Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 เครือข่ายภาคประชาชน(ไม่พอใจกม.เศรษฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับ) เอื้อทหาร!! โดยเฉพาะ แก้ไข พรบ.กสทช. ( เอาคลื่นความถี่เช่น FM ทีวี กลับมาอยู่ในมือภาครัฐและกองทัพ )

ประเด็นหลัก


 เครือข่ายภาคประชาชนเตรียมยื่น สปช. คปก. และคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังพบรัฐบาลแก้กฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับ เอื้ออำนาจกองทัพและละเมิดสิทธิเสรีภาพมากเกินไป ส่งผลให้ กสทช.กลายเป็นเสือกระดาษหมดอำนาจองค์กรอิสระ หวั่นกองทุนตั้งใหม่ใช้เงินหนุนภาครัฐ-เอกชนอย่างเดียว ไม่ได้สนใจผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ตามเจตนารมณ์เดิม ที่สำคัญร่างกฎหมายยังไม่ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างแท้จริง แต่กลับคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในความเป็นส่วนตัวมากกว่าเดิม
     
       นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เครือข่ายภาคประชาชน กล่าวว่า เครือข่ายภาคประชาสังคม 6 องค์กร ได้แก่ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มูลนิธิโลกสีเขียว FTA Watch กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน และเครือข่ายพลเมืองเน็ต เตรียมยื่นข้อเสนอไปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ,คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และคณะกรรมการกฤษฎีกา ในกรณีที่ชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลจำนวน 10 ฉบับ ที่ผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และกำลังจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากมองว่าการแก้กฎหมายดังกล่าวอาจละเมิดสิทธิเสรีภาพในหลายด้าน และยังเป็นการผูกขาดทรัพยากรและไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างแท้จริง แต่กลับเป็นการใช้ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงของรัฐ ให้อำนาจภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งยังได้มีการตัดกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพและผู้แทนภาคประชาชนออกไป และแทนที่ด้วยกรรมการจากฝ่ายความมั่นคง
     
       นอกจากนี้ยังไม่มีการพูดถึงการคุ้มครองผู้บริโภค การรับประกันการเข้าถึงโดยผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมไปถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกต่อไป อีกทั้งไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรกำกับ แต่กลับสร้างองค์กรที่อาจมีปัญหาแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นอีก




ทั้งนี้ไม่ได้คัดค้านเศรษฐกิจดิจิตอล แต่มองว่าการออกกฎหมายชุดดังกล่าวนี้ เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในหลายด้าน ผูกขาดทรัพยากร ไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลใช้ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงของรัฐ สะท้อนออกมาในร่างกฎหมายที่ให้อำนาจภาครัฐมากขึ้นในการจัดสรรทรัพยากร

นายอาทิตย์ กล่าวว่า ในขณะเดียวกันเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.กสทช. เป็นการดึงคลื่นความถี่กลับมาอยู่ในมือภาครัฐและกองทัพ ซึ่งจะกลับไปเหมือนในสมัยก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 กฎหมายชุดนี้ทำลายหลักการที่ว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และทำลายกลไกการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ส่งผลให้เป็นกฎหมายเพื่อ เศรษฐกิจและกองทัพ

นอกจากนี้กองทุนที่มาจากรายได้ของ กสทช. ถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์จากเดิมที่เป็นเป็นกองทุนวิจัยพัฒนาเพื่อประโยชน์สาธารณะ ส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมจริยธรรมการประกอบวิชาชีพ กลายสภาพเป็นกองทุนเพื่อให้รัฐและเอกชนกู้ยืมแทน




_____________________________________________________














ภาคประชาชนชี้แก้กฏหมายเศรฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับเนื้อหาเอื้อกองทัพมากเกินไป



 ภาคประชาชนชี้แก้กฏหมายเศรฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับเนื้อหาเอื้อกองทัพมากเกินไป
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เครือข่ายภาคประชาชน

        เครือข่ายภาคประชาชนเตรียมยื่น สปช. คปก. และคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังพบรัฐบาลแก้กฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับ เอื้ออำนาจกองทัพและละเมิดสิทธิเสรีภาพมากเกินไป ส่งผลให้ กสทช.กลายเป็นเสือกระดาษหมดอำนาจองค์กรอิสระ หวั่นกองทุนตั้งใหม่ใช้เงินหนุนภาครัฐ-เอกชนอย่างเดียว ไม่ได้สนใจผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ตามเจตนารมณ์เดิม ที่สำคัญร่างกฎหมายยังไม่ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างแท้จริง แต่กลับคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในความเป็นส่วนตัวมากกว่าเดิม
     
       นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เครือข่ายภาคประชาชน กล่าวว่า เครือข่ายภาคประชาสังคม 6 องค์กร ได้แก่ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มูลนิธิโลกสีเขียว FTA Watch กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน และเครือข่ายพลเมืองเน็ต เตรียมยื่นข้อเสนอไปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ,คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และคณะกรรมการกฤษฎีกา ในกรณีที่ชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลจำนวน 10 ฉบับ ที่ผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และกำลังจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากมองว่าการแก้กฎหมายดังกล่าวอาจละเมิดสิทธิเสรีภาพในหลายด้าน และยังเป็นการผูกขาดทรัพยากรและไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างแท้จริง แต่กลับเป็นการใช้ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงของรัฐ ให้อำนาจภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งยังได้มีการตัดกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพและผู้แทนภาคประชาชนออกไป และแทนที่ด้วยกรรมการจากฝ่ายความมั่นคง
     
       นอกจากนี้ยังไม่มีการพูดถึงการคุ้มครองผู้บริโภค การรับประกันการเข้าถึงโดยผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมไปถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกต่อไป อีกทั้งไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรกำกับ แต่กลับสร้างองค์กรที่อาจมีปัญหาแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นอีก
     
       นายอาทิตย์ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอที่เตรียมจะยื่นต่อ 3 หน่วยงานมีดังนี้ 1.ชุดกฎหมายเหล่านี้โดยเนื้อแท้ ไม่ใช่กฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล แต่เป็นชุดกฎหมายความมั่นคง 2. เนื้อหาในร่างพ.ร.บ.กสทช.เป็นการถือโอกาสดึงคลื่นความถี่กลับมาอยู่ในมือภาครัฐและกองทัพ ซึ่งจะกลับไปเหมือนในสมัยก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งกฎหมายชุดนี้ทำลายหลักการที่ว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะและทำลายกลไกการแข่งขันเสรีเป็นธรรม จนกล่าวได้ว่าเป็นกฎหมายเพื่อเศรษฐกิจและกองทัพ 3.ร่างพ.ร.บ. กสทช. ทำลายความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช.
     
       4.ที่ผ่านมาภาคประชาชนเห็นร่วมกันว่า กสทช.จำเป็นต้องพัฒนาระบบธรรมาภิบาลให้ดีขึ้น ทั้งเรื่องการใช้งบประมาณและการใช้อำนาจ แต่ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ไม่ได้แก้ปัญหาดังกล่าว และยังมีร่างกฎหมายใหม่อีกหลายฉบับที่จะสร้างหน่วยงานที่มีโครงสร้างงบประมาณและการบริหารลักษณะคล้ายกันขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก 5. กองทุนที่มาจากรายได้ของ กสทช.ถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปจากเดิมเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์เดิมในการเป็นกองทุนวิจัยพัฒนาเพื่อประโยชน์สาธารณะ ส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมจริยธรรมการประกอบวิชาชีพ ได้หายไปหมด และกลายสภาพเป็นกองทุนเพื่อให้รัฐและเอกชนกู้ยืม

ภาคประชาชนชี้แก้กฏหมายเศรฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับเนื้อหาเอื้อกองทัพมากเกินไป

        6.ร่างกฎหมายหลายฉบับ ไม่ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างที่อ้าง อีกทั้งคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในความเป็นส่วนตัวที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และกระทบการประกอบธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสาร7.ร่างกฎหมายทั้งหมดขาดกลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิผู้บริโภคที่ชัดเจน อีกทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านที่เกี่ยวข้องที่เห็นชัดที่สุด คือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการตัดกรรมการด้านสิทธิและผู้บริโภคออกไป 3 ตำแหน่ง และเพิ่มกรรมการด้านความมั่นคงเข้ามา 2 ตำแหน่ง
     
       8.ความไม่ชัดเจนของสถานะทางกฎหมายของหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่มี ฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจว่าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจะมีความรับผิดตามกฎหมายอย่างไร มีกลไกร้องเรียนตรวจสอบได้ทางไหน
     
       โดยกฎหมายทั้ง 10 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 4.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจตอล6. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 7.ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 8. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 9.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 10.ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
     

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000005146





_____________________________________________________














?เครือข่ายภาคประชาชนค้านกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล?



เครือข่ายภาคประชาชน 6 กลุ่ม เตรียมยื่นคัดค้านกฎหมาย 8ฉบับ ลั่นเอื้อความมั่นคงมากกว่าเศรษฐกิจดิจิคอล หวั่นคลื่นความถี่อยู่ในกำมือรัฐ- กองทัพ


วันนี้(14 ม.ค.) ที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นายอาทิตย์ สุริยวงศ์กุล ผู้ประสานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เปิดเผยว่า เครือข่ายภาคประชาชนร่วมกลุ่ม 6 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มูลนิธิโลกสีเขียว FTA Watch กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน และเครือข่ายพลเมืองเน็ต เตรียมยื่นหนังสือคัดค้านการออกกฎหมาย 8 ฉบับที่เกี่ยวเศรษฐกิจดิจิตอล ภายในสัปดาห์นี้ โดยเบื้องต้นจะยื่นต่อสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย (คปก) และคณะกรรมการกฤษฎีกา

ทั้งนี้ไม่ได้คัดค้านเศรษฐกิจดิจิตอล แต่มองว่าการออกกฎหมายชุดดังกล่าวนี้ เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในหลายด้าน ผูกขาดทรัพยากร ไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลใช้ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงของรัฐ สะท้อนออกมาในร่างกฎหมายที่ให้อำนาจภาครัฐมากขึ้นในการจัดสรรทรัพยากร

นายอาทิตย์ กล่าวว่า ในขณะเดียวกันเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.กสทช. เป็นการดึงคลื่นความถี่กลับมาอยู่ในมือภาครัฐและกองทัพ ซึ่งจะกลับไปเหมือนในสมัยก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 กฎหมายชุดนี้ทำลายหลักการที่ว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และทำลายกลไกการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ส่งผลให้เป็นกฎหมายเพื่อ เศรษฐกิจและกองทัพ

นอกจากนี้กองทุนที่มาจากรายได้ของ กสทช. ถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์จากเดิมที่เป็นเป็นกองทุนวิจัยพัฒนาเพื่อประโยชน์สาธารณะ ส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมจริยธรรมการประกอบวิชาชีพ กลายสภาพเป็นกองทุนเพื่อให้รัฐและเอกชนกู้ยืมแทน

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/293908/เครือข่ายภาคประชาชนค้านกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.