Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 มกราคม 2558 ธวัชชัย-สุภิญญา ชี้ SCL ผู้ถือหุ้นหลัก "สปริงนิวส์ทีวี" ทีวีดิจิทัลช่องข่าว แนะให้ลดการถือหุ้น NATION ไม่เกิน 10% ในช่องทีวีดิจิทัลประเภทเดียวกัน

ประเด็นหลัก



นายธวัชชัย กล่าวว่าหลังจากอนุฯกฎหมายมีความเห็นให้ยึดหลักเกณฑ์ก่อนประมูลและหลังประมูลเป็นแนวทางกำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล หลังจากนี้สำนักงาน กสทช. จะต้องกำหนดวาระประชุมบอร์ด กสท. ซึ่งอาจเป็นวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.นี้ เพื่อให้ บอร์ด กสท.พิจารณากรณีโซลูชั่น ผู้ถือหุ้นหลัก "สปริงนิวส์ทีวี" ทีวีดิจิทัลช่องข่าว ซื้อหุ้นเนชั่น ผู้ถือหุ้นหลัก "เนชั่นทีวี" ทีวีดิจิทัลช่องข่าว สัดส่วน 12.27% ซึ่ง"ขัดหลักเกณฑ์" ตามประกาศฯ ที่กำหนดให้ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ถือหุ้นไม่เกิน 10% ในช่องทีวีดิจิทัลประเภทเดียวกัน

รวมทั้ง"ขัดหลักเกณฑ์" การกำกับเพื่อการแข่งขันแบบเสรีเป็นธรรมในกิจการโทรทัศน์ ของพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หมวด "การป้องกันการผูกขาด" มาตรา 31 ที่ระบุว่า เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย หรือกระทำการอันเป็นการผูกขาดการประกอบกิจการสื่อมวลชนหลายประเภทในเวลาเดียวกัน ห้ามผู้รับใบอนุญาตถือครองธุรกิจในกิจการประเภทเดียวกัน หรือครองสิทธิข้ามสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่เกินสัดส่วน ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

มาตรา 31 ยังระบุว่าในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขการฝ่าฝืนนั้นภายใน 90 วัน เพื่อให้การถือครองธุรกิจเป็นไปตามประกาศดังกล่าว

ดังนั้นในการประชุม กสท. เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว หากบอร์ด กสท. มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอิงมติ อนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย จะต้องมีการออกคำสั่งทางปกครอง ให้ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ปฏิบัติตามเงื่อนไขประกาศฯ กรณีนี้โซลูชั่น ในฐานะบริษัทแม่ช่องสปริงนิวส์ทีวี แก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นในเนชั่น บริษัทแม่ช่องเนชั่นทีวี ตามเงื่อนไขประกาศฯ จาก 12.27% เหลือไม่เกิน 10% ซึ่งกรณีที่ บอร์ด กสท.ออกมติเป็นคำสั่งทางปกครอง ผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติภายใน 90 วัน ซึ่งแนวทางปฏิบัติต่อกรณีดังกล่าวจะต้องออกมาเป็นมติในการประชุมบอร์ด กสท. อีกครั้ง


_____________________________________________________













โซลูชั่นถือหุ้นเนชั่นขัดเงื่อนไข'ทีวีดิจิทัล'


อนุฯกฎหมาย กสทช. ชี้ยึดเกณฑ์ถือครองสัดส่วนหุ้นทีวีดิจิทัล"หลังประมูล" ตามประกาศ"ก่อนประมูล"



ด้าน"ธวัชชัย-สุภิญญา"แจงโซลูชั่นถือหุ้นเนชั่น 12.27% ขัดหลักเกณฑ์ รอบอร์ด กสท.เคาะมติ แนะแก้ไขลดสัดส่วนถือหุ้นตามเงื่อนไขผู้มีผลประโยชน์ร่วมไม่เกิน 10%

หลังจากบริษัทโซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล ช่องข่าวและสาระ "สปริงนิวส์ทีวี" แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ในสัดส่วน 12.27% ซึ่งเป็นบริษัทแม่และถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NBC จำนวน 71.30% โดยเอ็นบีซี เป็นผู้ถือหุ้นสัดส่วน 99.99% ในบริษัทเนชั่น เน็กซ์ วิชั่น จำกัด หรือ NNV ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องข่าวและสาระ "เนชั่นทีวี"

กรณีดังกล่าวสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เสนอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) พิจารณา เมื่อวันจันทร์ 22 ธ.ค.2557 ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ.2556 เกี่ยวกับเงื่อนไข "ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน" ซึ่งตามประกาศระบุว่าหมายถึงผู้ที่ถือหุ้นร่วมกันเกินกว่า 10% ไม่สามารถประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทเดียวกันเกิน 1 ช่อง

บอร์ดกสท. มีความเห็นออก 3 ด้าน คือ "ขัดหลักเกณฑ์" การถือหุ้นทีวีดิจิทัล ประเภทเดียวกัน ตามเงื่อนไข "ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน" เกิน 10% และเห็นว่าหลักเกณฑ์ตามประกาศฯ ประมูลทีวีดิจิทัล ต้องใช้กำกับผู้ได้รับใบอนุญาตตลอดอายุใบอนุญาต 15 ปี อีกด้านเห็นว่า "ไม่ขัดหลักเกณฑ์" โดยเห็นว่าประกาศฯ ประมูลทีวีดิจิทัล กำหนดขึ้นเฉพาะการประมูลเพื่อป้องกันการฮั้วประมูล และไม่ต้องใช้อีกหลังประมูล และอีกด้านยังไม่ให้ความเห็น เพราะขาดข้อมูลด้านกฎหมาย

ดังนั้นที่ประชุม กสท. ได้มอบหมายให้ สำนักงานฯ ไปจัดทำการวิเคราะห์ด้านกฎหมายและประกาศฯ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมประชุมหารือร่วมกับคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. ซึ่งประกอบไปด้วย นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการอีก 7 คน คือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายวีรพล ปานะบุตร นายกมลชัย รัตนสกาววงศ์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายกำชัย จงจักรพันธ์ นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ และนายอัชพร จารุจินดา

อนุฯชี้ยึดเกณฑ์ถือหุ้นหลังประมูล

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. กล่าวว่าเมื่อวันที่ 20 ม.ค.2558 คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. คณะใหญ่ ได้ประชุมหารือข้อกฎหมาย ตาม ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ.2556 ว่าเป็นหลักเกณฑ์ ที่ต้องปฏิบัติหลังการประมูลหรือไม่

ทั้งนี้ อนุกรรมการเห็นว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องรักษาไว้และยึดเป็นแนวทางปฏิบัติหลังการประมูล ตามเกณฑ์สัดส่วนการถือครองหุ้นที่กำหนดไว้ตามประกาศฯ ประมูลทีวีดิจิทัล แม้หลังประมูลเจตนารมณ์กฎหมายชัดเจนว่าต้องรักษาไว้ และมติอนุกรรมการ โดยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายชั้นนำของประเทศที่แสดงความเห็นในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจทีวีและสื่อในอนาคตให้ต้องปฏิบัติตามประกาศฯ

"มติของอนุกรรมการกฎหมายครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนผู้ที่ทำงานอย่างหนักในการปฏิรูปสื่อทุกคน วันนี้การครอบงำสื่อทำได้ไม่ง่ายแล้ว แต่ยังต้องจับตาการใช้นอมินีต่อไป" นายธวัชชัย กล่าว

แนะแก้ไขสัดส่วนถือหุ้นตามเกณฑ์

นายธวัชชัย กล่าวว่าหลังจากอนุฯกฎหมายมีความเห็นให้ยึดหลักเกณฑ์ก่อนประมูลและหลังประมูลเป็นแนวทางกำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล หลังจากนี้สำนักงาน กสทช. จะต้องกำหนดวาระประชุมบอร์ด กสท. ซึ่งอาจเป็นวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.นี้ เพื่อให้ บอร์ด กสท.พิจารณากรณีโซลูชั่น ผู้ถือหุ้นหลัก "สปริงนิวส์ทีวี" ทีวีดิจิทัลช่องข่าว ซื้อหุ้นเนชั่น ผู้ถือหุ้นหลัก "เนชั่นทีวี" ทีวีดิจิทัลช่องข่าว สัดส่วน 12.27% ซึ่ง"ขัดหลักเกณฑ์" ตามประกาศฯ ที่กำหนดให้ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ถือหุ้นไม่เกิน 10% ในช่องทีวีดิจิทัลประเภทเดียวกัน

รวมทั้ง"ขัดหลักเกณฑ์" การกำกับเพื่อการแข่งขันแบบเสรีเป็นธรรมในกิจการโทรทัศน์ ของพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หมวด "การป้องกันการผูกขาด" มาตรา 31 ที่ระบุว่า เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย หรือกระทำการอันเป็นการผูกขาดการประกอบกิจการสื่อมวลชนหลายประเภทในเวลาเดียวกัน ห้ามผู้รับใบอนุญาตถือครองธุรกิจในกิจการประเภทเดียวกัน หรือครองสิทธิข้ามสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่เกินสัดส่วน ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

กฎหมายกำหนดแก้ไข90วัน

มาตรา 31 ยังระบุว่าในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขการฝ่าฝืนนั้นภายใน 90 วัน เพื่อให้การถือครองธุรกิจเป็นไปตามประกาศดังกล่าว

ดังนั้นในการประชุม กสท. เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว หากบอร์ด กสท. มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอิงมติ อนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย จะต้องมีการออกคำสั่งทางปกครอง ให้ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ปฏิบัติตามเงื่อนไขประกาศฯ กรณีนี้โซลูชั่น ในฐานะบริษัทแม่ช่องสปริงนิวส์ทีวี แก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นในเนชั่น บริษัทแม่ช่องเนชั่นทีวี ตามเงื่อนไขประกาศฯ จาก 12.27% เหลือไม่เกิน 10% ซึ่งกรณีที่ บอร์ด กสท.ออกมติเป็นคำสั่งทางปกครอง ผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติภายใน 90 วัน ซึ่งแนวทางปฏิบัติต่อกรณีดังกล่าวจะต้องออกมาเป็นมติในการประชุมบอร์ด กสท. อีกครั้ง

ทั้งนี้ การซื้อหุ้นหรือกิจการทีวีดิจิทัล สามารถดำเนินการได้ปกติ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศฯ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง คือในกรณีการซื้อหุ้น หรือกิจการทีวีดิจิทัล นิติบุคคลเดียวกัน สามารถถือครองใบอนุญาตสูงสุด 3 ช่อง และคนละประเภทช่อง รวมทั้งห้ามถือครองใบอนุญาตช่องข่าวและวาไรตี้เอชดีคู่กัน นอกจากนี้นิติบุคคลเดียว รวมทั้งผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน เกิน 10% ห้ามถือครองใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ประเภทเดียวกัน

แจ้งผู้รับใบอนุญาตยึดเกณฑ์ถือหุ้น

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. กล่าวว่าหลังจากนี้สำนักงาน กสทช. ต้องทำวาระเสนอผลจากมติของอนุกรรมการที่ปรึกษา กฎหมายเข้าบอร์ด กสท.เพื่อลงมติ กรณีโซลูชั่นฯ ถือหุ้นเนชั่น 12.27% อีกครั้ง และหากบอร์ด กสท.มีความเห็นสอดคล้องกัน ให้แก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นทีวีดิจิทัล ประเภทเดียวกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประกาศฯ ประมูลทีวีดิจิทัล ซึ่งตามกฎหมายหากเป็นการตัดสินงานกำกับดูแลต่างๆ ตามประกาศฯ ถือเป็นอำนาจบอร์ดเล็ก

ขั้นตอนต่อไปบอร์ด กสท. จะต้องพิจารณาว่าจะออกมติเป็นคำสั่งทางปกครองให้ดำเนินการแก้ไขรูปแบบใด เพราะ กสท.มีหน้ากำกับดูแลและออกคำสั่งไปยังผู้ได้รับใบอนุญาต คือบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด บริษัทลูกโซลูชั่น ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นในฐานะผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างช่องสปริงนิวส์ทีวี และเนชั่นทีวี ซึ่งเป็นช่องข่าวประเภทเดียวกัน

"กติกา กสทช.ออกแบบมาค่อนข้างดีอยู่แล้วก่อนการประมูล แต่หลายเรื่องมามีปัญหาการตีความ ตั้งแต่กรณีช่อง 3 และสัดส่วนการถือครองหุ้นโซลูชั่นและเนชั่น"

การแข่งขันในอุตสาหกรรมทีวีสูงขึ้น จากจำนวนช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้น แต่การแข่งขันต้องอยู่บนคุณภาพ ความเป็นมืออาชีพและจรรยาบรรณ หากเรื่องใดการแข่งขันเป็นไปตามกลไกตลาดไม่ส่งผลกระทบวงกว้าง องค์กำกับคงไม่เข้าไปแทรกแซง แต่หากเรื่องใดขัดกติกาที่วางไว้ กสทช.ต้องกำกับการแข่งขันตามกติกาตามกฎหมาย

ด้านนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) (SLC) กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องคำสั่งของกสท.กรณีที่มีแนวทางให้บริษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) เหลือ 10% ตามเกณฑ์ก่อนประมูลทีวีดิจิทัล


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/media/20150122/630185/โซลูชั่นถือหุ้นเนชั่นขัดเงื่อนไขทีวีดิจิทัล.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.