Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) CAT ระบุ ไม่ใช่อำนาจของกรรมการบริษัทในการตัดสินใจให้ DTAC ปรับปรุงคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ให้บริการ 2G อยู่มาปรับปรุงเป็นเทคโนโลยี LTE

ประเด็นหลัก



       พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในวาระการประชุมบอร์ด กสท เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ขอให้ที่ประชุมพิจารณาในการนำคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ให้บริการ 2G อยู่มาปรับปรุงเป็นเทคโนโลยี LTE เพื่อนำคลื่นที่เหลืออยู่ และไม่ได้ใช้งานมาให้บริการ 4G นั้น ที่ประชุมมีความเห็นว่า ไม่ใช่อำนาจของกรรมการบริษัทในการตัดสินใจเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยตรง ดังนั้น ดีแทคต้องไปขออนุญาตเองก่อนถึงจะปรับปรุงคลื่นเพื่อมาให้บริการ 4G ได้ ดังนั้น หากตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าสามารถปรับปรุงคลื่นเป็น LTE ได้หรือไม่ ดีแทคก็ยังไม่สามารถนำคลื่นมาให้บริการ 4G ได้

_____________________________________________________













ดีแทควืด กสท ยันนำความถี่ 1800 MHz มาให้บริการ 4G ยังไม่ได้



        กสท โทรคมนาคม ยันไม่ใช่หน้าที่ในการอนุมัติดีแทคนำคลื่นความถี่ 1800 MHz มาให้บริการ 4G ชี้ต้องผ่านคณะกรรมการฯ มาตรา 43 และ กสทช.ก่อนถึงจะลงมือทำ 4G ได้ พร้อมร่วมทุนดีแทค 49/51 ตั้ง 2 บริษัทด้านเสาโทรคมนาคมและบริษัทด้านไฟเบอร์ออปติก
     
       พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในวาระการประชุมบอร์ด กสท เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ขอให้ที่ประชุมพิจารณาในการนำคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ให้บริการ 2G อยู่มาปรับปรุงเป็นเทคโนโลยี LTE เพื่อนำคลื่นที่เหลืออยู่ และไม่ได้ใช้งานมาให้บริการ 4G นั้น ที่ประชุมมีความเห็นว่า ไม่ใช่อำนาจของกรรมการบริษัทในการตัดสินใจเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยตรง ดังนั้น ดีแทคต้องไปขออนุญาตเองก่อนถึงจะปรับปรุงคลื่นเพื่อมาให้บริการ 4G ได้ ดังนั้น หากตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าสามารถปรับปรุงคลื่นเป็น LTE ได้หรือไม่ ดีแทคก็ยังไม่สามารถนำคลื่นมาให้บริการ 4G ได้
     
       ส่วนความคืบหน้าในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของดีแทคที่มีอยู่ประมาณ 13,500 แห่ง และไฟเบอร์ออปติก หรือเคเบิลใยแก้วที่ดีแทคมีอยู่บางส่วนนั้น เบื้องต้น คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้เห็นชอบที่จะให้ทั้งดีแทค และ กสท โทรคมนาคม ทำธุรกิจในรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) โดยดีแทค จะถือหุ้น 51% และ กสท โทรคมนาคม ถือหุ้น 49% เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินกิจการ และอาจจะร่วมทุนตั้งบริษัทขึ้นเป็น 2 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทที่ดูเรื่องเสาโทรคมนาคม และบริษัทที่ดูเรื่องไฟเบอร์ออปติก เพื่อในอนาคตจะสะดวกต่อการนำโครงข่ายไปดำเนินการร่วมกับนโยบาย Digital Economy ที่ต้องการนำทรัพยากรด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมมาใช้ร่วมกัน โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปจากมติที่ประชุมในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 ต่อไป
     
       หลังจากได้ข้อสรุป เรื่องนี้จะถูกส่งต่อไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อส่งต่อไปยังกระทรวงการคลัง และเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จนท้ายที่สุดอาจจะเข้าไปให้คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พิจารณาต่อไป เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้เสาโทรคมนาคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามนโยบาย Digital Economy เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ไม่ต้องลงทุนสร้างเสาเพิ่มแต่เปลี่ยนมาเป็นการเช่าเสาโทรคมนาคมที่มีอยู่แทน
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ดีแทคมีความพยายามในการนำคลื่น 1800 MHz ที่เหลืออยู่ 25 MHz ส่งกลับให้ กสทช.มาประมูลพร้อมกันกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.แต่เมื่อดีแทค ได้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ คือ นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ซึ่งมีแผนที่จะจัดสรรคลื่น 1800 MHz เดิมที่ใช้ให้บริการ 2G แบ่งออกมา 10 MHz เพื่อให้บริการ 4G คล้ายกับตอนที่นำคลื่น 850 MHz เปลี่ยนจากการให้บริการ 2G เป็น 3G
     
       ทั้งนี้ ดีแทคได้แบ่งคลื่น 2100 MHz จำนวน 5 MHz มาให้บริการ 4G แก่ลูกค้าอยู่แล้ว แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้น หากมีการนำคลื่น 1800 MHz มาใช้งานก็จะเปิดโอกาสให้ดีแทคสามารถอัปเกรดสถานีฐานเดิมกว่า 12,000 สถานี ให้มารองรับ 4G ได้ ซึ่งเมื่อรวมกับสถานีฐาน 4G บนคลื่น 2100 MHz ก็จะทำให้ดีแทค มีแบนด์วิธในการให้บริการ 4G เพิ่มเป็น 15 MHz และมีสถานีฐาน 4G รวมกว่า 15,000 สถานี และจะมีฐานลูกค้า 4G ที่มากที่สุด จำนวน 2.5 ล้านราย ภายในสิ้นปีนี้
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000045564

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.