Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 ICT.พรชัย ระบุ ในอาเซียนต่างมีความกังวลเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย พบว่าเป็นประเทศอันดับ 1 ในอาเซียนที่มีการแฮกข้อมูลมากที่สุด ดังนั้น หากประเทศไทยมี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จะช่วยประเทศได้

ประเด็นหลัก


       เนื่องจากประเทศในอาเซียนต่างมีความกังวลเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย พบว่าเป็นประเทศอันดับ 1 ในอาเซียนที่มีการแฮกข้อมูลมากที่สุด ดังนั้น หากประเทศไทยมี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จะช่วยให้ประเทศในอาเซียนมีความมั่นใจประเทศไทยมากขึ้น ส่วนเรื่องที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับร่าง กม.นั้น ตนเองมองว่า คนกังวลในมาตรา 35 เรื่องการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารนั้นต้องบอกว่า มันมี กม.บังคับไม่ให้เจ้าหน้าที่ละเมิดอยู่แล้ว ในมาตรา 36 อีกทั้งยังมีร่างพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลคุ้มครองอีก จึงไม่ต้องกังวล


_____________________________________________________
















ไอซีทีเตรียมบรรจุเรื่องไซเบอร์ ซิเคียวริตี ลงแผนไอซีทีอาเซียน



 ไอซีทีเตรียมบรรจุเรื่องไซเบอร์ ซิเคียวริตี ลงแผนไอซีทีอาเซียน

        “ไอซีที” รับผลประชุม รมต.อาเซียนด้านโทรคมนาคม บรรจุนโยบายไซเบอร์ ซิเคียวริตี ลงแผนแม่บทไอซีทีอาเซียนฉบับที่ 2 เตรียมทำเวิร์กชอปกับประเทศสมาชิกรอบสุดท้ายใน พ.ค.นี้ เพื่อนำเข้าที่ประชุมครั้งต่อไป ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม เดือนพ.ย.นี้ ก่อนนำข้อสรุปเสนอผู้นำอาเซียนอนุมัติสิ้นปีนี้
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที ) กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ASEAN TELECOMMUNICATIONS AND IT MINISTERS MEETING หรือ ASEAN TELMIN) ครั้งที่ 14 มีข้อตกลงร่วมกันหลายด้าน โดยมีด้านหนึ่งที่สำคัญคือ การให้ความร่วมมือในระดับประเทศสมาชิกร่วมกันในเรื่องนโยบาย และกฎระเบียบด้านไซเบอร์ ซิเคียวริตี เพื่อบรรจุลงในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียนฉบับที่ 2 โดยขั้นตอนแรกหลังจากแต่ละประเทศต้องกลับไปหารือกันเพื่อกลับมาประชุมระดับเวิร์กชอปกันอีกรอบในเดือน พ.ค.นี้ และนำเข้าที่ประชุมครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นที่ประเทศเวียดนามในเดือน พ.ย.นี้ ก่อนนำข้อสรุปเสนอต่อผู้นำอาเซียนอนุมัติในเดือน ธ.ค.ปีนี้
     
       “ทั้ง 10 ประเทศ และคู่เจรจาให้ความสำคัญต่อความมั่นคงทางไซเบอร์อย่างมาก เพราะปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นบ่อยมากในหลายประเทศ ทั้งการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การโจมตีระบบต่างๆ การแฮกข้อมูล ที่ประชุมจึงให้มีการระวัง ดังนั้น จึงต้องมีความร่วมมือที่จะพัฒนาโครงข่ายที่จะป้องกัน และมีการเตือนภัยซึ่งกันและกันเมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกิดเป็นข้อตกลงร่วมกันในครั้งนี้”
     
       เนื่องจากประเทศในอาเซียนต่างมีความกังวลเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย พบว่าเป็นประเทศอันดับ 1 ในอาเซียนที่มีการแฮกข้อมูลมากที่สุด ดังนั้น หากประเทศไทยมี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จะช่วยให้ประเทศในอาเซียนมีความมั่นใจประเทศไทยมากขึ้น ส่วนเรื่องที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับร่าง กม.นั้น ตนเองมองว่า คนกังวลในมาตรา 35 เรื่องการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารนั้นต้องบอกว่า มันมี กม.บังคับไม่ให้เจ้าหน้าที่ละเมิดอยู่แล้ว ในมาตรา 36 อีกทั้งยังมีร่างพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลคุ้มครองอีก จึงไม่ต้องกังวล
     
       นอกจากนี้ ผลการประชุมยังมีความร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคม เช่น การลดค่าบริการโทรศัพท์ข้ามแดนให้เป็นตลาดโทรคมนาคมเดียวกัน พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อยกระดับการพัฒนาอันดับการเข้าถึงเทคโนโลยีของประเทศ พัฒนาบุคลากรในด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างทักษะแรงงานด้านไอซีที ตลอดจนเน้นสร้างความปลอดภัย และส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     
       ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU โดยครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การลดช่องว่างทางดิจิตอล การส่งเสริมนวัตกรรม การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น
     
       โดยที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพเรียงลำดับตามอักษรชื่อประเทศ และครั้งนี้ประเทศไทยจะทำหน้าที่การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยไทยจัดต่อจากประเทศสิงคโปร์ และผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส และเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และของคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย สหภาพยุโรป รวมถึงผู้แทนเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และครั้งนี้เลขาธิการอาเซียน ได้ตอบรับที่จะมาร่วมประชุมด้วย รวมจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมประมาณ 300 คน
     
       การประชุมหารือในครั้งนี้จะนำอาเซียน และประเทศไทยไปสู่เป้าหมายตามแผนแม่บท ASEAN ICT MASTERPLAN 2015 ใน 4 เรื่อง คือ ไอซีทีจะเป็นเครื่องมือ หรือกลไกสำคัญที่จะผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้อาเซียน (ICT AS AN ENGINE FOR GROWTH) และอาเซียนจะกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านไอซีทีของโลกแห่งหนึ่ง (GLOBAL ICT HUB) และคุณภาพชีวิตของประชาชนอาเซียนจะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (ENHANCED QUALITY OF LIFE FOR PEOPLES OF ASEAN) ทั้งยังใช้ไอซีทีในการส่งเสริมการรวมตัวกันของอาเซียนให้แน่นแฟ้นขึ้นในอนาคต (CONTRIBUTION TOWARDS ASEAN INTEGRATION)
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000009006

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.