Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 มีนาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) สำนักงาน กสทช. เสนอข้อกำหนดเรื่องเพดานการถือครองคลื่นความถี่ทุกย่านในกิจการโทรคมนาคม ผู้ประกอบการแต่ละรายถือครองได้ไม่เกิน 45 เมกะเฮิรตซ์

ประเด็นหลัก


นอกจากนี้ การดำเนินการในส่วนของคลื่นความถี่ย่านอื่นนั้น สำนักงานได้เสนอข้อกำหนดเรื่องเพดานการถือครองคลื่นความถี่ทุกย่านในกิจการโทรคมนาคม (สเปกตรัม แคป) ซึ่งเบื้องต้นในคลื่นความถี่ที่ให้บริการในประเภทบริการเสียง (วอยซ์) และบริการข้อมูล (ดาต้า) จะให้ผู้ประกอบการแต่ละรายถือครองได้ไม่เกิน 45 เมกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ และ 2600 เมกะเฮิรตซ์มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และสำนักงาน กสทช.จะแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อเจรจาขอคืนคลื่นความถี่ย่านทั้ง 2 ย่านดังกล่าว เพราะได้ระบุในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการเรียกคืนคลื่นอื่นๆ ในอนาคตที่สามารถเจรจาได้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป รวมถึงการพิจารณาจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยการเรียกคืนคลื่นความถี่ด้วย.


_____________________________________________________











ดีเดย์เคาะวันประมูลคลื่น4จี คาดช่วงพ.ย.-ธ.ค.กสทช.เร่งไอทียูประเมินราคา

กสทช.ฟันธงประมูล 4จี พ.ย.-ธ.ค.นี้ เผยใช้งบจัดประมูล 100 ล้านบาท ร้องไอทียูประเมินราคาตั้งต้นใหม่ คาดคนไทยได้เริ่มใช้งานไตรมาสแรกของปี 59
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มี.ค.58 ที่ผ่านมา เห็นชอบกรอบเวลาของกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์แล้ว โดยสำนักงานเสนอให้เตรียมการประมูล 2-3 เดือน และสามารถเริ่มกระบวนการประมูลได้ตั้งแต่ช่วง ก.ค.58 เป็นต้นไป ซึ่งกำหนดวันประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 11 พ.ย.58 และประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 15 ธ.ค.58 ทั้งนี้ให้มีการเยียวยาผู้ใช้งานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ เพราะคลื่นดังกล่าวจะสิ้นสุดสัญญา 30 ก.ย.58 นี้ และคาดว่าจะได้ใช้งาน 4จี ในไตรมาสแรกของปี 59
สำหรับขั้นตอนการเตรียมการประมูลนั้น กสทช.ได้ส่งหนังสือให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู พิจารณาทบทวนราคาเริ่มต้นการประมูลของทั้ง 2 คลื่นอีกครั้ง เนื่องจากราคาเริ่มต้นเดิมเป็นราคาที่ได้จากผลการศึกษาในปี 2557 ประกอบกับปัจจุบัน กสทช.ได้มีมติเพิ่มขนาดคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะนำมาประมูลจาก 17.5 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 20 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาแล้วเสร็จในช่วงเดือน มิ.ย.58
ทั้งนี้ ได้มีแนวคิดที่จะปรับปรุงเงื่อนไขในการประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และรัฐจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด โดยให้แยกการประมูลคลื่นความถี่ครั้งละ 2 ใบอนุญาต และไม่ให้มีการประมูลคลื่นความถี่พร้อมกัน อีกทั้งหากมีผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูลเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาต จะต้องใช้ราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 100% จากเดิมที่ใช้เพียง 70% ของราคาตั้งต้นการประมูล อาทิ จากราคาตั้งต้นเดิมในปี 2557 ที่ตั้งราคาคลื่น 1800 ไว้ที่ 11,600 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต ซึ่งเป็นราคาที่ 70% เมื่อปรับเป็น 100% ราคาตั้งต้นการประมูลจะอยู่ที่ 16,570 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อลดความเสียหายในการประมูล เนื่องจากเดิมหากผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาตจะต้องทำการยกเลิกการประมูล และจัดประมูลใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอความคิดเห็นจากไอทียู
ส่วนงบประมาณในการจัดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากรายได้ที่คาดว่าจะได้จากการประมูล ซึ่งสำนักงานจะใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบประกวดราคาเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาเป็นผู้บริหารจัดการประมูล คาดว่าใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 3 เดือน
นอกจากนี้ การดำเนินการในส่วนของคลื่นความถี่ย่านอื่นนั้น สำนักงานได้เสนอข้อกำหนดเรื่องเพดานการถือครองคลื่นความถี่ทุกย่านในกิจการโทรคมนาคม (สเปกตรัม แคป) ซึ่งเบื้องต้นในคลื่นความถี่ที่ให้บริการในประเภทบริการเสียง (วอยซ์) และบริการข้อมูล (ดาต้า) จะให้ผู้ประกอบการแต่ละรายถือครองได้ไม่เกิน 45 เมกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ และ 2600 เมกะเฮิรตซ์มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และสำนักงาน กสทช.จะแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อเจรจาขอคืนคลื่นความถี่ย่านทั้ง 2 ย่านดังกล่าว เพราะได้ระบุในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการเรียกคืนคลื่นอื่นๆ ในอนาคตที่สามารถเจรจาได้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป รวมถึงการพิจารณาจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยการเรียกคืนคลื่นความถี่ด้วย.


http://www.thaipost.net/?q=ดีเดย์เคาะวันประมูลคลื่น4จี-คาดช่วงพย-ธคกสทชเร่งไอทียูประเมินราคา

_________________________________


กสทช.เปิดประมูล4Gพฤศจิกายนนี้ คาด4ใบทำเงินไม่ต่ำกว่า6.53หมื่นล.

กสทช.รับลูกครม.เปิดประมูล 4G คลื่น 1800 MHz 11 พฤศจิกายนนี้ เคาะราคาเริ่มต้น ใบละ 16,570 ล้านบาท ส่วนคลื่น 900 MHz ประมูล 15 ธันวาคมนี้ เคาะราคาเริ่มต้นใบละ 16,085 ล้านบาท รวม 4 ใบทำเงินไม่ต่ำกว่า 65,310 ล้านบาท คาดคนไทยได้ใช้บริการไตรมาสแรกปี’59

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 มีมติเห็นชอบกรอบเวลาของกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4G ตามที่สำนักงานกสทช.เสนอไป โดยคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ได้ในช่วงระยะเวลาวันที่ 17 กรกฎาคม-17 สิงหาคม 2558 และคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ไม่เกินวันที่ 26 สิงหาคม 2558 จากนั้นจะประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารประกอบในการเตรียมการประมูลประมาณวันที่ 28 สิงหาคม-28 กันยายน 2558 และกำหนดให้ผู้สนใจยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูลในวันที่ 30 กันยายน 2558

จากนั้นคาดว่าจะพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายในช่วงระหว่างวันที่ 30 กันยายน-21 ตุลาคม 2558 และประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติได้ในวันที่ 21 ตุลาคม 2558 หลังจากนั้น มีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เข้าร่วมการประมูล เพื่อซักซ้อมความเข้าใจกฎกติกาการประมูลให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงระยะเวลาวันที่ 22 ตุลาคม-10 พฤศจิกายน 2558 ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด คาดว่าจะจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ได้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 และจะรับรองผลและประกาศผลผู้ชนะการประมูลไม่เกินวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 โดยผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงินประมูลและรับใบอนุญาตภายในเดือนธันวาคม 2558

ส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะระยะเวลาวันที่ 5 สิงหาคม-9 กันยายน 2558 และคาดว่าจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ไม่เกินวันที่ 23 กันยายน 2558 จากนั้นจะประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารประกอบในการเตรียมการประมูล ได้ประมาณวันที่ 28 กันยายน-28 ตุลาคม 2558 และกำหนดให้ผู้สนใจสามารถยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ (ยื่นซองประมูล) วันที่ 30 ตุลาคม 2558 คาดว่าจะพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายในช่วงระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2558 ประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

โดยจะจัดให้ความรู้ในการประมูลสำหรับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงระยะเวลาวันที่ 23 พฤศจิกายน-
4 ธันวาคม 2558 ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด คาดว่าจะจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ได้ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 รับรองผลและประกาศผลผู้ชนะการประมูลไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2558 ผู้ชนะประมูลต้องชำระเงินประมูลและรับใบอนุญาตภายในเดือนมกราคม 2559 เบื้องต้นคาดว่าภายในไตรมาส 1/2559 ประชาชนน่าจะได้ใช้บริการ 4G

ทั้งนี้ เบื้องต้นใบอนุญาต 4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะมีจำนวน 2 ใบ ใบละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดราคาการประมูลเริ่มต้นไว้ที่ 16,570 ล้านบาท ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์จะมีจำนวน 2 ใบ ใบละ 10 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดราคาการประมูลเริ่มต้นไว้ที่ 16,085 ล้านบาท รวมแล้วราคาตั้งต้นประมูลทั้งหมด 4 ใบอนุญาต เท่ากับ 65,310 ล้านบาท ซึ่งราคาทั้งหมดต้องให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ศึกษาอีกครั้ง


http://www.naewna.com/business/151648

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.