Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 มีนาคม 2558 ICT เร่งทำสัญญาใหม่กับ ไทยคม กรณีไอพีสตาร์ ที่ศาลฎีกาฯระบุว่าเป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน ( เพราะดาวเทียมไอพีสตาร์เมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วเอาลงมาไม่ได้ )

ประเด็นหลัก



  เหตุผลที่กระทรวงไอซีทีต้องการเจรจรากับทาง บมจ.ไทยคม เนื่องจากว่าต้องการให้ทำทุกอย่างถูกต้องตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ อาจจะมีการทำร่างสัญญาใหม่ เพราะดาวเทียมไทยคมเมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วเอาลงมาไม่ได้
    "การทำสัญญาใหม่ก็ต้องมีการเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อให้ทุกอย่างถูกต้อง กระทรวงก็ต้องทำอย่างตรงไปตรงมา เอกชนจะได้เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ"

_____________________________________________________












ถกไทยคมเคลียร์‘ไอพีสตาร์’




  รัฐมนตรีไอซีที แจงเตรียมเปิดโต๊ะเจรจากับ "ไทยคม" เพื่อต้องการเคลียร์สถานะ "ไอพีสตาร์" ให้ถูกต้องหลังศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ด้าน "ไทยคม"  ขอสงวนท่าที ส่วนเรื่องจัดตั้งกระทรวงดิจทัลฯ อยู่ระหว่างรอประกาศจากสำนักงานกฤษฎีกา
   พรชัย รุจิประภาพรชัย รุจิประภา นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ภายในเดือนนี้ กระทรวงไอซีทีเตรียมหารือกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับแนวทางจัดการดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยพิพากษาให้เป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สรุปว่าจะทำอย่างไรกับดาวเทียมดังกล่าว
    เหตุผลที่กระทรวงไอซีทีต้องการเจรจรากับทาง บมจ.ไทยคม เนื่องจากว่าต้องการให้ทำทุกอย่างถูกต้องตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ อาจจะมีการทำร่างสัญญาใหม่ เพราะดาวเทียมไทยคมเมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วเอาลงมาไม่ได้
    "การทำสัญญาใหม่ก็ต้องมีการเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อให้ทุกอย่างถูกต้อง กระทรวงก็ต้องทำอย่างตรงไปตรงมา เอกชนจะได้เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ"
    นายพรชัยยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  นอกจากเรื่องประเด็นไอพีสตาร์ แล้วยังมีเรื่องการให้ใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม 7 เพราะปัจจุบันไทยคมถือใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารจากคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพียงอย่างเดียว แต่ตามจริงนั้นไทยคมต้องมีใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่จากไอซีที และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่ไอซีทีด้วย
    "เรื่องคลื่นความถี่ระหว่างประเทศเพื่อให้บริการดาวเทียมนั้นเป็นการเจรจาระหว่างไอทียู กับรัฐบาล ในการประสานคลื่นความถี่ ดังนั้นเรื่องก็ต้องมีการเจรจาให้ถูกต้องเช่นเดียวกัน"
    ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยคมพร้อมเจรจากับกระทรวงไอซีที เพื่อหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าว แต่อยากให้กระทรวงไอซีทีดูรายละเอียดกรณีการยิงดาวเทียมไทยคม 7 ของ บมจ.ไทยคม เนื่องจากบริษัทได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการในเรื่องนี้
    นอกจากนี้ นายพรชัยยังกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ว่า ภายหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ (บอร์ดดีอี) เป็นบอร์ดชั่วคราวเพื่อเตรียมความพร้อมการวางโครงสร้างแผนงานเพื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หากไม่ตั้งคณะกรรมการชั่วคราวจะเดินหน้าแผนงานไม่ได้ โดยคาดว่ากฎหมายน่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคมนี้
     "รัฐบาลต้องรีบดำเนินการหลายอย่าง ทั้งเรื่องหน่วยงานคอนเทนต์ และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเตรียมวางแผนในงบประมาณปี 2559 เพราะงบประมาณในปีนี้ได้ปิดงบประมาณไปแล้ว และที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการเนื่องจากได้วางโครงสร้างกระทรวงเอาไว้แล้ว"
    อย่างไรก็ตามสำหรับบอร์ดดีอีจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีคณะกรรมการดีอีทั้งสิ้น 32 คน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำพ.ร.บ. ประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และตัวแทนจากภาคเอกชน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,033  วันที่  8 - 11  มีนาคม  พ.ศ. 2558



http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=267953:2015-03-06-05-01-45&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VP5m70JAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.