Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 มีนาคม 2558 กลุ่มที่ใช้งบลดลงในสื่อเคลื่อนที่เมื่อเทียบระหว่างปี 2014 และ 2015 ก็จะมีกลุ่มอาหารเสริมที่ลดลงจาก 14 ล้านบาทในปี 2014 จนไม่ติดกลุ่มท็อปเทนในปีนี้ เช่นเดียวกับกลุ่มนาฬิกาที่เคยใช้ 8 ล้านบาท และกลุ่มเครื่องดื่มที่ใช้อยู่ 7 ล้านบาทในปี 2014

ประเด็นหลัก


    กลุ่มที่ใช้งบลดลงในสื่อเคลื่อนที่เมื่อเทียบระหว่างปี 2014 และ 2015 ก็จะมีกลุ่มอาหารเสริมที่ลดลงจาก 14 ล้านบาทในปี 2014 จนไม่ติดกลุ่มท็อปเทนในปีนี้ เช่นเดียวกับกลุ่มนาฬิกาที่เคยใช้ 8 ล้านบาท และกลุ่มเครื่องดื่มที่ใช้อยู่ 7 ล้านบาทในปี 2014 ซึ่งต่างก็ตกลงจนไม่ติดกลุ่มที่ใช้งบติดท็อปเทนด้วยเช่นกัน ส่วนกลุ่มหน้าใหม่ที่เข้ามาใช้งบซื้อสื่อเคลื่อนที่ในปี 2015 ก็คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ 10 ล้านบาท กลุ่มยานยนต์ 10 ล้านบาท และกลุ่มบัตรเครดิต/เดบิต ที่มีการใช้อยู่ราว 9 ล้านบาท


_____________________________________________________















‘สื่อเคลื่อนที่’โตสวนกระแสกลุ่มสื่อดั้งเดิม

 altกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี / อรรณพ ดวงมณีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้บริโภค รวมไปถึงการบริโภคสื่อในปัจจุบัน ส่งผลให้สื่อดั้งเดิม ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โรงภาพยนตร์ สื่อนอกบ้าน และสื่ออินสโตร์ ต่างติดลบกันถ้วนหน้า ยกเว้นก็เพียงแต่สื่อเคลื่อนที่ที่สามารถฝ่ากระแสวิกฤติความเปลี่ยนแปลงจนมีผลประกอบการเป็นบวกอยู่เพียงกลุ่มเดียว ดังนั้นทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative จึงได้นำข้อมูลการใช้งบประมาณทางด้านสื่อของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่ใช้ผ่านสื่อเคลื่อนที่มาวิเคราะห์ในคอลัมน์ I Connect ครั้งนี้
    altจากภาพรวมของตลาดสื่อโฆษณาโดยรวมในเดือนมกราคม 2014 เทียบกับมกราคม 2015 กันก่อน จะเห็นว่า ในกลุ่มสื่อดั้งเดิมมีเพียงสื่อเคลื่อนที่ที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นจาก 254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 279 ล้านบาท หรือมีสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้น 10% โดยยังคงมีส่วนแบ่งตลาดสื่อ  3% เท่าเดิม ซึ่งสวนกระแสของสื่อดั้งเดิมที่มีส่วนแบ่งตลาด และรายได้ลดลงยกแผง โดยสื่อนิตยสารรายได้ลดลงไปถึง 19% หรือจาก 357 ล้านบาทลดลงเหลือ 289 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งในตลาดสื่อลดลงไป 1% รองลงมาก็คือ สื่ออินสโตร์ ที่มีสัดส่วนรายได้ลดลง 16% หรือจาก 91 ล้านบาทเหลือ 76 ล้านบาท โดยยังคงมีส่วนแบ่งในตลาดสื่อ 1% เท่าเดิม ในกลุ่มโทรทัศน์ก็ลดลงเช่นกันจากรายได้ 4,712 ล้านบาทในเดือนมกราคม 2014 ลดลงเป็น 4,248 ล้านบาทในปี 2015 เท่ากับว่าสัดส่วนรายได้หดไป 10% พร้อมๆ ส่วนแบ่งในตลาดสื่อก็ลดลงจาก 55% เหลือ 42% ซึ่งก็มีผลมาจากการเปลี่ยนระบบจากทีวีระบบอะนาล็อกไปเป็นทีวีระบบดิจิตอลนั่นเอง กลุ่มสื่อนอกบ้านมีรายได้ในปี 2014 อยู่ที่ 343 ล้านบาท พอเทียบกับ ปี 2015 เหลือ 311 ล้านบาทลดลงไป 9% สื่อหนังสือพิมพ์รายได้ก็ลดลงจาก 1,353 ล้านบาทในปี 2014 มาเป็น 1,272 ล้านบาทหรือสัดส่วนรายได้ลดไป 6% สื่อวิทยุมีสัดส่วนรายได้ลดลง 4% จาก 383 ล้านบาทเหลือ 369 ล้านบาท และตบท้ายด้วยสื่อโรงภาพยนตร์มีรายได้ลดลงเล็กน้อยเพียง 1% หรือจาก 295 ล้านบาทเป็น 293 ล้านบาท
  alt  จากภาพรวมคงพอจะเห็นแล้วว่า สื่อดั้งเดิมถูกกระทบด้วยสื่อใหม่ๆ อย่าง ทีวีระบบดิจิตอล และสื่ออินเตอร์เน็ตที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี แต่สื่อใหม่ๆ ไม่ได้ช่วยให้เกิดเม็ดเงินในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการ และมีเดียเอเยนซีได้โยกย้ายงบจากสื่อดั้งเดิมไปหาสื่อใหม่ๆ ตามพฤติกรรมการบริโภคสื่อเรียกได้ว่า ผู้บริโภคเปลี่ยนไปสื่อไหนโฆษณาก็จะตามไปในสื่อนั้น
    ดูกันต่อว่า รายได้ของกลุ่มสื่อเคลื่อนที่มีที่มาจากกลุ่มธุรกิจใดบ้าง จะเห็นว่าในกลุ่มระบบสื่อสารยังคงไว้เนื้อเชื่อใจในการลงโฆษณาสูงที่สุด โดยในเดือนมกราคม 2014 ใช้เงินซื้อสื่อโฆษณาไป 36 ล้านบาทมาปี 2015 ลดลงเล็กน้อยเหลือ 34 ล้านบาท ส่วนอันดับ 2 ยังคงเป็นกลุ่มสกินแคร์ซึ่งในปี 2014 ใช้ไป 21 ล้านบาทแล้วเพิ่มขึ้นมาเป็น 22 ล้านบาทในปี 2015 อันดับ 3 ในปี 2014   คือ กลุ่มธนาคาร และสถาบันการเงินใช้งบโฆษณาไป 19 ล้านบาท พอเข้าปี 2015 ตกลงมาเป็นอันดับ 6 ด้วยงบ 11 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มอาหารพุ่งจากอันดับ 10 ในปี 2014 ที่มีการใช้เงินเพียง 7 ล้านบาทมาเป็นอันดับ 3 ในปี 2015 ด้วยงบ 17 ล้านบาท ส่วนอันดับ 4 ของปี 2014 เป็นกลุ่มอาหารเสริมที่เคยใช้เงิน 14 ล้านบาทในการโฆษณาบนสื่อเคลื่อนที่กลับไม่ติด 10 อันดับของผู้ใช้งบโฆษณาสูงสุดในปี 2015 ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากยอดขายของกลุ่มนี้ลดลงเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่นิ่งทำให้คนระมัดระวังในการจับจ่ายสินค้าในกลุ่มนี้มากขึ้น และกลุ่มที่ใช้เงินอย่างสม่ำเสมอกับสื่อเคลื่อนที่ก็คือ กลุ่มบริษัททัวร์ และท่องเที่ยวที่ใช้เงินไป 13 ล้านบาทในปี 2014 พอเข้าปี 2015 ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านบาท
    กลุ่มที่ใช้งบลดลงในสื่อเคลื่อนที่เมื่อเทียบระหว่างปี 2014 และ 2015 ก็จะมีกลุ่มอาหารเสริมที่ลดลงจาก 14 ล้านบาทในปี 2014 จนไม่ติดกลุ่มท็อปเทนในปีนี้ เช่นเดียวกับกลุ่มนาฬิกาที่เคยใช้ 8 ล้านบาท และกลุ่มเครื่องดื่มที่ใช้อยู่ 7 ล้านบาทในปี 2014 ซึ่งต่างก็ตกลงจนไม่ติดกลุ่มที่ใช้งบติดท็อปเทนด้วยเช่นกัน ส่วนกลุ่มหน้าใหม่ที่เข้ามาใช้งบซื้อสื่อเคลื่อนที่ในปี 2015 ก็คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ 10 ล้านบาท กลุ่มยานยนต์ 10 ล้านบาท และกลุ่มบัตรเครดิต/เดบิต ที่มีการใช้อยู่ราว 9 ล้านบาท
    อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ของผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อโฆษณามองตรงกันว่า สื่อเคลื่อนที่จะเป็นหนึ่งในสื่อดั้งเดิมที่สามารถเติบโต และอยู่รอดได้เนื่องจากการขยายเส้นทางที่กระจายตัวมากยิ่งขึ้นทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีซึ่งจะส่งผลให้จำนวนของสื่อโฆษณามีเพิ่มมากขึ้น และรายได้ของสื่อก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว



จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035  วันที่ 15 - 18  มีนาคม  พ.ศ. 2558




http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=268920:2015-03-13-06-18-24&catid=246:-i-connect&Itemid=633#.VQZn2kJAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.