Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 มกราคม 2558 ICT.พันทิป ระบุ กสทช.ทำหน้าที่กำกับดูแลเช่นเดิม ด้านเลขาธิการ กสทช.มั่นใจเดินหน้าทำงานตามแผนเดิม

ประเด็นหลัก



     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่...)พ.ศ..... เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ไม่มีผลทำให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถูกยุบ แต่เป็นเพียงการนำอำนาจการกำหนดนโยบายต่างๆ มาให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นผู้พิจารณา ขณะที่การกำกับดูแลยังคงเป็นหน้าที่ของ กสทช.เหมือนเดิม
     
       ดังนั้น เรื่องการเดินหน้าประมูล 4G นั้น กสทช.ยังคงดำเนินการเตรียมประมูลได้ต่อไประหว่างรอคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่จะถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าจะได้คณะกรรมการชุดดังกล่าวภายในเดือน เม.ย.หรืออาจจะถูกจัดตั้งขึ้นก่อนด้วยการขออำนาจจาก ครม. จากนั้นคณะกรรมการชุดนี้จะมาดูว่าการประมูลจะต้องแบ่งคลื่นความถี่ให้ภาครัฐไปจัดสรรทำกิจการเพื่อสังคมและความมั่นคงในคลื่นความถี่ไหนบ้าง







_____________________________________________________
















“พรชัย” ยืนยัน กสทช.ไม่ยุบ



        รมว.ไอซีทียืนยันแก้ พ.ร.บ.กสทช.ไม่กระทบความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช. เพียงแค่นำเรื่องนโยบายให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลรับผิดชอบ ส่วน กสทช.ทำหน้าที่กำกับดูแลเช่นเดิม ด้านเลขาธิการ กสทช.มั่นใจเดินหน้าทำงานตามแผนเดิม
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่...)พ.ศ..... เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ไม่มีผลทำให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถูกยุบ แต่เป็นเพียงการนำอำนาจการกำหนดนโยบายต่างๆ มาให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นผู้พิจารณา ขณะที่การกำกับดูแลยังคงเป็นหน้าที่ของ กสทช.เหมือนเดิม
     
       ดังนั้น เรื่องการเดินหน้าประมูล 4G นั้น กสทช.ยังคงดำเนินการเตรียมประมูลได้ต่อไประหว่างรอคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่จะถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าจะได้คณะกรรมการชุดดังกล่าวภายในเดือน เม.ย.หรืออาจจะถูกจัดตั้งขึ้นก่อนด้วยการขออำนาจจาก ครม. จากนั้นคณะกรรมการชุดนี้จะมาดูว่าการประมูลจะต้องแบ่งคลื่นความถี่ให้ภาครัฐไปจัดสรรทำกิจการเพื่อสังคมและความมั่นคงในคลื่นความถี่ไหนบ้าง
     
       อย่างไรก็ตาม กระทรวงไอซีทียังได้เสนอการแก้ กม.และผ่าน ครม.ไปแล้วทั้งหมด 9 ฉบับ ได้แก่ 1. พ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล 2. พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ..... 3. ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ..... 4. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่...) พ.ศ..... 5. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ..... 6. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ..... 7. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ..... 8. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล พ.ศ..... และ 9. ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ...) พ.ศ..... ทั้งนี้ คาดว่า กม.ทั้งหมดจะผ่านกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในเดือน เม.ย.นี้
     
       “สำหรับคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลชุดนี้จะมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องประมาณ 30-32 คน ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน มีรองนายกฯ และ รมว.ไอซีที และ กสทช. โดยทั้งหมดจะมาจากหลายๆ หน่วยงาน เป็นกรรมการ”
     
       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กสทช.ไม่ได้สูญเสียอำนาจ หรือถูกยึดอำนาจ องค์กรยังคงเดินหน้าทำงานต่อไป ซึ่งมั่นใจว่าการประมูล 4G จะยังคงมีอยู่ เพราะยังคงเป็นหน้าที่กำกับดูแลของ กสทช. เพียงแต่ต้องรับนโยบายจากคณะกรรมการดิจิตอลเท่านั้น อีกทั้งกฎหมายดังกล่าวยังคงเป็นเพียงร่าง ซึ่งความไม่แน่นอนในการปรับแก้ ปรับเปลี่ยนยังคงมีขึ้นได้
     
       แต่ทั้งนี้ จากร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 58 ที่ผ่านมานั้น มีส่วนเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ส่วน คือ 1. การทำแผนแม่บทคลื่นความถี่แห่งชาติ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิตอลแห่งชาติ 2. แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์, แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และแผนการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ต้องสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการดิจิตอลแห่งชาติ 3. การยุบรวมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ส่วนจำนวนและที่มาของกรรมการ กสทช.ยังเป็น 11 คนเหมือนเดิมแต่เหลือบอร์ดเดียว ส่วนเรื่องที่กำหนดให้จัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูลรวมถึงวิธีการงบประมาณของ กสทช.ที่มีผู้ท้วงติงมากก็ยังไม่ได้แก้ไข ซึ่งเข้าใจว่ายังต้องมีขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ต้องให้ กสทช.เข้าไปชี้แจง และจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาอีกมาก ในร่าง พ.ร.บ.ที่แก้นี้ไม่ได้มีส่วนไหนที่ทำให้กังวล แต่หลังจากนี้จะพยายามเข้าไปขอให้มีการจัดสรรงบประมาณประจำปีของ กสทช.ต้องผ่านสภาฯ เพื่อให้ กสทช.ทำงานได้อย่างสบายใจขึ้น 4. การประสานงานระหว่างประเทศให้อยู่ในความดูแลของรัฐบาล และ 5. เงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ที่ กสทช.ดูแลอยู่ จะโอนไปอยู่ภายใต้กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
     
       ทั้งนี้ กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน รวมถึงจะมีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการใช้เงินเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจดิจิตอล
     

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000002285

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.