Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 มกราคม 2558 Cisco.วัตสัน ระบุ IOE ในปีที่ผ่านมามีการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นจาก 10.7 พันล้านสิ่ง เป็น 13.7 พันล้านสิ่ง และภายในปี 2560 จำนวนการเชื่อมต่อทางด้านอุตสาหกรรมจะแซงหน้าการเชื่อมต่อของผู้บริโภค แตะระดับ 50 พันล้านสิ่งภายในปี 2563

ประเด็นหลัก


       'ตลาดไอทีโดยรวมในไทยในช่วงปี 2557 มีการเติบโตในระดับคงที่ เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ โดยที่บางปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนในปี 2558 คาดว่าองค์กรธุรกิจในไทยจะพยายามขยายบริการ เช่น การนำเสนอบริการวิดีโอให้แก่ลูกค้า หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ภายในองค์กร รวมถึงการประสานงานร่วมกัน และบริการสำหรับประชาชนมากขึ้น'
     
       ในปีที่ผ่านมาได้เห็นโมบิลิตี้ที่เกิดขึ้นกับเซอร์วิสโพรวายเดอร์ และเกิดขึ้นในองค์กร (รวมทั้ง BYOD) ได้อย่างที่ได้คาดการณ์ไว้ ปรากฎการเติบโตที่ต่อเนื่องของสมาร์ทดีไวซ์และการเปิดตัวของ 3G ช่วยให้อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การให้บริการไวไฟ ฮอตสปอต ยังช่วยทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างอยู่ที่สาธารณะ กับที่ทำงานได้อย่างง่ายดาย ทำให้เส้นกั้นระหว่างสำนักงานกับที่บ้านลดลง
     
       แม้ว่าอาจยังมองไม่เห็นการเกิดขึ้นของ IOE ในปี 2014 มากนัก แต่ก็มีการรับรู้มากกว่าปีที่ผ่านมา เพราะกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนต้องเกี่ยวข้องและมันจะกลายเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน การเล่น และการเรียนรู้ของผู้คน ตอนนี้ IOE ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังต้องอาศัยอีโคซิสเต็มส์ใหม่ๆ และจะมีการพัฒนาต่อไป
     
       IOE ในปีที่ผ่านมามีการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นจาก 10.7 พันล้านสิ่ง เป็น 13.7 พันล้านสิ่ง และภายในปี 2560 จำนวนการเชื่อมต่อทางด้านอุตสาหกรรมจะแซงหน้าการเชื่อมต่อของผู้บริโภค และการเชื่อมต่อทั้งหมดจะแตะระดับ 50 พันล้านสิ่งภายในปี 2563บริษัทต่างๆ จะปรับใช้ IOE เพิ่มมากขึ้น โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มใดๆ
   


_____________________________________________________
















พร้อมรับมือกับ 3 เทรนด์ไอทีปี 58(Cyber Weekend)


นฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

        ผลกระทบทางการเมืองไม่เพียงทำร้ายธุรกิจต่างๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงเทรนด์ไอทีในภาพรวมอีกด้วย เพราะแม้จะมีการคาดการณ์ไว้ว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามาตามกระแสของโลก และน่าจะเกิดขึ้นในไทย แต่ในความเป็นจริงแล้วบางเทคโนโลยีที่โลกเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป กลับยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในปีที่ผ่านมา แล้วเทรนด์อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ปีที่คาดว่าทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น
     
       ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาพของโมบายนั้นเป็นเทรนด์ที่ค่อนข้างเติบโตดีในปีที่ผ่านมา หลังจากที่ไทยเริ่มมี 3G แพร่หลายมากขึ้น รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าในเดือนตุลาคม 2557 พบว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 26 ล้านคน และอัตราครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 34.7 % (จาก 11.4 %เมื่อปีที่ก่อนหน้า) ขณะที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียคิดเป็นสัดส่วน 25% และผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่ที่ 38 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด
     
       เช่นเดียวกับรายงานของไอดีซีในเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่คาดการณ์ว่าสัดส่วนการใช้สมาร์ทโฟนคาดว่าจะแตะระดับ 50 % ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด เมื่อเทียบกับ 37.7 % ในปีที่ผ่านมา แตกต่างจากฝั่งไอทีอื่นๆ ที่เวนเดอร์หลายราย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าในช่วงปีที่ผ่านมามีผลกระทบจากการเมือง ทำให้ไตรมาส 1 ถึง 3 ตัวเลขจะไม่ค่อยดีเท่าไร ในขณะที่ไตรมาส 4 ค่อนข้างกระเตื้องขึ้น
     
       สิ่งที่ทำให้หลายคนคาดไม่ถึงคือการเติบโตอย่างเชื่องช้าของคลาวด์คอมพิวติง ที่แม้จะมีกระแสว่ามีการใช้งานกันแล้วในเมืองไทย แต่ในความเป็นจริงยังนับได้ว่าไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ โดยนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไอทีคลาวด์เรายังช้ากว่าประเทศอื่นโดยปัจจัยสำคัญเพราะด้านการเมือง ทำให้อะไรที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ก็ยังไม่มา เพิ่งจะเริ่มมองเห็นอย่างจริงจังปลายปี 2557 และส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของ As a Service ไม่ได้มาอย่างจริงจัง
     
       ***บิ๊กดาต้ามาแรงจริงทั้งปีที่ผ่านมาและปีนี้
     
       อีเอ็มซีคาดว่าคลาวด์ในปีที่ผ่านมาไฮบริดคลาวด์เติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เพราะทั้งพับบลิคคลาวด์และไพรเวตคลาวด์จะมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้การทำงานวิ่งระหว่าง 2 คลาวด์ได้ ปี 58รูปแบบของคลาวด์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น เป็น As a Service ที่จะสามารถทำงานได้ที่หน้าเว็บโดยไม่ต้องร้องขอไปทางฝ่ายไอทีจัดการให้ ซึ่งที่ผ่านมาแม้ไอดีซีจะรายงานว่าการใช้งานคลาวด์ของไทยยังอยู่ท้ายๆ ของเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น แต่คลาวด์แป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะกระแสมา
     
       'บิ๊กดาต้ากลับเป็นสิ่งที่เติบโตอย่างชัดเจนในไทย โดยในปีที่ผ่านมาบิ๊กดาต้าได้รับการตอบรับค่อนข้างดีมากแล้ว และในปีนี้บิ๊กดาต้าโตเร็วมาก และจะกลายเป็นกระแสหลัก ซึ่งตลาดเมืองไทยมีความแตกต่างจากต่างประเทศที่บิ๊กดาต้าโตเร็วกว่า เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกค้าให้ความสำคัญกับบิ๊กดาต้าซึ่งเป็นเลเยอร์มากกว่า และเห็นรีเทิร์นบิสสิเนสทันที'
     
       นอกจากนี้ด้วยเหตุผลที่ทุกธุรกิจต้องการรู้พฤติกรรมผู้บริโภค และต้องการเข้าถึงพฤติกรรมลูกค้า เพื่อออกสินค้าหรือเคมเปญได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในปัจจุบันเป็นเรียลไทม์แล้ว เทคโนโลยีใหม่ประมวลผลเร็วกว่าปกติ อย่างเช่นเทคโนโลยีแฟลช ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เร็วมาก ทำให้ได้คำตอบจากบิ๊กดาต้าเพียงแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น ช่วยให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป ธุรกิจคล่องตัวขึ้น ผลตอบแทนก็ได้เร็วขึ้น
     
       เช่นเดียวกับแซสที่ทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด มองว่าเทรนด์เทคโนโลยีในปีนี้ บิ๊กดาต้า ยังคงมีความสำคัญอยู่มาก ทำให้ธุรกิจหลายๆองค์กรก็ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลบิ๊กดาต้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น แต่ในปีนี้จะมีการนำเทคโนโลยีฮาดูปมาใช้กับบิ๊กดาต้ากันมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Big data on Hadoop ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง1 ใน 3 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลบนฮาดูปได้รวดเร็วมากเพียงไม่กี่นาที อีกทั้งข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     
       ดังนั้นธุรกิจหรือองค์กรในไทยที่มีข้อมูลมากๆ มหาศาล อาทิ ธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจประกันชีวิต/ประกันภัย โทรคมนาคม ธุรกิจพลังงาน หรือแม้กระทั่งหน่วยงานรัฐที่มีข้อมูลสถิติจำนวนมากควรให้ความสำคัญหรือสนใจในเรื่อง Big data on Hadoop นี้

พร้อมรับมือกับ 3 เทรนด์ไอทีปี 58(Cyber Weekend)
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิสโก้ประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน

        *** Internet of Everything เห็นชัดขึ้น
     
       ด้านวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิสโก้ประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า อัตราการเชื่อมต่อและจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันตลาดไอซีทีในปีนี้ให้เติบโตขึ้น ซิสโก้เชื่อว่าตลาดไอซีทีจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยปริมาณการใช้งานวิดีโอ โซเชียล โมบายล์ แอปพลิเคชันและคอนเทนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจาก 'Internet of Everything' (IOE) เราจะพบเจอการปรับใช้ IOE ในระยะเบื้องต้น เพื่อเชื่อมต่อข้อมูล บุคคล กระบวนการ และสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทุกที่ทุกเวลาบนทุกอุปกรณ์
     
       'ตลาดไอทีโดยรวมในไทยในช่วงปี 2557 มีการเติบโตในระดับคงที่ เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ โดยที่บางปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนในปี 2558 คาดว่าองค์กรธุรกิจในไทยจะพยายามขยายบริการ เช่น การนำเสนอบริการวิดีโอให้แก่ลูกค้า หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ภายในองค์กร รวมถึงการประสานงานร่วมกัน และบริการสำหรับประชาชนมากขึ้น'
     
       ในปีที่ผ่านมาได้เห็นโมบิลิตี้ที่เกิดขึ้นกับเซอร์วิสโพรวายเดอร์ และเกิดขึ้นในองค์กร (รวมทั้ง BYOD) ได้อย่างที่ได้คาดการณ์ไว้ ปรากฎการเติบโตที่ต่อเนื่องของสมาร์ทดีไวซ์และการเปิดตัวของ 3G ช่วยให้อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การให้บริการไวไฟ ฮอตสปอต ยังช่วยทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างอยู่ที่สาธารณะ กับที่ทำงานได้อย่างง่ายดาย ทำให้เส้นกั้นระหว่างสำนักงานกับที่บ้านลดลง
     
       แม้ว่าอาจยังมองไม่เห็นการเกิดขึ้นของ IOE ในปี 2014 มากนัก แต่ก็มีการรับรู้มากกว่าปีที่ผ่านมา เพราะกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนต้องเกี่ยวข้องและมันจะกลายเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน การเล่น และการเรียนรู้ของผู้คน ตอนนี้ IOE ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังต้องอาศัยอีโคซิสเต็มส์ใหม่ๆ และจะมีการพัฒนาต่อไป
     
       IOE ในปีที่ผ่านมามีการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นจาก 10.7 พันล้านสิ่ง เป็น 13.7 พันล้านสิ่ง และภายในปี 2560 จำนวนการเชื่อมต่อทางด้านอุตสาหกรรมจะแซงหน้าการเชื่อมต่อของผู้บริโภค และการเชื่อมต่อทั้งหมดจะแตะระดับ 50 พันล้านสิ่งภายในปี 2563บริษัทต่างๆ จะปรับใช้ IOE เพิ่มมากขึ้น โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มใดๆ
     
       นอกจากนี้โมบิลิตี้ ยังคงได้รับความนิยมและสำคัญอย่างต่อเนื่องในสถานที่ทำงานปี 2558 ปัจจุบันสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยอยู่ที่ 38% และการย้ายไปสู่อุปกรณ์เหล่านี้จะยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนรายได้ตลาดในปีนี้ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการที่พนักงานออฟฟิศในไทยปรับใช้ BYOD ผ่านทางสมาร์ทโฟน สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ และเริ่มกระจายไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ
     
       IOE จะทำให้เห็นเทคโนโลยีใหม่อย่าง Fog Computing หรือ Fogging ซึ่งเป็นรูปแบบที่ข้อมูล การประมวลผล และแอปพลิเคชัน ถูกรวมไว้ที่ขอบหรือส่วนริมของเครือข่าย (Network Edge) แทนที่จะอยู่ในคลาวด์เกือบทั้งหมด โมเดลนี้จะสร้างแพลตฟอร์มเวอร์ชวลไลซ์ที่จัดหาบริการด้านการประมวลผล สตอเรจ เครือข่ายระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง และดาต้าเซ็นเตอร์ที่รองรับคลาวด์คอมพิวติงทั่วไป Fog Computing เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการจัดการกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ไม่หยุดยั้ง หรือ Internet of Everything
     
       ***คลาวด์คอมพิวติงจะขยายตัวมากขึ้น
     
       ด้านเรดแฮท อิงค์ ให้ข้อมูลว่า เทรนด์ในปีนี้นั้นบิ๊กดาต้ายังคงมาแรง โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับบิ๊กดาต้า เช่น ฮาดูป จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ธุรกิจประเภทใหม่ๆ และเกิดการจัดประเภทอุตสาหกรรมโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากบิ๊กดาต้า สามารถเลือกสรรข้อมูลมาใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ นำข้อมูลเชิงลึกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นอกจากนี้จะมีการใช้นวัตกรรมบิ๊กดาต้าต่างๆ ที่อยู่บนโอเพ่นซอร์สมากขึ้น เช่นเดียวกับ Internet of Everything จะขยายตัวมากขึ้น
     
       การใช้งานคลาวด์จะขยายวงกว้างมากขึ้นในปี 2558 โดยจะมีนวัตกรรมจำนวนมากเกิดขึ้นบนพับลิคคลาวด์ โดยเฉพาะบริการจาก Amazon Web Services และ Google ผู้ประกอบการต่างจับตาดูสิ่งที่เกิดขึ้น โดยผู้ประกอบการจะใช้พับลิคคลาวด์มากขึ้นในปี 2558 และจะได้สัมผัสกับประโยชน์จากการสามารถปรับขยายขนาดได้ เช่นเดียวกับการใช้งานแอปพลิเคชัน SaaS ที่เพิ่มมากขึ้น
     
       แต่ทั้งนี้ด้วยความไม่มั่นใจที่มาพร้อมกับความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และประเด็นการกำกับดูแล ของพับบลิคคลาวด์ก็จะทำให้ธุรกิจหันมามองไฮบริดคลาวด์มากขึ้น โดย 'ไฮบริด' จะมีความหมายมากกว่าพับลิคคลาวด์และไพรเวตคลาวด์ โดยจะมีรูปแบบบริการต่างๆ อาทิ IaaS, PaaS, SaaS สถาปัตยกรรมไฮบริดต่างๆ แอปพลิเคชันที่เป็นไฮบริด และรูปแบบผู้ให้บริการไฮบริดไอที (hosters, MSPs )หรืออาจจะเรียกว่าเป็นยุคแห่ง 'การขยายตัวของคลาวด์'
     
       ทั้งนี้คลาวด์จะขยายตัวในปี 2558 นี้จะเป็นบทบาทที่เป็นแนวโน้มสำคัญในดาต้าเซ็นเตอร์ คล้ายกับเวอร์ชวลไลเซชันที่ขยายตัวอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ และในเวลาต่อมา คลาวด์คอมพิวติงก็ขยายตัวอยู่ในการขยายตัวของเวอร์ชวลไลเซชัน การรวมตัวกันของผู้ให้บริการคลาวด์ที่ราคาไม่แพง
     
       ในส่วนของโมบายล์นั้นจะได้เห็นความซับซ้อนของการใช้โมบายล์แอปพลิเคชันเป็นจำนวนมากในองค์กร การพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชันขององค์กรจะปรับเปลี่ยนจากผู้พัฒนารายเดียว ไปเป็นแนวทางการพัฒนาแบบทีม เนื่องจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน ซึ่งจะได้เห็นการควบรวมกิจการแพลตฟอร์มโมบายล์อย่างต่อเนื่องในปี 2558 และจะทำให้แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอีกนาน เนื่องจากแอปพลิเคชันต่างๆ ย้ายไปทำงานบนคลาวด์และอุปกรณ์โมบายล์มากขึ้น
     
       คลาวด์ บิ๊กดาต้า และ Internet of Everything จึงถือเป็นเทรนด์หลักที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างแน่นอนในปีนี้ เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่มีความชัดเจน แม้จะมีเรื่องอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างซีเคียวริตี้หรือโมบิลิตี้ แต่ 2 เรื่องหลังนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งมากกว่า เพราะคลาวด์นั้นแม้จะไม่ได้เติบโตมากมายในปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้จะขยายตัวอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับ บิ๊กดาต้า ที่จะยังคงเติบโตและเพิ่มความสำคัญมากขึ้น ส่วน Internet of Everything นั้นจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนได้สัมผัสกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่นับจากนี้จะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น
     


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000002689

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.