Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายก รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge





ประเด็นหลัก

    ก่อนหน้านี้ ครม.ได้มีการอนุมัติกฎหมายไปแล้ว 2 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายก รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธานกรรมการ กำหนดให้มี คณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge
   alt ส่วนฉบับที่ 2 คือ ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … กำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีมิติของภารกิจและความรับผิดชอบเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม แบ่งส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกเป็น 5 ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการเฉพาะด้านจำนวน 5 ด้าน



_____________________________________________________














ออกกฎหมาย ขับเคลื่อน ดิจิตอล อีโคโนมี

alt ในที่สุดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 ที่ผ่านมาครม.(คณะรัฐมนตรี) ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เห็นชอบในหลักการร่างกฎหมาย 8 ฉบับ จัดตั้ง 12 หน่วยงานใหม่ เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกจัดตั้งจาก พล.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
    ซึ่งการจัดปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้นำเสนอเป็นฉบับแรก
++ อนุมัติ ก.ม.แล้ว 2 ฉบับ
    ก่อนหน้านี้ ครม.ได้มีการอนุมัติกฎหมายไปแล้ว 2 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายก รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธานกรรมการ กำหนดให้มี คณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge
   alt ส่วนฉบับที่ 2 คือ ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … กำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีมิติของภารกิจและความรับผิดชอบเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม แบ่งส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกเป็น 5 ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการเฉพาะด้านจำนวน 5 ด้าน
 ++นโยบายดิจิตอล
    เป็นเพราะนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิตอล  ได้มอบหมายให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ รับบทบาทในเรื่องนี้ และเมื่อปีที่ผ่านมา ได้ออกประกาศนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล
    นั่นจึงเป็นที่มา ที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้วางโรดแมปเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังกล่าว
    สำหรับแผนการปรับโครงสร้างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลได้มีการปรับปรุงโครงสร้างจากกระทรวงเดิม คือ กระทรวงไอซีที โดยมีการแบ่งโครงสร้างส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วน ไล่เลียงตั้งแต่  สำนักงานรัฐมนตรี , สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 ++ลดอำนาจ กสทช.
    ที่สำคัญไปกว่านั้นการปรับโครงสร้างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในครั้งนี้กระทบไปถึง กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) โดยปรับลดอำนาจหน้าที่ของ กสทช. จากเดิมที่มีคณะอนุกรรมการย่อย จำนวน 2 คณะ ประกอบไปด้วย คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ซึ่งมี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. และ รองประธาน กสทช.
    ขณะที่  กสท.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์) โดยมี พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. และ รองประธาน กสทช. โดย ครม.มีคำสั่งให้ยุบรวมเข้าด้วยกันเหลือเพียงคณะเดียวเท่านั้น พร้อมกับกำหนดให้การดำเนินงานต่างๆ ต้องสอดคล้องกับที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาและสอดคล้องกับนโยบายจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
    โดย ครม. ได้ออกร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...เป็นการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่
++จัดตั้งสพธอ.มีฐานะเป็นนิติบุคคล
    สำหรับการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ ครม.ได้ออกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (สพธอ.) เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (เป็นการโอนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2545)
++แก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
    ไม่เพียงเท่านี้ ครม.ได้มีการแก้ไข  ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....  เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานกลาง ตลอดจนการให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และกระทรวงการคลัง (กค.)  สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ
++ตั้งคณะทำงานไซเบอร์
    ในส่วนของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์นั้น ครม. ได้ทำการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... กำหนด หลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (เป็นการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่  ทุนและทรัพย์สิน ของสำนักความมั่นคงปลอดภัย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้)
    พร้อมกันนี้ยังมีการปรับปรุง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้หรือเปิดเผย  และข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ สิทธิของเจ้าของข้อมูล หลักเกณฑ์การร้องเรียน และการให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 ++จัดตั้งกองทุน
    ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ....  เป็นการจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
 ++ทุกกระทรวงเสนอความเห็นประยุกต์ก.ม.
    อย่างไรก็ตาม การอนุมัติร่างกฎหมายในครั้งนี้ หน่วยงานทุกกระทรวงได้เสนอความเห็นว่า  ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยประสบผลสำเร็จ  การมีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคของสังคมดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ  จึงมีความจำเป็นต้องทบทวนและพิจารณาความพร้อมของกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
    สำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายให้มีความพร้อมนี้จำเป็นต้องดำเนินการทั้งในมิติของการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศสามารถพัฒนาไปสู่ยุคของสังคมดิจิทัลได้  ซึ่งการดำเนินการปกป้องดูแล  และคุ้มครองให้การดำเนินการในยุคของสังคมดิจิทัลมีความปลอดภัยในคราวเดียวกัน
    โดยกฎหมายที่ควรมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วย 1.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นกฎหมายที่นำไปสู่การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลเช่นเดียวกับกระดาษ  2.กฎหมายที่ป้องปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ที่มีรูปแบบและวิธีการต่างไปจากความผิดโดยทั่วไป
3. กฎหมายที่พร้อมรับมือกับการจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการโจมตีทั้งในระดับองค์กรและประเทศ
    และ 4. กฎหมายที่คุ้มครองแก่ประชาชนในการใช้ชีวิตในโลกเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีเป็นส่วนตัว ปราศจากการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ที่มักเป็นเป้าหมายในการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางที่ไม่พึงประสงค์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,017  วันที่  11 - 14  มกราคม  พ.ศ. 2558


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=260902:2015-01-09-00-34-56&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VLdRYMZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.