Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 เมษายน 2558 บอร์ดEDเพิ่มมาตราใหม่ในพ.ร.บ.กสทช.ให้อำนาจไกล่เกลี่ยคลื่นขอบเขตมากกว่ารี-ฟารม์มิ่ง ประเดิมนำคลื่นความถี่ย่าน 2.3 จาก TOT และ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ จาก MCOT มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว

ประเด็นหลัก





ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ได้หารือเสนอเพิ่มมาตราใหม่ตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรฯ พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ยังแก้ไขอยู่ขณะนี้ เบื้องต้นอาจจะเสนอให้คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอำนาจไกล่เกลี่ยคลื่นมากกว่าเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ (รี-ฟารม์มิ่ง) เพียงอย่างเดียว
โดยให้อำนาจ กสทช. จัดวางแลกความถี่ระหว่างหน่วยงานอื่นได้ รวมถึงพิจารณาเรื่องการชดเชยให้แก่หน่วยงาน ในกรณีที่เรียกความถี่คืนโดยไม่ให้ความถี่ใหม่กลับไป ทั้งนี้ แนวความคิดดังกล่าวเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำความถี่ที่มีอยู่มาจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเพิ่มมาตราใหม่เพื่อเปิดทางการจัดสรรด้วยวิถีทางที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น การแก้ไขควรเดินไปด้วยกัน
แหล่งข่าวบอร์ดดีอี ระบุอีกว่า ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาในชั้นของแก้กฎหมาย กสทช. ที่ดำเนินการอยู่นั้น ได้เพิ่มมาตราใหม่ดังกล่าวเข้าไป เพื่อขยายอำนาจหน้าที่ กสทช. ให้ชัดเจนขึ้นจากที่มีอยู่ เพราะมาตราที่มีอยู่ในกฎหมายเป็นเพียงการให้อำนาจบริหารจัดการคลื่นความถี่ และการให้ กสทช. ไปจัดการทำแผนแม่บทความถี่ เพื่อเป็นพิมพ์เขียวในการบริหารจัดการคลื่นที่มีอยู่ปัจจุบัน


สำหรับการดำเนินการของบอร์ดดีอีเป็นผลสืบเนื่องของการวางโรดแมพจัดประมูลคลื่นความถี่ในอนาคตของ กสทช. เพราะการประชุมบอร์ดดีอีนัดแรกเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้พูดถึงคลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ในการนำมาจัดสรร แต่ปัจจุบันคลื่นดังกล่าวอยู่ในการถือครองของ บมจ.อสมท มากกว่า 100 เมกะเฮิรตซ์
ดังนั้น จึงมอบหมายให้ กสทช. ดำเนินการศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน 2.3 และ 2.6 กิกะเฮิรตซ์มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และสำนักงานกสทช. จะแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อเจรจาขอคืนคลื่นความถี่ 2 ย่านดังกล่าวและย่านอื่นๆ ที่สามารถเจรจาได้ เพื่อให้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ต่อไป
_____________________________________________________










บอร์ดดีอีเล็งเสริมเขี้ยวกสทช.มีอำนาจแลกคลื่น

บอร์ดดีอีการหารือเพิ่มมาตราใหม่ในพ.ร.บ.กสทช.ให้อำนาจไกล่เกลี่ยคลื่นขอบเขตมากกว่ารี-ฟารม์มิ่ง เปิดทางการจัดสรรคลื่นหลากหลาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ได้หารือเสนอเพิ่มมาตราใหม่ตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรฯ พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ยังแก้ไขอยู่ขณะนี้ เบื้องต้นอาจจะเสนอให้คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอำนาจไกล่เกลี่ยคลื่นมากกว่าเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ (รี-ฟารม์มิ่ง) เพียงอย่างเดียว
โดยให้อำนาจ กสทช. จัดวางแลกความถี่ระหว่างหน่วยงานอื่นได้ รวมถึงพิจารณาเรื่องการชดเชยให้แก่หน่วยงาน ในกรณีที่เรียกความถี่คืนโดยไม่ให้ความถี่ใหม่กลับไป ทั้งนี้ แนวความคิดดังกล่าวเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำความถี่ที่มีอยู่มาจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเพิ่มมาตราใหม่เพื่อเปิดทางการจัดสรรด้วยวิถีทางที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น การแก้ไขควรเดินไปด้วยกัน
แหล่งข่าวบอร์ดดีอี ระบุอีกว่า ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาในชั้นของแก้กฎหมาย กสทช. ที่ดำเนินการอยู่นั้น ได้เพิ่มมาตราใหม่ดังกล่าวเข้าไป เพื่อขยายอำนาจหน้าที่ กสทช. ให้ชัดเจนขึ้นจากที่มีอยู่ เพราะมาตราที่มีอยู่ในกฎหมายเป็นเพียงการให้อำนาจบริหารจัดการคลื่นความถี่ และการให้ กสทช. ไปจัดการทำแผนแม่บทความถี่ เพื่อเป็นพิมพ์เขียวในการบริหารจัดการคลื่นที่มีอยู่ปัจจุบัน
"การปรับปรุงให้อำนาจ กสทช. มากขึ้น ไม่เฉพาะแต่การรี-ฟาร์มมิ่ง เพราะแผนแม่บทความถี่ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2555 โดยระบุถึงอำนาจของ กสทช. ว่า สามารถเรียกคลื่นความถี่ที่ไม่มีการใช้งาน รวมถึงความถี่ที่หมดสัมปทาน เพื่อนำมาจัดสรรความถี่ต่อไป นอกจากนี้มาตรา 45 เดิมที่มีอยู่ กำหนดว่าการจัดสรรความถี่ต้องทำด้วยประมูลเท่านั้น"
นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่า พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการ กสทช. ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการบอร์ดดีอี ยังยอมรับว่ากฎหมาย กสทช. ที่มีอยู่กำหนดอำนาจบทบาทไม่ชัดพอ กระทั่งการเรียกคืนความถี่ก็ยังขาดประสิทธิผล เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ดำเนินงานมาไม่กี่ปี แต่หน่วยงานต่างๆ ถือครองควาทถี่มานับสิบๆ ปี
อีกทั้ง พ.ร.บ.กสทช.ที่มีอยู่กำหนดมาตรา 27 และ 28 ให้อำนาจ กสทช. บริหารจัดการความถี่เพื่อประโยชน์สูงสุด และกำหนดให้ กสทช. ไปจัดทำแผนแม่บทบริหารคลื่นในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกันทั้งหมด
สำหรับการดำเนินการของบอร์ดดีอีเป็นผลสืบเนื่องของการวางโรดแมพจัดประมูลคลื่นความถี่ในอนาคตของ กสทช. เพราะการประชุมบอร์ดดีอีนัดแรกเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้พูดถึงคลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ในการนำมาจัดสรร แต่ปัจจุบันคลื่นดังกล่าวอยู่ในการถือครองของ บมจ.อสมท มากกว่า 100 เมกะเฮิรตซ์
ดังนั้น จึงมอบหมายให้ กสทช. ดำเนินการศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน 2.3 และ 2.6 กิกะเฮิรตซ์มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และสำนักงานกสทช. จะแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อเจรจาขอคืนคลื่นความถี่ 2 ย่านดังกล่าวและย่านอื่นๆ ที่สามารถเจรจาได้ เพื่อให้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ต่อไป
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642410#sthash.qvE1MthN.dpuf

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642410

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.