Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 DTAC.นฤพล ระบุ หากการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องถูกนำคืนกลับไปให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลชุดดังกล่าวเป็นผู้จัดสรร ผมมองว่าอาจจะเป็นการถอยหลังเข้าคลอง

ประเด็นหลัก


       ด้านนายนฤพล รัตนสมาหาร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่ยังไม่ชัดเจนว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ที่ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลนั้น หมายถึงการประมูล หรือการบิวตี้ คอนเทสต์
     
       “สิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) ทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูลเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่แล้ว กว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนจากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาตได้นั้นใช้เวลานาน มันคือการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันอย่างเสรี หากต้องถูกนำคืนกลับไปให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นผู้จัดสรร ผมมองว่าอาจจะเป็นการถอยหลังเข้าคลอง”
   
       นายไพโรจน์ ไววานิชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานผลิตภัณฑ์และดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันคนไทยใช้บรอดแบนด์มีสายจำนวน 6 ล้านเลขหมาย ขณะที่ใช้บรอดแบนด์ไร้สายถึง 96 ล้านเลขหมาย ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีการเชื่อมต่อเพื่อเรียกดูข้อมูลทั้งเข้าและออกนอกประเทศไปกับการดูเฟซบุ๊กและยูทิวบ์ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการเห็นคือค่าอินเตอร์เนชันแนล เกตเวย์ต้องถูกลง เพราะทุกวันนี้ยอมรับว่าผู้ประกอบการหันไปใช้กับผู้ให้บริการต่างชาติมากกว่าใช้กับผู้ให้บริการคนไทยเพราะต้นทุนสูงกว่า
   





_____________________________________________________
















‘TFIT’ หวั่นอินฟราฯ ไม่เกิดหากรัฐทำกันเอง




        ภาคเอกชนด้านโทรคมนาคมหวั่น ‘ฮาร์ด อินฟราสตรักเจอร์' บันไดขั้นแรกสู่ Digital Economy สะดุดหากปล่อยให้ภาครัฐทำเอง พร้อมติง ร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับให้ชัดเจนตามเป้าหมาย อย่าปล่อยให้เกิดการตีความคนละทิศคนละทาง ไม่เช่นนั้นภาคราชการจะไม่กล้าเดินตามนโยบาย เกรงถูกวันนี้ อาจผิดวันหน้า
     
       นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐาน (ฮาร์ด อินฟราสตรักเจอร์) ที่รัฐบาลจะสร้างประเทศไทยให้ก้าวสู่ Digital Economy ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคม เช่น การสร้างบรอดแบนด์แห่งชาติ การสร้างอินเตอร์เนชันแนล เกตเวย์
     
       "เพื่อให้เกิดการใช้งานเครือข่ายร่วมกัน การลดความซ้ำซ้อนของการลงทุนนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ใครจะเป็นผู้ดูแลเรื่องต้นทุนอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เอกชนกล้าที่จะเข้ามาเช่าใช้"
     
       ขณะที่นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจภาครัฐ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า เรื่องนี้หากปล่อยให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมดโครงการอาจจะไม่เกิด ดังนั้นในการร่างกฎหมายควรระบุให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันพบว่าประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนแบ็กโบน แต่ขาดแอ็กเซส พอยต์ที่เข้าถึงในวงกว้างมากกว่า
     
       ด้านนายสันติ เมธาวิกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด (UIH) กล่าวว่า แนวคิดการสร้างบรอดแบนด์แห่งชาติ การรวมบรอดแบนด์ของภาครัฐและเอกชนให้เชื่อมต่อกัน ใช้งานร่วมกัน โดยไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อนนั้นเป็นแนวคิดที่ดี และเอกชนก็ต้องการมานานแล้ว แต่เมื่อปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนต่างคนต่างลงทุนกันไปมากแล้ว บางจุดก็เป็นเทคโนโลยีเดียวกัน แต่บางจุดก็เป็นคนละเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละบริษัทก็อาจใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมือนกัน
     
       "ปัญหาคือทำอย่างไรให้เทคโนโลยีที่ต่างกันมาเชื่อมต่อกันได้ เบื้องต้นต้องการให้ภาครัฐ คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำให้เห็นภาพเป็นรูปธรรมดูก่อนว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด มีปัญหาหรืออุปสรรคหรือไม่ อย่างไร"
     
       ส่วนกรอบระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนดว่าจะทำให้ไฟเบอร์ออปติกเข้าถึงทุกหมู่บ้านภายใน 2 ปีเห็นว่าสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะทุกวันนี้ต้นทุนของไฟเบอร์ออปติกถูกลง ขณะที่แนวคิดในการระดมทุนด้วยการตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้น ต้องยอมรับว่าการตัดสินใจซื้อหรือไม่อยู่ที่ความเชื่อมั่นและการให้ผลตอบแทนว่าจะสามารถให้สูงกว่ากองทุนรวมอื่นหรือไม่
     
       นายไพโรจน์ ไววานิชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานผลิตภัณฑ์และดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันคนไทยใช้บรอดแบนด์มีสายจำนวน 6 ล้านเลขหมาย ขณะที่ใช้บรอดแบนด์ไร้สายถึง 96 ล้านเลขหมาย ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีการเชื่อมต่อเพื่อเรียกดูข้อมูลทั้งเข้าและออกนอกประเทศไปกับการดูเฟซบุ๊กและยูทิวบ์ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการเห็นคือค่าอินเตอร์เนชันแนล เกตเวย์ต้องถูกลง เพราะทุกวันนี้ยอมรับว่าผู้ประกอบการหันไปใช้กับผู้ให้บริการต่างชาติมากกว่าใช้กับผู้ให้บริการคนไทยเพราะต้นทุนสูงกว่า
     
       ***ติง กม.ต้องชัดเจนอย่ากำกวม
     
       ขณะเดียวกัน นายวิชัยยังได้กล่าวความเห็นถึงร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy ด้วยว่า ต้องมีการปรับปรุงให้เนื้อหามีความชัดเจนสอดรับกับนโยบายอย่างแท้จริง ไม่ควรเขียนให้เกิดการตีความได้หลายทาง อันจะนำไปสู่อันตรายในอนาคต เพราะเกรงว่าหากเปลี่ยนรัฐบาล การตีความอาจจะถูกเปลี่ยนเป็นอีกแบบ ทำให้ภาคราชการไม่กล้าดำเนินการตามนโยบายเพราะกลัวว่าตีความวันนี้ให้ถูก แต่วันหน้าอาจจะตีความให้ผิดก็เป็นได้
     
       ‘ผมเข้าใจว่าคนร่างกฎหมายกับผู้ปฏิบัติย่อมมีความเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี เราไม่สามารถเขียนกฎหมายมาควบคุมได้หรอก เพราะโลกไซเบอร์มันไม่ได้ทำความผิดแบบตรงๆ ดังนั้นต้องเขียนเพื่อให้เหมาะกับการวางนโยบายว่าหากเกิดขึ้นแล้วจะสามารถควบคุมไม่ให้ลุกลามไปมากกว่าที่เป็นอยู่ได้หรือไม่ การปรับ ป้อง ปราม หรือหยุด เป็นสิ่งที่ทำยากในโลกไซเบอร์’
     
       ด้านนายนฤพล รัตนสมาหาร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่ยังไม่ชัดเจนว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ที่ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลนั้น หมายถึงการประมูล หรือการบิวตี้ คอนเทสต์
     
       “สิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) ทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูลเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่แล้ว กว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนจากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาตได้นั้นใช้เวลานาน มันคือการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันอย่างเสรี หากต้องถูกนำคืนกลับไปให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นผู้จัดสรร ผมมองว่าอาจจะเป็นการถอยหลังเข้าคลอง”
     
       ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธาน กสทช. กล่าวเสริมว่า กสทช.เกิดขึ้นก็เพื่อเป็นองค์กรอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี และเท่าเทียมกัน หากรัฐบาลต้องการให้การจัดสรรคลื่นความถี่กลับไปอยู่กับรัฐบาล เอกชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่ารัฐจะไม่เอื้อประโยชน์ให้รัฐด้วยกันเอง
     
       ส่วนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร่างกฎหมายไซเบอร์ ซีเคียวริตี ขอให้คนไทยอย่าได้กลัวรัฐบาลไทยตรวจสอบกันเองเลย เพราะที่คนไทยใช้เฟซบุ๊กอยู่ทุกวันนี้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกาเขาก็สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ได้อยู่แล้ว เพราะในต่างประเทศหลายประเทศเขาก็เขียนกฎหมายให้รัฐเข้าไปดูข้อมูลได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศ
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.