Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มกราคม 2558 (บทความ) กลยุทธ์การสร้างสถานีโทรทัศน์ช่อง8 สู้ศึกทีวีดิจิตอล // ใช้คำว่า "ใครๆ ก็ดูช่อง8" ภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชมทั่วไปแล้ว แรงผลักดันทั้งหมดเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดการเปิดทีวีแล้วกดรีโมตมาที่สถานีโทรทัศน์ช่อง8

ประเด็นหลัก


   การทำการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์ช่อง8 มุ่งทั้งในสื่อ Above the line ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ โดยเฉพาะบนถนนทุกสายทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทุกที่ ทุกแห่ง ทุกคนต้องได้เห็นบิลบอร์ดใหญ่ยักษ์ ป้ายกล่องไฟ จอแอลอีดี ป้ายริมถนน โฆษณาข้างรถและภายในรถปรับอากาศ รวมทั้งสื่อ Below the line อย่างการทำการประชาสัมพันธ์ การใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ ในสื่อใหม่ (New media) อย่างโซเชียลมีเดีย ทั้งทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ยูทูบ คนไทยทั้งประเทศจะได้รับรู้  ได้ยิน ได้เห็นแคมเปญ "ใครๆ ก็ดูช่อง8" ผ่านเหล่าดารา นักแสดง และพิธีกรของสถานีโทรทัศน์ช่อง8
    เมื่อทุกคนรู้จักช่อง8 แล้ว ผมก็ต้องสร้างความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อทางสถานีด้วยภาพลักษณ์ที่ดึงดูดความสนใจ สร้างความคาดหวังจากความบันเทิงที่ครบถ้วน ผมจึงมุ่งนำเสนอรายการโทรทัศน์ของช่อง8 ที่ครอบคลุมทุกข่าวสาร สาระความบันเทิงใน 4 หมวดรายการหลัก นั่นคือ รายการข่าว รายการกีฬา รายการวาไรตี และละครโทรทัศน์ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการจากผู้ชมทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย
    และเมื่อทัศนคติที่ดีต่อช่อง8 ได้เกิดภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชมทั่วไปแล้ว แรงผลักดันทั้งหมดเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดการเปิดทีวีแล้วกดรีโมตมาที่สถานีโทรทัศน์ช่อง8 เพื่อทดลองรับชมรายการโทรทัศน์ของช่อง8 ภายใต้ 4 หมวดรายการหลักที่ตอบสนองรูปแบบการบริโภคความบันเทิงของผู้ชมชาวช่อง8 ทั่วประเทศ จึงเป็นการส่งไม้ต่อหน้าที่สำคัญไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตรายการโทรทัศน์ที่ดีมีคุณภาพของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง8 เพื่อรักษาฐานผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของทางสถานีไว้ให้ได้



_____________________________________________________













กลยุทธ์การสร้างสถานีโทรทัศน์ช่อง8 สู้ศึกทีวีดิจิตอล




 altคนเราทุกคนบนโลกล้วนมีบุคลิกภาพที่อาจเหมือนกันบ้าง หรือแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง "ตราสินค้า" หรือ "แบรนด์" เองก็มีบุคลิกภาพที่ต้องสร้างให้เกิดความโดดเด่นท่ามกลางความเหมือนกัน ในขณะเดียวกันก็แยกให้เห็นลักษณะเฉพาะตัวบนความแตกต่าง  ในการจะสร้างแบรนด์นั้นสิ่งที่นักการตลาดต้องจัดการสร้าง "บุคลิกภาพของตราสินค้า" (Brand Personality) เพื่อบ่งบอกตัวตนของสินค้าหรือบริการ และมุ่งสร้างบุคลิกภาพของแบรนด์ให้ตรงกับบุคลิกภาพของกลุ่มเป้าหมายด้วย ผมมักถูกถามจากสื่อว่า บุคลิกภาพของสถานีโทรทัศน์ช่อง8 เป็นอย่างไร หากเป็นบุคคลแล้วเปรียบได้กับใคร ในมุมมองของผมถือว่าเป็นคำถามที่ตอบยากพอสมควร ไม่ใช่ว่าตัวเราไม่รู้ว่าเราเป็นใคร เพียงแต่ในช่วงเวลานี้เรากำลังทำงานกันอย่างหนักหน่วงเพื่อจัดการวาดภาพเหล่านั้นให้สมบรูณ์โดยเร็วที่สุด ภายใต้ภาพที่ต้องการให้สถานีโทรทัศน์ช่อง8 เป็นภาพของพ่อแม่วัยกลางคนจูงมือลูกชายลูกสาววัยรุ่นที่เกี่ยวแขนมากับน้องชายตัวเล็ก รวมถึงน้องสาวคนสุดท้องที่ถูกอุ้มด้วยคุณปู่คุณย่าอารมณ์ดี ถือเป็นภาพครอบครัวใหญ่ที่แสนอบอุ่น นั่นคือภาพที่ผมพยายามจะทำให้เป็นในเวลาอันใกล้ตามสโลแกนของสถานีโทรทัศน์ช่อง8 "เพื่อนคุณทุกที่ ทีวีของทุกคน"
alt    เมื่อวางบุคลิกภาพของสถานีโทรทัศน์ สอดรับกับบุคลิกภาพของกลุ่มผู้ชมของเราจนชัดเจนแล้ว ขั้นตอนที่ต้องทำต่อไปคือ การสร้างให้สถานีโทรทัศน์ช่อง8 เป็นสถานีโทรทัศน์ที่เป็น Top of mind ของกลุ่มผู้ชมให้ได้ แนวคิดทฤษฎีทางการสื่อสารที่ผมหยิบมาใช้ในการทำงานบริหารสถานีโทรทัศน์เสมอ คือ KAP theory โดย K (Knowledge=การรับรู้), A (Attitude=ทัศนคติ), P (Practice=การยอมรับปฏิบัติ)  การสร้างการรับรู้ (K)ให้คนทั่วไปรู้ว่ามีสถานีโทรทัศน์ช่อง8 อยู่ในโลกนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำและก็ไม่ยากสักเท่าใดที่จะทำให้เกิดผล เมื่อผู้ชมทั่วไปรู้ว่ามีสถานีโทรทัศน์ช่อง8 แล้ว เขาเหล่านั้นมีความรู้สึกนึกคิด (A) อย่างไรกับแบรนด์ของช่อง8 ชอบหรือไม่ชอบ และถ้าเขารู้สึกชอบแล้วสิ่งที่ผมต้องทำต่อเลย คือ กลุ่มผู้ชมเหล่านั้นเมื่อเขาต้องการชมรายการโทรทัศน์ พวกเขาต้องเลือกเปิดช่อง8 (P) และอยู่กับช่อง8 ได้นานที่สุดเท่าที่คนคนหนึ่งจะอยู่ได้ แต่เชื่อไหมว่าหนทางจาก K ไปจนถึง P  นั้นช่างไกลพอๆ กับเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯถึงสุไหงโก-ลกเลยทีเดียว กล่าวได้เลยว่า ไม่ง่ายเลย ดังนั้นสโลแกนของสถานีโทรทัศน์ช่อง8 " เพื่อนคุณทุกที่ ทีวีของทุกคน" จึงมี KAP Theory เป็นแนวทางหลักในการสื่อสารท่ามกลางสมรภูมิศึกทีวีดิจิตอลครั้งสำคัญนี้
    การทำการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์ช่อง8 มุ่งทั้งในสื่อ Above the line ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ โดยเฉพาะบนถนนทุกสายทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทุกที่ ทุกแห่ง ทุกคนต้องได้เห็นบิลบอร์ดใหญ่ยักษ์ ป้ายกล่องไฟ จอแอลอีดี ป้ายริมถนน โฆษณาข้างรถและภายในรถปรับอากาศ รวมทั้งสื่อ Below the line อย่างการทำการประชาสัมพันธ์ การใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ ในสื่อใหม่ (New media) อย่างโซเชียลมีเดีย ทั้งทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ยูทูบ คนไทยทั้งประเทศจะได้รับรู้  ได้ยิน ได้เห็นแคมเปญ "ใครๆ ก็ดูช่อง8" ผ่านเหล่าดารา นักแสดง และพิธีกรของสถานีโทรทัศน์ช่อง8
    เมื่อทุกคนรู้จักช่อง8 แล้ว ผมก็ต้องสร้างความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อทางสถานีด้วยภาพลักษณ์ที่ดึงดูดความสนใจ สร้างความคาดหวังจากความบันเทิงที่ครบถ้วน ผมจึงมุ่งนำเสนอรายการโทรทัศน์ของช่อง8 ที่ครอบคลุมทุกข่าวสาร สาระความบันเทิงใน 4 หมวดรายการหลัก นั่นคือ รายการข่าว รายการกีฬา รายการวาไรตี และละครโทรทัศน์ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการจากผู้ชมทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย
    และเมื่อทัศนคติที่ดีต่อช่อง8 ได้เกิดภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชมทั่วไปแล้ว แรงผลักดันทั้งหมดเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดการเปิดทีวีแล้วกดรีโมตมาที่สถานีโทรทัศน์ช่อง8 เพื่อทดลองรับชมรายการโทรทัศน์ของช่อง8 ภายใต้ 4 หมวดรายการหลักที่ตอบสนองรูปแบบการบริโภคความบันเทิงของผู้ชมชาวช่อง8 ทั่วประเทศ จึงเป็นการส่งไม้ต่อหน้าที่สำคัญไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตรายการโทรทัศน์ที่ดีมีคุณภาพของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง8 เพื่อรักษาฐานผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของทางสถานีไว้ให้ได้






จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,017  วันที่  11 - 14  มกราคม  พ.ศ. 2558




http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=260916:8-&catid=251:-word-of-digital-tv&Itemid=456#.VLObAMZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.