Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กุมภาพันธ์ 2558 ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล ชี้ ข้อสังเกตข้อแรกสุดที่มีต่อแผนแม่บทจัดสรรคลื่นคือเมื่ออำนาจไม่ได้อยู่ที่ กสทช. แต่ไม่อยู่คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีผู้ประกอบการ CAT TOT ร่วม

ประเด็นหลัก



ดร.พรเทพกล่าวว่า ข้อสังเกตข้อแรกสุดที่มีต่อแผนแม่บทจัดสรรคลื่นคือเมื่ออำนาจไม่ได้อยู่ที่ กสทช. แล้ว กสทช. ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัล อำนาจนี้จะถูกดึง ออกไป คำถามคือคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลชุดนี้มีใครบ้าง คำตอบคือเป็นภาครัฐทั้งหมด

"นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากบริษัททีโอที และแคท ซึ่งทั้งบริษัททีโอทีและแคทนั้น ศาลปกครอง ตัดสินว่าเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง ดังนั้น กลายเป็นว่า ผู้ประกอบการมากำกับดูแลผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ตรงนี้ ผมคิดว่า จะเป็นปัญหามาก เพราะฉะนั้น อำนาจในการจัดสรรของ กสทช.ไม่มีแล้ว เมื่ออำนาจในการจัดสรรไปอยู่ในมือผู้ประกอบการ คำถาม คือเมื่อสัมปทานหมด  และอำนาจการจัดสรรไปอยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ หน่วยงานความมั่นคง และรัฐวิสาหกิจ แล้วจะคืนคลื่นกลับมาให้ กสทช. จัดสรรใหม่หรือไม่  คลื่นวิทยุทั้งหมดที่อยู่ในการครอบครองของหน่วยงานความั่นคง  ต้องส่งคืนหรือไม่” ดร.พรเทพระบุและกล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าว ดึงข้อดีของ กสทช.ออกไป แต่ไม่ได้แก้ไขส่วนที่เป็นปัญหาอยู่



_____________________________________________________



















ร่างกม.ดิจิทัล-แผนแม่บทบริหารคลื่นฯ ทำลายความอิสระ"กสทช." ?


นักวิชาการหวั่นร่างกฎหมายดิจิทัล-แผนแม่บทบริหารฯ ทำลายความอิสระ กสทช. เอื้อรัฐฮุบคืนคลื่นหลังหมดสัมปทาน 'ดิสทัต' ยันหน่วยงานยังอิสระ 'ฐากร' เตรียมเข้าชี้แจงกฤษฎีกาปมร่าง กม.

 1atalknblaw0702

เมื่อวันที่ 7 ก.พ.58 ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อาคารตลาดหลักทรัพย์ มีการเสวนาหัวข้อ “อนาคต กสทช. กับก้าวต่อไปทีวีดิจิทัล” จัดโดยสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกับผู้อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5 และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย, นางอรัญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ และ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ใจความสำคัญตอนหนึ่งของการเสวนา ดร.พรเทพกล่าวถึงร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับ โดยในส่วนที่เกี่ยวกับ กสทช. คือร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่แห่งชาตินั้น เห็นว่าสิ่งสำคัญประการหนึ่งควรต้องดูว่าที่ผ่านมา ปัญหาของ กสทช. ในอดีตคืออะไร และกฎหมายนี้ สามารถแก้ปัญหานั้นของ กสทช. ได้หรือไม่

“ที่ผ่านมา ปัญหาของ กสทช. ที่เรารับรู้คือเรื่องธรรมาภิบาล ปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง การใช้จ่ายงบประมาณไปดูงานต่างประเทศ การออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้คือปัญหาในการจัดการ ไม่ใช่ปัญหาในเชิงหลักการ ส่วนข้อดีที่ผ่านมาของ กสทช. คือมีความเป็นอิสระที่มีหน้าที่ชัดเจนในการจัดสรร และกำกับดูแล”

ดร.พรเทพ กล่าวว่า ดังนั้น ปัญหาของร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ ทั้งในร่างแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นฯ และแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ฯ เห็นว่าในเมืองไทย กิจการสื่อสารโทรคมนาคมนั้นมีรัฐเป็นกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่ง ดังนั้น รัฐไม่เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแลความเป็นอิสระ ขณะที่ข้อดี ที่กสทช. มีอยู่คือความเป็นอิสระของ กสทช. ทำให้ปฏิบัติกับผู้ประกอบการได้อย่างเป็นกลางและไม่มีอำนาจทางการเมืองมาครอบงำโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาการจัดสรรคลื่นโดย กสทช. ก็อิงกับระบบตลาด มีการจัดสรรคลื่นด้วยการประมูล มีการกำกับดูแลสนามแข่งขัน

"เพราะฉะนั้น ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผ่านมาของ กสทช. ไม่ใช่ในเชิงหลักการ แต่เป็นปัญหาในด้านการจัดการ ดังนั้น กฎหมายใหม่จะเข้ามาแก้ไขตรงนี้หรือเปล่า” นักวิชาการรายนี้ระบุ และกล่าวด้วยว่าในกรณีหากร่างกฎหมาย กสทช. ที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ประกาศใช้ ในส่วนของแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช. บัญญัติให้จะต้องเสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อให้ความเห็นชอบนั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด

ดร.พรเทพกล่าวว่า ข้อสังเกตข้อแรกสุดที่มีต่อแผนแม่บทจัดสรรคลื่นคือเมื่ออำนาจไม่ได้อยู่ที่ กสทช. แล้ว กสทช. ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัล อำนาจนี้จะถูกดึง ออกไป คำถามคือคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลชุดนี้มีใครบ้าง คำตอบคือเป็นภาครัฐทั้งหมด

"นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากบริษัททีโอที และแคท ซึ่งทั้งบริษัททีโอทีและแคทนั้น ศาลปกครอง ตัดสินว่าเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง ดังนั้น กลายเป็นว่า ผู้ประกอบการมากำกับดูแลผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ตรงนี้ ผมคิดว่า จะเป็นปัญหามาก เพราะฉะนั้น อำนาจในการจัดสรรของ กสทช.ไม่มีแล้ว เมื่ออำนาจในการจัดสรรไปอยู่ในมือผู้ประกอบการ คำถาม คือเมื่อสัมปทานหมด  และอำนาจการจัดสรรไปอยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ หน่วยงานความมั่นคง และรัฐวิสาหกิจ แล้วจะคืนคลื่นกลับมาให้ กสทช. จัดสรรใหม่หรือไม่  คลื่นวิทยุทั้งหมดที่อยู่ในการครอบครองของหน่วยงานความั่นคง  ต้องส่งคืนหรือไม่” ดร.พรเทพระบุและกล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าว ดึงข้อดีของ กสทช.ออกไป แต่ไม่ได้แก้ไขส่วนที่เป็นปัญหาอยู่

ด้านนายดิสทัตกล่าวว่าจะดูแค่ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลเพียง 10 ฉบับไม่พอ แต่ต้องดูรัฐธรรมนูญที่กำลังจะยกร่างใหม่ทั้งฉบับ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ลืมความสำคัญขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่ต้องมีความอิสระ

“ไม่เคยทิ้งหลักการนี้ คิดว่า กสทช. ยังคงความเป็นอิสระ เมื่อดูร่างรัฐธรรมนูญ ผมว่า กสทช. ยังมีอยู่ แต่จะปรับเปลี่ยนอย่างไร มีกรรมการย่อยหรือไม่เราต้องคอยติดตามไป” นายดิสทัตย์ระบุ

นายฐากรกล่าวว่ายอมรับว่าสำนักงาน กสทช.เตรียมรับทุกสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง ถ้ารัฐบาล หรือ สนช. จะยกร่างรัฐธรรมนูญให้เราอยู่ในรูปแบบไหนเรายินดี ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.เศรษฐกิจดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับ ในประเด็นส่วนที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโดยส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กสทช. มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเด็น คือประเด็นที่ 1.เรื่องแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ ที่ต่อไปนี้ การอนุมัติต้องไปผ่านคณะกรรมการดิจิทัล ประเด็นที่ 2. คือเรื่องแผนแม่บทด้านโทรคมนาคม, แผนแม่บทด้านกระจายเสียง และแผนแม่บทด้านโทรทัศน์ ที่ต้องให้มีความสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ประเด็นที่ 3 คืออาจต้องมีการยุบบอร์ด กสท. กทค. หรือบอร์ดชุดเล็กลงเหลือเพียงบอร์ด กสทช.และประเด็นที่ 4 คือ มีการโอนกองทุนของ กสทช. ให้โอนไปสังกัดกระทรวงดิจิทัล โดยใช้ชื่อว่ากองทุนดิจิทัล

นายฐากร กล่าวว่าในประเด็นเหล่านี้ สำนักงาน กสทช. เตรียมจะไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น เรื่องการโอนเงินกองทุน กสทช. นั้น จะโอนไปเฉพาะเงินไม่ได้ แต่ต้องโอนหน้าที่ไปด้วย ซึ่งเงินที่มีอยู่ในกองทุนขณะนี้ เป็นเงินสำหรับการให้บริการทั่วถึงด้านโทรคมนาคมเท่านั้น เงินพวกนี้ที่ กสทช.เก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ให้บริการมา จะต้องถูกนำเอาไปพัฒนาในพื้นที่ทุรกันดาร และกลุ่มคนด้อยโอกาสต่างๆ ซึ่งตามแผนการดำเนินงานของ กสทช. มีแผนไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแผนเหล่านี้จะต้องมีการนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย

“เราต้องเดินไปตามแผนนั้น ดังนั้น ถ้าเราโอนเงินกองทุน กสทช.ไปกระทรวงดิจิทัล ทางกระทรวงดิจิทัลก็ต้องเดินไปตามแผน ที่ กสทช. ได้วางไว้แล้ว เหล่านี้ คือสิ่งที่เราจะไปชี้แจง กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา”

นายฐากรกล่าวด้วยว่า สำนักงาน กสทช.ไม่ขัดข้อง แต่จะแก้เฉพาะ พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่เพียงฉบับเดียวไม่ได้ ยังต้องแก้กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับกฎหมาย กสทช.

“ถ้านโยบายต้องเป็นไปตามนั้น เราไม่ขัดข้อง แต่ขอให้สอดคล้องกับกฎหมาย กสทช.ในส่วนที่ประกอบด้วย พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ศ.2498 , พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544, พ.ร.บ. ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ขณะนี้ มีการแก้ไขเฉพาะฉบับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ฉบับเดียว ซึ่งหากจะแก้ไข เราไม่ได้ขัดข้อง แต่ขอให้ทำความเข้าใจว่าการแก้ไขต้องไปเชื่อมโยงกับทุกฉบับให้สอดคล้องกันทั้งหมด ซึ่งเราเตรียมที่จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้” นายฐากรระบุ


http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/36380-nbtc_36380.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.