Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ระบุ ร่างที่เห็นกันปัจจุบัน ยังต้องปรับแก้อีกหลายขั้นตอน ตอนนี้กฤษฎีกาก็พิจารณาอยู่ ดูรายละเอียดต่างๆ จากนั้นถึงเข้าคณะรัฐมนตรี และสนช. อีกไม่รู้ตั้งกี่ขั้นตอน ใช้เวลา 2-3 เดือน

ประเด็นหลัก


นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) หนึ่งในคณะทำงานตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัลนั้น ขณะนี้ ยังเป็นแค่ร่างที่ยังต้องได้รับการแก้ไข ปรับปรุง คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการเท่านั้น ซึ่งกฤษฎีกายังต้องมาพิจารณาดูว่า เนื้อหาเป็นอย่างไร ต้องปรับแต่งแก้ไขให้สอดคล้องกับความเป็นจริง การมีคนค้านก็ดี จะได้รู้ว่าควรต้องปรับแก้ส่วนไหน อย่างไร โดยส่วนใหญ่สิ่งที่ค้านกันมากจะเป็นความมั่นคง ปลอดภัย ส่วนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งเสริมด้านดิจิทัลยังไปได้ปกติ

"ร่างที่เห็นกันปัจจุบัน ยังต้องปรับแก้อีกหลายขั้นตอน ตอนนี้กฤษฎีกาก็พิจารณาอยู่ ดูรายละเอียดต่างๆ จากนั้นถึงเข้าคณะรัฐมนตรี และสนช. อีกไม่รู้ตั้งกี่ขั้นตอน ใช้เวลา 2-3 เดือน เพียงแต่ส่วนที่เกิดขึ้น อาจจะมีผลกระทบในส่วนของการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ 50% ไม่อยากทำ เพราะกลัวความมั่นคง ปลอดภัย เข้าใจว่าคนร่างก็คงคิด และก็คงหารือกันเพื่อที่จะปรับปรุงให้มันดีขึ้น"

ส่วนของรัฐบาลคงต้องการให้บังคับใช้กฎหมายดิจิทัลเร็วที่สุด แต่ต้องผ่านการกลั่นกรอง และแก้ไขในส่วนที่สังคมยังมีความกังวล ขณะที่ทีมงานของคณะกรรมการดิจิทัลฯ อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งอยู่จะอยู่ในกรอบ 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.ฮาร์ด อินฟราสตรักเจอร์ 2.ซอฟต์ อินฟราสตรักเจอร์ 3.เซอร์วิส อินฟราสตรักเจอร์ 4.ดิจิทัล อีโคโนมี โปรโมชั่นและ 5.ดิจิทัล โซไซตี้ แอนด์ โนว์เลจ รวมไปถึงการทำงบประมาณต่างๆ ที่จะใช้ขับเคลื่อน และตัวชี้วัดการดำเนินงาน


_____________________________________________________


















สพธอ.แจง'เวลา'ข้อจำกัดร่างกม.ดิจิทัล


"สุรางคณา" ย้ำร่าง กม.ดิจิทัล ยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน แต่จำกัดด้านเวลาทำ สังคมเข้าใจคลาดเคลื่อน



ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยอมรับต้องนำมาปรับแก้ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ชี้กฎหมายที่ได้รับการค้านมากสุดเป็น "ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้" ซึ่งยังมีเวลาปรับแก้ให้เหมาะสม ระบุเป็นสิ่งดีที่มีคนเสนอความเห็นกันมาก เพื่อนำไปปรับปรุง เผยคณะทำงานอยู่ระหว่างร่างรายละเอียดการทำงาน งบประมาณต่างๆ เพื่อใช้ขับเคลื่อน

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ. กล่าวว่า กระแสวิพากษ์คัดค้านร่างกฎหมายที่สนับสนุนการทำงานของนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีมีหลายส่วนที่สังคมยังเข้าใจคลาดเคลื่อน ในฐานะผู้มีส่วนร่วมร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลและความมั่นคงไซเบอร์ขอย้ำว่ายังต้องมีกระบวนการปรับเปลี่ยนอีกหลายขั้นตอนกว่าจะประกาศเป็นกฎหมายฉบับจริง

โดยหลักการร่างกฎหมายชุดนี้จะเน้นการลงรายละเอียดทั้งหมดและพิจารณาสิ่งที่ประเทศไทยต้องทำซึ่งมีอยู่มาก ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดและร่างเป็นกฎหมายออกมา ซึ่งก็มีบางส่วนที่นำความเห็นของเอกชนในอดีตที่ผ่านมาร่วมด้วย แต่เนื่องจากการร่างกฎหมายชุดนี้มีข้อจำกัดด้านเวลาที่ต้องทำให้สำเร็จภายในปีนี้ทำให้ภาพดูเหมือนเป็นการทำแบบสั่งการจากระดับบนอย่างเดียว ไม่ฟังเสียงจากภายนอก

อย่างไรก็ตาม ยังยืนยันว่ากฎหมายยังมีหลายจุดที่ต้องแก้ไข แม้กระทั่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ซึ่งที่ผ่านมานำไปใช้ในทางที่ผิดกันมาก เพราะมีช่องโหว่ของกฎหมาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายก็อ่อนแอ ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญคือต้องเขียนกฎหมายให้ตอบโต้กับภัยไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในระดับที่จะสร้างความเสียหายสูงสุดให้ประเทศได้ โดยเฉพาะมาตรา 35 ด้านซีเคียวริตี้ที่ต้องการความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษ

"อย่าได้แตกตื่นตกใจ เพราะร่างฯ ยังต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกมากกว่าจะจบ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็แก้ไขตลอดทาง แม้กระทั่งที่ส่งให้กฤษฎีกาแล้วก็ตาม และก็ยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 4-5 กระบวนการกว่าจะจบ และต้องเข้าใจข้อจำกัดด้านเวลาด้วย เพราะตามกำหนดคาดว่ากฎหมายล็อตแรกทั้ง 10 ฉบับจะต้องประกาศใช้ราวกลางปีนี้"

นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) หนึ่งในคณะทำงานตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัลนั้น ขณะนี้ ยังเป็นแค่ร่างที่ยังต้องได้รับการแก้ไข ปรับปรุง คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการเท่านั้น ซึ่งกฤษฎีกายังต้องมาพิจารณาดูว่า เนื้อหาเป็นอย่างไร ต้องปรับแต่งแก้ไขให้สอดคล้องกับความเป็นจริง การมีคนค้านก็ดี จะได้รู้ว่าควรต้องปรับแก้ส่วนไหน อย่างไร โดยส่วนใหญ่สิ่งที่ค้านกันมากจะเป็นความมั่นคง ปลอดภัย ส่วนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งเสริมด้านดิจิทัลยังไปได้ปกติ

"ร่างที่เห็นกันปัจจุบัน ยังต้องปรับแก้อีกหลายขั้นตอน ตอนนี้กฤษฎีกาก็พิจารณาอยู่ ดูรายละเอียดต่างๆ จากนั้นถึงเข้าคณะรัฐมนตรี และสนช. อีกไม่รู้ตั้งกี่ขั้นตอน ใช้เวลา 2-3 เดือน เพียงแต่ส่วนที่เกิดขึ้น อาจจะมีผลกระทบในส่วนของการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ 50% ไม่อยากทำ เพราะกลัวความมั่นคง ปลอดภัย เข้าใจว่าคนร่างก็คงคิด และก็คงหารือกันเพื่อที่จะปรับปรุงให้มันดีขึ้น"

ส่วนของรัฐบาลคงต้องการให้บังคับใช้กฎหมายดิจิทัลเร็วที่สุด แต่ต้องผ่านการกลั่นกรอง และแก้ไขในส่วนที่สังคมยังมีความกังวล ขณะที่ทีมงานของคณะกรรมการดิจิทัลฯ อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งอยู่จะอยู่ในกรอบ 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.ฮาร์ด อินฟราสตรักเจอร์ 2.ซอฟต์ อินฟราสตรักเจอร์ 3.เซอร์วิส อินฟราสตรักเจอร์ 4.ดิจิทัล อีโคโนมี โปรโมชั่นและ 5.ดิจิทัล โซไซตี้ แอนด์ โนว์เลจ รวมไปถึงการทำงบประมาณต่างๆ ที่จะใช้ขับเคลื่อน และตัวชี้วัดการดำเนินงาน

"ถ้าในกรณีที่มีคนค้านมากๆ ร่าง พ.ร.บ.ทั้งหมด อาจจะไม่ตีตกทั้งหมด 10 ฉบับ ซึ่งจริงๆ ฉบับไหนที่บังคับใช้ได้ก่อนก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องผ่านครั้งเดียว 10 ฉบับ" นายพันธ์ศักดิ์ กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20150126/631046/สพธอ.แจงเวลาข้อจำกัดร่างกม.ดิจิทัล.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.