำใบอนุญาต เป็นเอกสารประกอบสำหรับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที และ ITU ได้คุยกัน กสทช.เราทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระเพื่อให้เกิดการแข่งขัน บทบาทของเราไม่ใช่รัฐที่ต้องผูกขาดธุรกิจไว้ที่รัฐ เราเป็นองค์กรที่ต้องทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์'
     
       ด้าน น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ กล่าวว่า ตนเองไม่เห็นด้วยมานานแล้วกับการให้ใบอนุญาตดาวเทียมสื่อสารเพราะทำให้รัฐบาลเสียรายได้ จากเดิมที่ต้องจ่ายค่าสัญญาสัมปทานให้รัฐผ่านกระทรวงไอซีทีมากกว่า 2% ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน กลับต้องมาจ่ายเป็นเพียงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ กสทช.ไม่เกิน 2% ของรายได้ ซึ่งทำให้เอกชนอย่าง บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เริ่มทยอยนำดาวเทียมที่หมดสัญญาสัมปทานมาขอใบอนุญาตใหม่แล้วถึง 2 ดวง คือ ไทยคม 7 และไทยคม 8
     
       ดังนั้น หากปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป สุดท้ายไทยคมก็จะนำดาวเทียมที่ทยอยหมดสัญญาสัมปทานมาขอใบอนุญาตทั้งหมด จนทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้มหาศาล ซึ่งที่ผ่านมาสำนักกฎหมายโทรคมนาคมของ กสทช.ก็มีการตั้งคำถามเรื่องดังกล่าวเหมือนกัน แต่กรรมการ กสทช.ไม่มีใครนำเรื่องไปให้กฤษฎีกาตีความว่าดาวเทียมเข้าข่ายเป็นคลื่นความถี่หรือไม่
     
       ดังนั้น เพื่อความรอบคอบ เมื่อมีความเห็นท้วงติงมาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และเพื่อไม่ให้ถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้ามาตรวจสอบภายหลังถึงความไม่โปร่งใสในการให้ใบอนุญาต คณะอนุกรรมการฯ ต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) หรือเลขาธิการ กสทช.ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมต่อคณะกรรมการ กสทช. เพื่อตัดสินใจว่าจะนำเรื่องดาวเทียมสื่อสารที่มีข้อข้องใจอยู่นี้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความให้แล้วเสร็จหรือไม่ ซึ่งตนเองคาดว่าเร็วๆ นี้คณะอนุกรรมการฯ จะต้องนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมให้คณะกรรมการ กทค.พิจารณาหลังจากที่ยืดเยื้อมานาน
     
       'ต้องยอมรับว่าคณะอนุกรรมการฯ ก็มีความเห็นต่างกัน บางท่านก็เชื่อว่าดาวเทียมสื่อสารไม่ต้องประมูล บางท่านก็เชื่อว่าต้องประมูล ดังนั้นเชื่อว่าอนุกรรมการฯ จะส่งความคิดเห็นมาทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่คณะกรรมการ กสทช.ว่าจะส่งความเห็นต่างนี้ไปให้กฤษฎีกาตีความหรือไม่ ที่ผ่านมาเราก็รอว่าเมื่อไหร่อนุกรรมการฯ จะส่งเรื่องมาให้พิจารณาเสียที แต่เมื่อมีการตั้งข้อสังเกตมาจากสำนักงานกฤษฎีกา อนุกรรมการฯ ก็ต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด'
     
       อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าดาวเทียมสื่อสารคือคลื่นความถี่ที่ต้องประมูล ดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 จะมีผลย้อนหลังต้องดำเนินการประมูลตามมาตรา 45 ภายใต้ พ.ร.บ.กสทช. ซึ่ง กสทช.ก็ต้องมาหาทางออกร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ แม้ว่าจะไม่มีเอกชนรายใดเข้ามาประมูลแข่งก็ตาม


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000148270

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.